WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCสมชาต สรอยทองพาณิชย์ เน้นหาตลาดรองรับพืชน้ำน้อยปลูกแทนข้าว ช่วยลดผลกระทบเกษตรกรจากภัยแล้ง

       นายสมชาติ สร้อยทอง รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งว่า กระทรวงฯ ได้ช่วยเหลือเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งตามนโยบายของรัฐบาล โดยหลังจากที่กระทรวงฯได้ส่งเสริมให้เกษตรกรที่ไม่สามารถเพาะปลูกข้าวได้ใน 22 จังหวัดพื้นที่ภัยแล้ง หันมาเพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย และอายุสั้นไปแล้ว ขณะนี้ ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาด ซึ่งกระทรวงฯได้เชื่อมโยงตลาด หาแหล่งรับซื้อ และประสานผู้ประกอบการ เช่น ห้างค้าปลีก ห้างสรรพสินค้าในพื้นที่ ทำความตกลงรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรแล้ว เช่น ถือเป็นการสร้างรายได้ และลดกระทบให้แก่เกษตรกรในช่วงหน้าแล้งปีนี้

       อย่างไรก็ตาม สำหรับบางพื้นที่ที่อยู่ไกลแหล่งน้ำ และไม่สามารถปลูกพืชทดแทนได้นั้น สำนักงานพาณิชย์จังหวัดได้แนะนำให้เกษตรกรผลิตสินค้าชุมชนเป็นการทดแทน ซึ่งมีทั้งเครื่องจักสาน เสื้อผ้า ของใช้และของแต่งบ้าน เช่น ไม้แกะสลัก โดยกระทรวงฯเป็นผู้หาตลาด และหาผู้ซื้อเข้ามารับซื้อสินค้าให้ด้วย ขณะเดียวกัน สำนักงานพาณิชย์จังหวัดได้ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องทิศทางของตลาดสินค้าเกษตร  การพัฒนาการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดให้แก่เกษตรกรด้วย

      ขณะเดียวกัน กระทรวงฯ เตรียมจัดงานจำหน่ายสินค้าธงฟ้าช่วยภัยแล้ง ซึ่งจะดำเนินการใน 22 จังหวัด รวม 400 ครั้ง ตั้งแต่เดือนพ.ย.58-เม.ย.59 ซึ่งล่าสุดได้ดำเนินการไปแล้ว 285 ครั้ง มียอดจำหน่ายสินค้ารวม 31.97 ล้านบาท ช่วยลดค่าครองชีพให้ประชาชนได้ 130,998 คน คิดเป็นมูลค่า 21.31 ล้านบาท และที่จะดำเนินการตามแผนอีก 115 ครั้ง

       "ได้สั่งการให้พาณิชย์จังหวัดตรวจสอบราคาสินค้าและบริการในพื้นที่ที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อกำกับดูแลให้ผู้ค้าปิดป้ายแสดงราคา ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ซึ่งจนถึงขณะนี้ ยังไม่พบการกักตุนสินค้า  สินค้าขาดแคลน หรือราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติแต่อย่างใด"

                        อินโฟเควสท์

พาณิชย์ เผยผลช่วยเหลือภัยแล้ง การค้าชายแดน และการขยายตลาดสินค้าช่วง 3-9 มี.ค.ที่ผ่านมา

   รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย ผลช่วยเหลือภัยแล้ง - การค้าชายแดน และการขยายตลาดสินค้าช่วง 3-9 มี.ค.ที่ผ่านมาดังนี้

1. การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง

  จากสถานการณ์ภัยแล้ง กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล ในการช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนผู้ประสบปัญหาวิกฤตแล้งใน 22 จังหวัด โดยในส่วนของสำนักงานพาณิชย์ที่เป็นผู้แทนกระทรวงพาณิชย์  ในระดับจังหวัด ได้ดำเนินการ ดังนี้

     การจำหน่ายสินค้าธงฟ้าช่วยภัยแล้ง มีแผนดำเนินการใน 22 จังหวัด รวม 400 ครั้ง ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2558 – เมษายน 2559 ในจังหวัดกำแพงเพชร ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ตาก นครปฐม นครนายก นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา พิจิตร พิษณุโลก ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี สุโขทัย อ่างทอง อุตรดิตถ์ และกรุงเทพ (ดำเนินการโดยกรมการค้าภายใน) จนถึงปัจจุบันวันที่ 8 มีนาคม 2559 ดำเนินการไปแล้ว 285 ครั้ง มียอดจำหน่ายสินค้ารวม 31.97 ล้านบาท ซึ่งสามารถลดค่าครองชีพให้ประชาชนจำนวน 130,998 คน มูลค่า 21.31 ล้านบาท และที่จะดำเนินการตามแผนอีก 115 ครั้ง

