WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCสวทย เมษนทรยรมช.พาณิชย์ คงเป้าส่งออกปีนี้โต 5% เน้นรักษาส่วนแบ่งตลาดหวังพลิกกลับมาเป็นบวก

    นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ ประกาศคงเป้าหมายผลักดันการส่งออกในปีนี้ให้เติบโตราว 5% แม้ว่าล่าสุดตัวเลขการส่งออกในเดือน ม.ค.59 ยังติดลบสูงถึง 8.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 แต่ไทยจะเน้นการรักษาส่วนแบ่งตลาดส่งออกเอาไว้ และหวังว่าจะทำให้การส่งออกพลิกกลับมาเป็นบวกได้

    สถานการณ์การส่งออกของไทยที่ชะลอตัวลงล่าสุดที่ 8.9% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีการปรับตัวลดลง โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดคาดการณ์ขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลงมาอยู่ที่ 3.4% จากเดิมที่ 3.6% ขณะที่ราคาน้ำมันลดลงจาก 51.6 ดอลลาร์ต่อบาเรล เหลือ 42.5 ดอลลาร์ต่อบาเรลในปีนี้ ภายใต้ความผันผวน

     รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า ถึงแม้การขยายตัวของการส่งออกในเดือน ม.ค.59 จะยังคงติดลบต่อเนื่อง แต่อย่ามองเพียงตัวเลขส่งออกอย่างเดียว ต้องปรับยุทธศาสตร์การค้าการลงทุนให้แข่งขันในตลาดโลกได้ เพราะเมื่อเทียบกับการส่งออกของประเทศอื่นทั่วโลกที่ติดลบ ประเทศไทยมีการขยายตัวอยู่ในอันดับ 4 รองจากฮ่องกง จีน และเม็กซิโก ตามลำดับ และเชื่อว่าจะมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นในทุกๆตลาด

     "แม้จะเห็นตัวเลขติดลบต่อเนื่องก็เพราะโลกเป็นแบบนี้ แต่เรามี rank เติบโต เรายังมุ่งมั่นให้ได้ 5% แต่ทำได้เท่าไหร่ก็เท่านั้น" นายสุวิทย์ กล่าว

     รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งออก แต่รูปแบบการค้าเปลี่ยนแปลงไป โลกพึ่งพาการส่งออกและนำเข้าน้อยลง โดยเฉพาะการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มลดลง แต่ส่งออกด้านบริการกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้จึงได้กำหนดโรดแมพและยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนของไทยในเวทีโลก เน้นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของการค้าการลงทุน จากเดิมมีการส่งออกด้านสินค้าเพียงอย่างเดียวก็จะปรับเปลี่ยนให้มีการส่งออกด้านบริการมากขึ้น ซึ่งไทยมีแนวโน้มการส่งออกด้านบริการที่ดี พร้อมทั้งได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการรวบรวมตัวเลขการส่งออกด้านบริการและมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการแถลงตัวเลขภาวะการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งอาจจะเห็นได้ในช่วงเดือนเมษายนนี้

    ส่วนเรื่องการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ จากเดิมต้องการเห็นนักลงทุนจากต่างประเทศมาลงทุนในไทย แต่จะมีการปรับเปลี่ยนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น โดยเป้าหมายของการลงทุนของไทยในต่างประเทศกว่า 30% ไปอยู่ในอาเซียน

    ด้านโครงสร้างภายในภาคอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงโดยลดการพึ่งพารายได้จากการส่งออกลง แต่เพิ่มการพึ่งพารายได้จากการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น โดยทุกกลุ่มอุตสาหกรรมมีสัดส่วนรายได้จากส่วนงานในต่างประเทศต่อรายได้รวมสูงขึ้น

      พร้อมทั้งมีการปรับเปลี่ยนจากส่งออกเชิงปริมาณมาเป็นการส่งออกที่เน้นคุณภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้ามากขึ้น

     รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า ในอนาคตจะต้องดู GNP หรือมูลค่าสินค้าและบริการ ควบคู่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ GDP ควบคู่กันไป โดยหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว GNP จะมากกว่า GDP นอกจากนี้การค้ากำลังเผชิญกับภาวะ New Normal ดังนั้นจะต้องดำเนินการแบบ Business As Usual ไม่ได้ โดยนอกเหนือจากการแสวงหาโอกาสจากการค้าโลก ต้องมีการเสริมสร้างความเข้มแข็งจากภายในประเทศด้วย โดยแนวทางการขับเคลื่อนการส่งออกที่สำคัญประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่  1.ขยายการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะตลาดอินโดจีนหรือ CLMV โดยกระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อการขยายโอกาสทางการค้า และใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของไทยซึ่งมีที่ตั้งเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งความเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก

      2.เร่งรัดขยายตลาดส่งออกเชิงรุก โดยใช้ความต้องการตลาดเป็นตัวนำการผลิต (Demand Driven) หรือกำหนดสินค้า/บริการที่จะผลักดันการส่งออก และมีการกำหนดกลยุทธ์เชิงลึกลงถึงในระดับเมือง (city focus)  มุ่งเน้นการเจาะตลาดใหม่ๆ การเจาะกลุ่มตลาดเฉพาะ (niche market) และช่องทางการค้าออนไลน์ โดยเฉพาะตลาดอาเซียน ที่จะมุ่งเจาะตลาดเข้าสู่เมืองเศรษฐกิจรองที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง ได้แก่ มัณฑะเลย์  เมียวดี มะริด ทวาย  ไฮฟอง  ฮานอย  เกิ่นเทอ  เสียมราฐ  พระสีหนุ  เกาะกง  หลวงพระบาง  สะหวันนะเขต  จำปาสัก เซบู  ดาเวา  สลังงอ รวมถึงการเพิ่มความสำคัญของตลาดในเมืองหลวง/เมืองเศรษฐกิจหลัก โดยเน้นสินค้า/บริการแบรนด์ที่มีศักยภาพ  ได้แก่  ย่างกุ้ง พนมเปญ  โฮจิมินห์  เวียงจันทน์  จาการ์ตา  สิงคโปร์  กัวลาลัมเปอร์

      3.ส่งเสริมการค้าบริการ (Trade in Services) โดยสนับสนุนภาคธุรกิจบริการให้เป็นแรงผลักดันการส่งออกควบคู่ไปกับการส่งออกสินค้า ตามยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนด 6 กลุ่มธุรกิจบริการเป้าหมาย ได้แก่ ธุรกิจบริการด้านสุขภาพ ธุรกิจบันเทิงและคอนเทนต์ ธุรกิจโลจิสติกส์ ธุรกิจการศึกษา ธุรกิจบริการเกี่ยวกับการต้อนรับ และธุรกิจบริการวิชาชีพ

      4.ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยไปดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ เพื่อขยายโอกาสทางการค้าการลงทุน และสร้างความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจ โดย ผ่านกลไกภาครัฐร่วมกับภาคเอกชน รวมทั้งการศึกษาข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจและศักยภาพทางเศรษฐกิจเป็นรายเมือง รวมถึง ขั้นตอน กฎระเบียบการลงทุน และมาตรการทางภาษี  สร้างเครือข่ายกับหน่วยงาน/นักธุรกิจ ในท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการที่ต้องการขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ

     5.ผลักดันและแก้ปัญหาทางการค้าระร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยมีกลไกลขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ (พกค.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาคการค้าทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นกรรมการ โดย พกค. จะมีบทบาทด้านการกำหนดนโยบาย และมาตรการเกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการค้าของประเทศ

     ส่วนกรณีผลสำรวจนิด้าโพลล์ระบุว่าตนเองอยู่ในกลุ่มรัฐมนตรีที่มีผลงานไม่ประทับใจประชาชนนั้น นายสุวิทย์ กล่าวว่า จะพยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ส่วนตัวไม่ได้รู้สึกกังวลกับผลโพลล์ที่ออกมา และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าด้านเศรษฐกิจก็ได้ให้กำลังใจในการทำงาน เพราะงานของกระทรวงพาณิชย์เน้นการแก้ไขปัญหาปากท้องให้กับประชาชน ซึ่งก็พยายามทำอย่างเต็มที่ และพยายามวางรากฐานโครงสร้างการทำงานที่รัฐบาลจากการเลือกตั้งอาจไม่กล้าทำ แต่กว่าจะเห็นผลอาจใช้เวลา 2-3 ปี

                อินโฟเควสท์

พาณิชย์ คงเป้าส่งออกโต 5% ลั่นเน้นรักษาส่วนแบ่งตลาดหวังพลิกเป็นบวก

    บ้านเมือง : นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าได้คงเป้าหมายผลักดันการส่งออกในปีนี้ให้เติบโตราว 5% แม้ว่าล่าสุดตัวเลขการส่งออกในเดือน ม.ค.59 ยังติดลบสูงถึง 8.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 แต่ไทยจะเน้นการรักษาส่วนแบ่งตลาดส่งออกเอาไว้ และหวังว่าจะทำให้การส่งออกพลิกกลับมาเป็นบวกได้ โดยสถานการณ์การส่งออกของไทยที่ชะลอตัวลงล่าสุดที่ 8.9% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีการปรับตัวลดลง โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดคาดการณ์ขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลงมาอยู่ที่ 3.4% จากเดิมที่ 3.6% ขณะที่ราคาน้ำมันลดลงจาก 51.6 ดอลลาร์ต่อบาเรล เหลือ 42.5 ดอลลาร์ต่อบาเรลในปีนี้ ภายใต้ความผันผวน

