- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Tuesday, 08 March 2016 09:53
- Hits: 1512
พาณิชย์ ไม่หวั่น สต็อคข้าวโพดจีนทะลัก ไม่กระทบตลาดมันสำปะหลังไทย ชี้ต้นทุนในการทำแอลกอฮอล์แตกต่างกัน
นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีกระแสข่าวเกี่ยวกับนโยบายรับซื้อข้าวโพดของจีน ซึ่งมีผลกดดันราคามันสำปะหลังไทย เนื่องจากข้าวโพดเป็นธัญพืชทดแทนมันสำปะหลังในการผลิตแอลกอฮอล์นั้น เพื่อให้ทราบความชัดเจนถึงกระแสข่าวดังกล่าว จึงได้นำคณะผู้แทนประกอบด้วย นายอิทธิพงศ์ คุณากรบดินทร์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย เดินทางไปพบปะกับโรงงานผู้ผลิตแอลกอฮอล์รายใหญ่ของจีน คือ Cofco Bio-Chemical (Anhui) Co.,Ltd. และ Jiangsu Huating Bio-Technology Co.,Ltd. ระหว่างวันที่ 1-4 มีนาคม 2559
จากการพบปะหารือพบว่าพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดของจีนส่วนใหญ่ อยู่ในสี่มณฑลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ มณฑลจี๋หลิน เหลียวหนิง เฮยหลงเจียง และมองโกเลียใน ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้มีนโยบายอุดหนุนเกษตรกรในมณฑลดังกล่าว โดยการรับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกรส่งผลให้รัฐบาลจีนมีสต็อกข้าวโพดจำนวนมาก ซึ่งรัฐบาลจีนก็ได้ดำเนินการระบายออกอยู่เป็นระยะในราคาตลาดซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ สำหรับนโยบายรับซื้อข้าวโพดในปี 2558 รัฐบาลจีนรับซื้อข้าวโพดที่ราคา 2,000 หยวน/ตัน ซึ่งสูงกว่าราคาตลาด และในปี 2559 รัฐบาลจีนอยู่ระหว่างทบทวนความเหมาะสม ซึ่งคาดว่าจะทราบความชัดเจนภายในเดือนมีนาคมนี้ ว่ารัฐบาลจีนจะรับซื้อในราคาเท่าใดหรือมีนโยบายอุดหนุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดด้านอื่นหรือไม่ ทั้งนี้ คาดว่ารัฐบาลจีนจะตั้งราคารับซื้อข้าวโพดในราคาที่ใกล้เคียงตลาดมากขึ้น และจะต้องไม่กระทบมากกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดของจีนที่มีต้นทุนการเพาะปลูกสูงจากค่าแรงงาน และค่าเช่าที่ดิน
“เชื่อว่า ในระยะสั้นรัฐบาลจีนคงไม่สามารถระบายข้าวโพดในสต็อกที่มีอยู่ปริมาณมาก ในราคาที่ต่ำได้ เนื่องจากจะกระทบต่อเสถียรภาพราคาข้าวโพดภายในประเทศ และต้องการรักษาปริมาณสต็อกภายในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศถึง 2 – 3 ปี เพื่อสำรองใช้ในภาวะฉุกเฉิน ขณะที่ในระยะยาวรัฐบาลจีนมีแนวโน้มที่จะลดการอุดหนุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด และลดพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพด ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตข้าวโพดโดยรวมลดลง ราคาข้าวโพดสูงขึ้น ทำให้โรงงานผู้ผลิตแอลกอฮอล์หันมาใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบมากขึ้น”
นายวินิจฉัย เปิดเผยเพิ่มเติมว่า นโยบายรับซื้อข้าวโพดของจีนนั้น ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อราคามันสำปะหลังของไทยมากนัก เนื่องจาก โรงงานผลิตแอลกอฮอล์ของจีนส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของกรุงปักกิ่ง ซึ่งไม่ใช่พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดสำคัญของจีน นอกจากนี้ ปัจจุบันอยู่ในช่วงปลายฤดูกาลผลิตมันสำปะหลัง ผลผลิตมันสำปะหลังส่วนใหญ่ของประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านได้ออกสู่ตลาดแล้ว อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยในระยะสั้นได้มอบหมายกรมการค้าต่างประเทศ และกรมการค้าภายใน จัดชุด Mobile Unit เดินทางลงพื้นที่สุ่มตรวจคุณภาพมาตรฐานมันเส้นที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เข้มงวดกวดขันน้ำหนักบรรทุก และการขนย้ายให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ในระยะยาวกระทรวงพาณิชย์ จะบูรณาการร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร เพิ่มผลผลิตต่อไร่ และหาช่องทางแปรรูปเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ไทยสามารถบริหารอุปสงค์ อุปทานได้แบบครบวงจร
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
พาณิชย์ เชื่อนโยบายข้าวโพดจีนไม่ส่งผลกระทบต่อราคามันสำปะหลังไทยมากนัก
นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นโยบายรับซื้อข้าวโพดของจีนนั้น ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อราคามันสำปะหลังของไทยมากนัก เนื่องจาก โรงงานผลิตแอลกอฮอล์ของจีนส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของกรุงปักกิ่ง ซึ่งไม่ใช่พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดสำคัญของจีน นอกจากนี้ ปัจจุบันอยู่ในช่วงปลายฤดูกาลผลิตมันสำปะหลัง ผลผลิตมันสำปะหลังส่วนใหญ่ของประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านได้ออกสู่ตลาดแล้ว
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยในระยะสั้นได้มอบหมายกรมการค้าต่างประเทศ และกรมการค้าภายใน จัดชุด Mobile Unit เดินทางลงพื้นที่สุ่มตรวจคุณภาพมาตรฐานมันเส้นที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เข้มงวดกวดขันน้ำหนักบรรทุก และการขนย้ายให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ในระยะยาวกระทรวงพาณิชย์ จะบูรณาการร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร เพิ่มผลผลิตต่อไร่ และหาช่องทางแปรรูปเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ไทยสามารถบริหารอุปสงค์ อุปทานได้แบบครบวงจร
อนึ่งตามที่ได้มีกระแสข่าวเกี่ยวกับนโยบายรับซื้อข้าวโพดของจีน ซึ่งมีผลกดดันราคามันสำปะหลังไทย เนื่องจากข้าวโพดเป็นธัญพืชทดแทนมันสำปะหลังในการผลิตแอลกอฮอล์นั้น เพื่อให้ทราบความชัดเจนถึงกระแสข่าวดังกล่าว จึงได้นำคณะผู้แทนประกอบด้วย นายอิทธิพงศ์ คุณากรบดินทร์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย เดินทางไปพบปะกับโรงงานผู้ผลิตแอลกอฮอล์รายใหญ่ของจีน คือ Cofco Bio-Chemical (Anhui) Co.,Ltd. และ Jiangsu Huating Bio-Technology Co.,Ltd. ระหว่างวันที่ 1-4 มีนาคม 2559
จากการพบปะหารือระหว่างคณะผู้แทนประกอบด้วย นายอิทธิพงศ์ คุณากรบดินทร์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย เดินทางไปพบปะกับโรงงานผู้ผลิตแอลกอฮอล์รายใหญ่ของจีน คือ Cofco Bio-Chemical (Anhui) Co.,Ltd. และ Jiangsu Huating Bio-Technology Co.,Ltd. หลังมีกระแสข่าวเกี่ยวกับนโยบายรับซื้อข้าวโพดของจีน ซึ่งมีผลกดดันราคามันสำปะหลังไทย เนื่องจากข้าวโพดเป็นธัญพืชทดแทนมันสำปะหลังในการผลิตแอลกอฮอล์นั้น เพื่อให้ทราบความชัดเจนถึงกระแสข่าวดังกล่าว พบว่าพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดของจีนส่วนใหญ่ อยู่ในสี่มณฑลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ มณฑลจี๋หลิน เหลียวหนิง เฮยหลงเจียง และมองโกเลียใน ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้มีนโยบายอุดหนุนเกษตรกรในมณฑลดังกล่าว โดยการรับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกรส่งผลให้รัฐบาลจีนมีสต็อกข้าวโพดจำนวนมาก ซึ่งรัฐบาลจีนก็ได้ดำเนินการระบายออกอยู่เป็นระยะในราคาตลาดซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ
สำหรับ นโยบายรับซื้อข้าวโพดในปี 2558 รัฐบาลจีนรับซื้อข้าวโพดที่ราคา 2,000 หยวน/ตัน ซึ่งสูงกว่าราคาตลาด และในปี 2559 รัฐบาลจีนอยู่ระหว่างทบทวนความเหมาะสม ซึ่งคาดว่าจะทราบความชัดเจนภายในเดือนมีนาคมนี้ ว่ารัฐบาลจีนจะรับซื้อในราคาเท่าใดหรือมีนโยบายอุดหนุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดด้านอื่นหรือไม่
ทั้งนี้ คาดว่ารัฐบาลจีนจะตั้งราคารับซื้อข้าวโพดในราคาที่ใกล้เคียงตลาดมากขึ้น และจะต้องไม่กระทบมากกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดของจีนที่มีต้นทุนการเพาะปลูกสูงจากค่าแรงงาน และค่าเช่าที่ดิน
“เชื่อว่า ในระยะสั้นรัฐบาลจีนคงไม่สามารถระบายข้าวโพดในสต็อกที่มีอยู่ปริมาณมาก ในราคาที่ต่ำได้ เนื่องจากจะกระทบต่อเสถียรภาพราคาข้าวโพดภายในประเทศ และต้องการรักษาปริมาณสต็อกภายในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศถึง 2 – 3 ปี เพื่อสำรองใช้ในภาวะฉุกเฉิน ขณะที่ในระยะยาวรัฐบาลจีนมีแนวโน้มที่จะลดการอุดหนุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด และลดพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพด ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตข้าวโพดโดยรวมลดลง ราคาข้าวโพดสูงขึ้น ทำให้โรงงานผู้ผลิตแอลกอฮอล์หันมาใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบมากขึ้น"
อินโฟเควสท์