   การเชื่อมโยงตลาดและจัดหาตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตร/ผลิตภัณฑ์ชุมชนของเกษตรกร กระทรวงพาณิชย์ มีภารกิจด้านการจัดหาตลาดที่จะรองรับผลผลิตของเกษตรกร เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและชุมชน โดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดในพื้นที่ภัยแล้ง 22 จังหวัด ดำเนินการจัดหา เชื่อมโยงตลาด แหล่งรับซื้อ ประสานผู้ประกอบการทำความตกลงรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร เพื่อช่วยเหลือสร้างรายได้ให้เกษตรกรเป็นการสนับสนุนด้านการตลาดรองรับผลผลิตพืชเป้าหมายในการส่งเสริมของจังหวัด ได้แก่

    1) พืชไร่ ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ข้าวโพด มันสำปะหลัง

   2) พืชอาหาร ได้แก่ ผักสดต่าง ๆ ตะไคร้อินทรีย์ ฟักทองออร์แกนิกส์ หอมแดง มะเขือเทศโรงงาน

    3) ผลไม้ตามฤดูกาล ได้แก่ มะพร้าวอ่อน/น้ำหอม ทุเรียน (ทุกพันธุ์) กล้วยหอมทอง และเสาวรส

   การอบรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพทางการผลิตให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2558/59 โดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดร่วมให้ความรู้ในการอบรมเกษตรกรที่จัดโดยหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั่วประเทศ 76 จังหวัด โดยเจ้าหน้าที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในเรื่องทิศทางของตลาดสินค้าเกษตร การพัฒนาการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เพื่อสร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรในหัวข้ออาชีพเกษตรทางเลือกที่เหมาะสม และมีอนาคตทางการตลาด  ขณะนี้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัดอยู่ระหว่างการดำเนินการ โดยได้เริ่มการอบรมเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 และกำหนดสิ้นสุดระยะเวลาการอบรมวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 มีเกษตรกรสมัครและได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมการอบรม รวมทั้งสิ้น 220,500 ราย จาก 882 อำเภอ ใน 76 จังหวัด จนถึงปัจจุบัน มีเกษตรกรเข้ารับการอบรมแล้ว 178,789 ราย คิดเป็นร้อยละ 81.08 ของผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมการอบรม

   นอกจากนี้แล้ว สำนักงานพาณิชย์จังหวัดได้ออกตรวจสอบราคาสินค้าและบริการในพื้นที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง   เพื่อกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติที่ถูกต้อง มีการปิดป้ายแสดงราคา ซึ่งในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาไม่พบการกักตุนสินค้า   หรือ สินค้าขาดแคลนแต่อย่างใด

   2. การสร้างโอกาสทางการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน (การค้าชายแดน) 

  สำนักงานพาณิชย์จังหวัดขอนแก่น จัดงานแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP/SMEs ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของจังหวัด และสินค้าของผู้ประกอบการประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ภายใต้ชื่องาน มหกรรมสินค้านานาชาติ ลุ่มน้ำโขง 2559 : GMS Fair 2016 @ Khon Kaen” ระหว่างวันที่ 3-9 มีนาคม 2559 เวลา 09.00-21.00 น. ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น  กิจกรรมที่สำคัญภายในงานมีดังนี้

      1) การจัดคูหาแสดงและจำหน่ายสินค้าจากผู้ประกอบการ  OTOP/SMEs/เกษตรอินทรีย์  ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ  จากประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง  6 ประเทศ  ได้แก่  ไทย  ลาว  เมียนมาร์  เวียดนาม กัมพูชา  และจีน  อาทิเช่น  สินค้าหัตถกรรม  ของใช้  เครื่องแต่งกาย  เครื่องประดับ สมุนไพร  เครื่องดื่ม  ผัก ผลไม้  สินค้าเกษตรอินทรีย์  และอาหารเด่นจากทั่วประเทศ  จำนวน  330 คูหา  โดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดขอนแก่นได้ประสานภาคีความร่วมมือภาคเอกชน ได้แก่  หอการค้า สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น  เครือข่ายธุรกิจ BiZ Club จังหวัดขอนแก่น  สมาคมการค้าโลจิสติกส์ไทยแห่งอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ร้อยแก่นสารสินธุ์  ซึ่งเป็นกลุ่มเครือข่ายสินค้าอินทรีย์ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง (ร้อยเอ็ด  ขอนแก่น  มหาสารคาม  กาฬสินธุ์) เพื่อคัดเลือกสินค้าเข้าร่วมในงานดังกล่าว

