WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCมาล โชคลำเลศพาณิชย์ ปลื้มงานซื้อขายยางพารา-ผลิตภัณฑ์ทะลุเป้า จับคู่ธุรกิจเฉียด 2 หมื่นล้านบาท

     นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงความสำเร็จในการนำผู้ซื้อต่างประเทศและผู้ประกอบการไทย เพื่อเจรจาการค้ายางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพาราว่า มีผู้ซื้อผู้นำเข้าจำนวน 147 บริษัท จาก 29 ประเทศ มาเจรจาธุรกิจกับผู้ส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์ยางไทย 109 บริษัท เข้าร่วมการเจรจาและจับคู่ธุรกิจ(Business Matching) ได้เกิดมูลค่าการซื้อขายโดยรวม (ยางพาราธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ) คิดเป็นมูลค่าการซื้อขายระหว่างการเจรจาการค้าในงานจับคู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ยางรวมทั้งสิ้นประมาณ 19,660 ล้านบาท

     ทั้งนี้ ภายในงานผู้ประกอบการไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU) ในการซื้อผลิตภัณฑ์ยาง อาทิ 1. การซื้อขายไม้ยางพาราระหว่าง Shunde Wood Industry Association และสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย จํานวน 22,000 ตู้ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 9,500 ล้านบาท  2. บริษัท Thaimac STR (ในเครือบริษัทไทยฮั้วยางพารา จํากัด) ตกลงซื้อขายกับบริษัท Guangzhou Sino Rubber Co., Ltd. เป็นปริมาณ 90,000 ตัน (ยางแท่ง STR20 50,000 ตัน, ยางแผ่นรมควันชั้น 3 20,000 ตัน และนํ้ายางข้น 20,000 ตัน) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3,600 ล้านบาท

     3. Qingdao Runlian Co.,ltd. ยางแท่ง STR20 จํานวน 50,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท  4. Shanghai Han Qing Import & Export Co., ltd. ยางแท่ง STR20 จํานวน 30,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,200 ล้านบาท 5. Shanghai Ting Qing Industry Co., Ltd ยางแผ่นรมควันชั้น 3 จํานวน 30,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,200 ล้านบาท  และ 6. การซื้อขายผลิตภัณฑ์ยางและยางพาราอื่นๆ เป็นมูลค่าอีกประมาณ 2,160 ล้านบาท

     อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า กิจกรรมจับคู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ยางในครั้งนี้ เพื่อ ขยายลู่ทางการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางของไทยสู่ตลาดโลก ใช้เป็นโอกาสในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและประชาสัมพันธ์ศักยภาพของผลิตภัณฑ์ยางไทย และเพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการไทยหันมาผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มขึ้น รวมถึงผลิตภัณฑ์จากยางพาราประเภทใหม่ๆ อาทิ ชีวมวลอัดแท่ง (Wood Pellet) เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศ และสร้างรายได้ให้กับประเทศได้สูงขึ้นอย่างยั่งยืน

     ผู้ประกอบการไทยรายสำคัญที่เข้าร่วมงาน อาทิ บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ปลูกยางพาราได้เข้าร่วมกิจกรรม อาทิ สหกรณ์กองทุนสวนยางอำเภอบ่อทอง จำกัด ชุมนุมสหกรณ์อุตสาหกรรมยางพาราภาคใต้ จำกัด โรงอัดก้อนยางสหกรณ์การเกษตรย่านตาขาว จำกัด โรงอัดก้อนยางสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านทรายแก้ว จำกัด โรงอัดก้อนยางสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านคลองโตนพัฒนา จำกัด เป็นต้น 

     “กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเชื่อว่า กิจกรรมการเจรจาการค้าในครั้งนี้ จะเป็นก้าวแห่งความสำเร็จที่สำคัญแก่อุตสาหกรรมยางพาราไทยในการตอกย้ำความสัมพันธ์ทางการค้ากับคู่ค้าต่างประเทศ อีกทั้งเป็นโอกาสในการแสวงหาและสร้างพันธมิตรกับคู่ค้ารายใหม่อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าว 

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

พาณิชย์ ปลื้มการเจรจาจับคู่ธุรกิจซื้อขายยาง-ผลิตภัณฑ์เฉียด 2 หมื่นลบ.

   นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงความสำเร็จในการนำผู้ซื้อต่างประเทศและผู้ประกอบการไทย เพื่อเจรจาการค้ายางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพาราว่า มีผู้ซื้อผู้นำเข้าจำนวน 147 บริษัท จาก 29 ประเทศ มาเจรจาธุรกิจกับผู้ส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์ยางไทย 109 บริษัท เข้าร่วมการเจรจาและจับคู่ธุรกิจ(Business Matching) ได้เกิดมูลค่าการซื้อขายโดยรวม (ยางพาราธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ) คิดเป็นมูลค่าการซื้อขายระหว่างการเจรจาการค้าในงานจับคู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ยางรวมทั้งสิ้นประมาณ 19,660 ล้านบาท

     ทั้งนี้ ภายในงานผู้ประกอบการไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU) ในการซื้อผลิตภัณฑ์ยาง อาทิ 1. การซื้อขายไม้ยางพาราระหว่าง Shunde Wood Industry Association และสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย จำนวน 22,000 ตู้ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 9,500 ล้านบาท 2. บริษัท Thaimac STR (ในเครือบริษัทไทยฮั้วยางพารา จำกัด) ตกลงซื้อขายกับบริษัท Guangzhou Sino Rubber Co., Ltd. เป็นปริมาณ 90,000 ตัน (ยางแท่ง STR20 50,000 ตัน, ยางแผ่นรมควันชั้น 3 20,000 ตัน และน้ำยางข้น 20,000 ตัน) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3,600 ล้านบาท

     3. Qingdao Runlian Co.,ltd. ยางแท่ง STR20 จำนวน 50,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท  4. Shanghai Han Qing Import & Export Co., ltd. ยางแท่ง STR20 จำนวน 30,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,200 ล้านบาท 5. Shanghai Ting Qing Industry Co., Ltd ยางแผ่นรมควันชั้น 3 จำนวน 30,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,200 ล้านบาท  และ 6. การซื้อขายผลิตภัณฑ์ยางและยางพาราอื่นๆ เป็นมูลค่าอีกประมาณ 2,160 ล้านบาท

    อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า กิจกรรมจับคู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ยางในครั้งนี้ เพื่อขยายลู่ทางการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางของไทยสู่ตลาดโลก ใช้เป็นโอกาสในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและประชาสัมพันธ์ศักยภาพของผลิตภัณฑ์ยางไทย และเพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการไทยหันมาผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มขึ้น รวมถึงผลิตภัณฑ์จากยางพาราประเภทใหม่ๆ อาทิ ชีวมวลอัดแท่ง (Wood Pellet) เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศ และสร้างรายได้ให้กับประเทศได้สูงขึ้นอย่างยั่งยืน

    ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยรายสำคัญที่เข้าร่วมงาน อาทิ บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด บมจ. ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี (STA) นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ปลูกยางพาราได้เข้าร่วมกิจกรรม อาทิ สหกรณ์กองทุนสวนยางอำเภอบ่อทอง จำกัด ชุมนุมสหกรณ์อุตสาหกรรมยางพาราภาคใต้ จำกัด โรงอัดก้อนยางสหกรณ์การเกษตรย่านตาขาว จำกัด โรงอัดก้อนยางสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านทรายแก้ว จำกัด โรงอัดก้อนยางสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านคลองโตนพัฒนา จำกัด เป็นต้น

      กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเชื่อว่ากิจกรรมการเจรจาการค้าในครั้งนี้จะเป็นก้าวแห่งความสำเร็จที่สำคัญแก่อุตสาหกรรมยางพาราไทยในการตอกย้ำความสัมพันธ์ทางการค้ากับคู่ค้าต่างประเทศ อีกทั้งเป็นโอกาสในการแสวงหาและสร้างพันธมิตรกับคู่ค้ารายใหม่" อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าว

   อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!