WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCสวทย เมษนทรย copyดร.สุวิทย์ รัฐมนตรีช่วยพาณิชย์ เร่งเครื่องการทำตัวชี้วัดเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทย

      ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เป็นประธานการประชุมเพื่อหารือแนวทางการพัฒนาเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจการค้าการลงทุนไทย โดยมีผู้แทนจาก 5 หน่วยงานเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกระทรวงพาณิชย์ โดยประเด็นหารือสำคัญ คือ การกำหนดแนวทางพัฒนาเครื่องชี้วัดด้านเศรษฐกิจที่จะเป็น Scorecard ของไทย เกี่ยวกับการค้าการลงทุนระหว่างประเทศได้อย่างเหมาะสม และครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งการส่งออกสินค้า การส่งออกบริการ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Inward FDI) และการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ (Outward FDI)

     ดร.สุวิทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศมีหลายมิติมากขึ้น จะดูจากตัวเลขการส่งออกสินค้าเพียงอย่างเดียว ก็คงจะไม่สามารถมองภาพและจุดยืนของประเทศไทยได้ชัดเจนถูกต้อง โดยขณะนี้ เรื่องการบริการ และการลงทุนทั้งเข้ามาและออกไปนอกประเทศมีบทบาทมากขึ้น ตนจึงเห็นว่า ในการวิเคราะห์แนวโน้มและกำหนดยุทธศาสตร์ประเทศได้ถูกต้อง จำเป็นจะต้องนำปัจจัยเรื่องการบริการและการลงทุนเข้ามาประกอบด้วย จึงได้เชิญหน่วยงานต่างๆ ที่ดูแลการทำตัวชี้วัดหรือสถิติด้านการค้าสินค้า การบริการ และการลงทุน มาหารือกัน

   ตัวชี้วัดเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (Internationalization Scorecard)

    จากการหารือพบว่าหน่วยงานต่างๆ ที่เชิญมา มีการทำสถิติหรือข้อมูลและดัชนีทางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุนอยู่แล้วตามหลักแนวทางสากล ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ข้อมูลเหล่านี้ยังกระจัดกระจาย ไม่มีหน่วยงานที่จะบูรณาการรวบรวมเข้าด้วยกันเพื่อให้เห็นภาพใหญ่ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และชี้ให้เห็นแนวโน้ม (trend) ต่างๆ ได้ ตนจึงได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เป็นหน่วยงานกลางที่จะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ในลักษณะบูรณาการ (Integrator) เพื่อพัฒนาเครื่องชี้วัดด้านการค้าสินค้า การบริการและการลงทุน (ทั้ง Inward และ Outward) ให้มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง และเป็นปัจจุบันให้มากขึ้น นอกจากนี้ ทุกหน่วยงานเห็นชอบร่วมกันว่า ควรมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างกันอย่างเป็นทางการ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างสม่ำเสมอและเป็นระบบต่อไป

       ดร.สุวิทย์ กล่าวว่า สำหรับกระทรวงพาณิชย์ จะแถลงสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ในลักษณะภาพรวมเป็นประจำทุกไตรมาส โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2559 นี้เป็นต้นไป

                        ที่มา : www.thairath.co.th

'สุวิทย์' ดึง 5 หน่วยงานทำเอ็มโอยู จัดทำตัวชี้วัด ศก.ระหว่างประเทศ

   รมช.พาณิชย์ ดึง 5 หน่วยงาน ทำเอ็มโอยูแลกเปลี่ยนข้อมูล จัดทำตัวชี้วัด ศก.ระหว่างประเทศ 4 มิติ เล็ง เผยแพร่ทุกไตรมาส เริ่มไตรมาสแรกเดือน เม.ย.นี้ หวังโชว์ความมั่งคั่งของประเทศ กำหนดนโยบายผลักดันการเติบโตชัดเจนขึ้น...