   2) การจัดแสดงนิทรรศการข้อมูลศักยภาพด้านเศรษฐกิจ  การค้า การลงทุน  การท่องเที่ยวของจังหวัดขอนแก่น และประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

  3. การเชื่อมโยงตลาด/การขยายตลาด

     สำนักงานพาณิชย์จังหวัดได้จัดกิจกรรมในการส่งเสริมตลาดสินค้า/ผลิตภัณฑ์ของจังหวัด เพื่อให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ มีช่องทางการตลาดในการจำหน่ายสินค้า เพิ่มรายได้ และเป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ดังนี้

   สำนักงานพาณิชย์จังหวัดอุดรธานี : จัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้า ของดีเมืองอุดร The Best of Udonthani” ณ ศูนย์การค้า เจ เจ มอลล์ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ การจัดงานมีขึ้นระหว่างวันที่ 2 – 6 มีนาคม 2559 โดยผู้ประกอบการ OTOP/SMEs ของจังหวัดอุดรธานี จำนวน 40 ราย นำสินค้าเด่นของจังหวัดเข้าร่วมจำหน่าย อาทิเช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย อาหารแปรรูป เครื่องดื่มสมุนไพร เครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น มูลค่าการจำหน่ายสินค้ารวม 2,873,388 บาท

   สำนักงานพาณิชย์จังหวัดหนองคาย : ร่วมกับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด จัดงานตลาดนัดเกษตรกร (ตลาดสีเขียว) จำหน่ายพืชผักปลอดภัย ไข่ไก่ สินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์ชุมชน ทุกวันพุธ เวลา 15.00-18.00 น. ณ บริเวณถนนด้านข้างสำนักงานพาณิชย์จังหวัดหนองคาย ผู้ประกอบการเข้าร่วมจำหน่าย จำนวน 34 ร้านค้า ยอดจำหน่ายทั้งสิ้น 71,536 บาท

   สำนักงานพาณิชย์จังหวัดน่าน : จัดทำพิธีลงนาม บันทึกความร่วมมือ (MOU) การรับซื้อผลผลิตการเกษตรของจังหวัดน่าน ระหว่าง จังหวัดน่าน กับ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด เพื่อเป็นข้อตกลงในการสนับสนุนโครงการเชื่อมโยงสินค้าเกษตรปลอดภัยจังหวัดน่าน โดยมุ่งเน้นให้เกษตรกรผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัยให้กับบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) โดยมีนายสุวัฒน์ พรมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน  นางสุชาดา อิทธิจารุกุล บริษัทสยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) และนายธนาคม โนศรี ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรจังหวัดน่าน เป็นผู้ลงนาม ในครั้งนี้

  สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเพชรบูรณ์ : จัดกิจกรรมเชื่อมโยงการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย สู่ห้างสรรพสินค้า โดยได้รับความร่วมมือจากห้างสรรพสินค้าแมคโคร ท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต และบิ๊กซี เข้าร่วมกิจกรรมในการเลือกผลิตภัณฑ์ของเครือข่ายเกษตรกร เชื่อมโยงเข้าสู่การจำหน่ายสินค้าในห้างฯ ซึ่งจากการดำเนินกิจกรรม ได้ขยายสู่การดำเนินแผนงานต่อเนื่อง โดยจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมกับ บริษัท เซ็นทรัล ฟูดส์รีเทล จำกัด (ผู้บริหารห้าง ท็อปส์ซูเปอร์มาเก็ต) ได้กำหนดแผนงานในการนำสินค้าอินทรีย์และปลอดภัย เชื่อมโยงเข้าจำหน่ายภายในห้าง และจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้า กรีนมาร์เก็ต เพชรบูรณ์ระหว่างวันที่ 2-8 มีนาคม 2559 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า สาขาแจ้งวัฒนะ และห้างท็อปส์ ซูเปอร์มาเก็ต อีก 9 สาขา กระจายทั่วกรุงเทพมหานคร

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!