      วันที่ 4 มี.ค. 59 นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการหารือร่วมกันระหว่าง 5 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธ.ป.ท.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อจัดทำเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจการค้าการลงทุนไทย โดยทั้ง 5 หน่วยงานเห็นพ้องร่วมกันที่จะจัดทำตัวชี้วัดเศรษฐกิจไทย ให้ครอบคลุม 4 มิติ ทั้งการส่งออกสินค้า การส่งออกบริการ การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (Inward FDI) และการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ (Outward FDI) เพื่อให้เห็นภาพความมั่งคั่งของไทยครอบคลุมทุกมิติ รวมถึงจะนำมากำหนดนโยบาย และยุทธศาสตร์ผลักดันการเติบโตของไทยในทั้ง 4 ด้านได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติตัดสินใจลงทุนในไทยได้ทันที โดยทั้ง 5 หน่วยงานจะลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ

     "คาดว่าจะเริ่มแถลงตัวชี้วัดดังกล่าว จะเริ่มครั้งแรกในเดือน เม.ย.นี้ ซึ่งใน 3 รายการ คือ การส่งออกบริการ การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ และการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ จะเป็นการรายงานย้อนหลัง หรือเก็บตัวเลขได้เป็นรายไตรมาส ไม่สามารถจัดเก็บได้ทุกเดือนเหมือนตัวเลขส่งออก"

    สำหรับสาเหตุที่ต้องใช้ตัวชี้วัดทั้ง 4 รายการแสดงความมั่งคั่งของไทย เป็นเพราะปัจจุบันตัวเลขการส่งออกสินค้าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถมองภาพของไทยได้ชัดเจน ถูกต้อง ขณะที่ภาคบริการและการลงทุน เริ่มมีบทบาททางเศรษฐกิจมากขึ้น ดังนั้น ไทยต้องปรับตัว ซึ่งเมื่อสามารถเก็บตัวเลขทั้ง 4 รายการได้แล้ว จะสามารถนำมากำหนดยุทธศาสตร์ผลักดันการเติบโตของทั้ง 4 รายการได้ชัดเจนมากขึ้น เช่น ในภาคบริการบางสาขาของไทย เช่น การขนส่งและโลจิสติกส์ สุขภาพและความงาม ไทยยังมีศักยภาพส่งออกได้อีกมาก จากปัจจุบันที่ยังมีการส่งออกน้อยมาก ก็จะสามารถกำหนดนโยบายในการผลักดันการส่งออกได้ หรือบางอย่างที่ไทยยังขาด เช่น อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ภาครัฐก็สามารถกำหนดเป็นนโยบายส่งเสริมให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุนได้ เป็นต้น

    "สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป จำเป็นต้องมองผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) ที่นับจากมูลค่าผลผลิตของคนไทยกับมูลค่าผลผลิตต่างชาติที่เกิดขึ้นในไทย ควบคู่ไปกับผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีเอ็นพี) ที่นับเฉพาะมูลค่าผลผลิตของคนไทย ทั้งที่เกิดขึ้นในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้เห็นความมั่งคั่งของไทยอย่างชัดเจน ดำเนินการเช่นนี้จะทำให้ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า สัดส่วนการเติบโตของภาคบริการ และภาคลงทุน น่าจะสูงกว่า 50% ของจีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) จากปัจจุบันที่ราว 50% ของจีดีพีไทย"

    อย่างไรก็ตาม ในด้านการเก็บข้อมูลแต่ละหน่วยงานนั้น ปัจจุบันมีการรวบรวมไว้อยู่แล้ว อย่าง ธ.ป.ท. มีการเก็บข้อมูลตัวเลขการค้าและบริการ 10 กลุ่ม เช่น กลุ่มขนส่ง กลุ่มท่องเที่ยว กลุ่มก่อสร้าง กลุ่มการเงิน กลุ่มคมนาคม กลุ่มคอมพิวเตอร์ กลุ่มประกันภัย กลุ่มทรัพย์สินทางปัญญา กลุ่มนันทนาการ โดยจะขยายการเก็บข้อมูลเพิ่มอีก 2 กลุ่ม คือ กลุ่มรับจ้างผลิต และกลุ่มซ่อมบำรุง ซึ่งจะนำข้อมูลเหล่านี้มากำหนดยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมใหม่ ส่วนบีโอไอมีการเก็บตัวเลขลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศอยู่แล้ว และข้อมูลการลงทุนของคนไทยในต่างประเทศมีการเก็บตัวเลขจากตลาดหลักทรัพย์

                        ที่มา : www.thairath.co.th

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!