     ทั้งนี้ ถึงแม้การขยายตัวของการส่งออกในเดือน ม.ค.59 จะยังคงติดลบต่อเนื่อง แต่อย่ามองเพียงตัวเลขส่งออกอย่างเดียว ต้องปรับยุทธศาสตร์การค้าการลงทุนให้แข่งขันในตลาดโลกได้ เพราะเมื่อเทียบกับการส่งออกของประเทศอื่นทั่วโลกที่ติดลบ ประเทศไทยมีการขยายตัวอยู่ในอันดับ 4 รองจากฮ่องกง จีน และเม็กซิโก ตามลำดับ และเชื่อว่าจะมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นในทุกๆ ตลาด

    นายสุวิทย์ กล่าวว่า มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งออก แต่รูปแบบการค้าเปลี่ยนแปลงไป โลกพึ่งพาการส่งออกและนำเข้าน้อยลง โดยเฉพาะการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มลดลง แต่ส่งออกด้านบริการกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้จึงได้กำหนดโรดแม็พและยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนของไทยในเวทีโลก เน้นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของการค้าการลงทุน จากเดิมมีการส่งออกด้านสินค้าเพียงอย่างเดียวก็จะปรับเปลี่ยนให้มีการส่งออกด้านบริการมากขึ้น ซึ่งไทยมีแนวโน้มการส่งออกด้านบริการที่ดี พร้อมทั้งได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการรวบรวมตัวเลขการส่งออกด้านบริการและมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการแถลงตัวเลขภาวะการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งอาจจะเห็นได้ในช่วงเดือนเมษายนนี้

      ส่วนเรื่องการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ จากเดิมต้องการเห็นนักลงทุนจากต่างประเทศมาลงทุนในไทย แต่จะมีการปรับเปลี่ยนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น โดยเป้าหมายของการลงทุนของไทยในต่างประเทศกว่า 30% ไปอยู่ในอาเซียน ด้านโครงสร้างภายในภาคอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงโดยลดการพึ่งพารายได้จากการส่งออกลง แต่เพิ่มการพึ่งพารายได้จากการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น โดยทุกกลุ่มอุตสาหกรรมมีสัดส่วนรายได้จากส่วนงานในต่างประเทศต่อรายได้รวมสูงขึ้นพร้อมทั้งมีการปรับเปลี่ยนจากส่งออกเชิงปริมาณมาเป็นการส่งออกที่เน้นคุณภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้ามากขึ้น

      ทั้งนี้ ในอนาคตจะต้องดู GNP หรือมูลค่าสินค้าและบริการ ควบคู่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ GDP ควบคู่กันไป โดยหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว GNP จะมากกว่า GDP นอกจากนี้การค้ากำลังเผชิญกับภาวะ New Normal ดังนั้นจะต้องดำเนินการแบบ Business As Usual ไม่ได้ โดยนอกเหนือจากการแสวงหาโอกาสจากการค้าโลก ต้องมีการเสริมสร้างความเข้มแข็งจากภายในประเทศด้วย โดยแนวทางการขับเคลื่อนการส่งออกที่สำคัญประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1.ขยายการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะตลาดอินโดจีนหรือ CLMV โดยกระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อการขยายโอกาสทางการค้า และใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของไทยซึ่งมีที่ตั้งเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งความเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก

      2.เร่งรัดขยายตลาดส่งออกเชิงรุก โดยใช้ความต้องการตลาดเป็นตัวนำการผลิต (Demand Driven) หรือกำหนดสินค้า/บริการที่จะผลักดันการส่งออก และมีการกำหนดกลยุทธ์เชิงลึกลงถึงในระดับเมือง (city focus) มุ่งเน้นการเจาะตลาดใหม่ๆ การเจาะกลุ่มตลาดเฉพาะ (niche market) และช่องทางการค้าออนไลน์ 3.ส่งเสริมการค้าบริการ (Trade in Services) โดยสนับสนุนภาคธุรกิจบริการให้เป็นแรงผลักดันการส่งออกควบคู่ไปกับการส่งออกสินค้า ตามยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ 4.กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนด 6 กลุ่มธุรกิจบริการเป้าหมาย 5.ผลักดันและแก้ปัญหาทางการค้าระร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยมีกลไกลขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ (พกค.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาคการค้าทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นกรรมการ โดย พกค. จะมีบทบาทด้านการกำหนดนโยบาย และมาตรการเกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการค้าของประเทศ

ตั้งเป้าส่งออกอาหารปีนี้ 9.5 แสน ล.

                บ้านเมือง : นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า ในการประสานความร่วมมือของ 3 องค์กร ในส่วนของสถาบันอาหารจะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องภายใต้การดำเนินงานของศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร หรือ Food Intelligence Center โดยพบว่าภาพรวมการค้าอาหารไทยปี 2558 (ไม่รวมอาหารสัตว์) การส่งออกมีมูลค่า 897,529 ล้านบาท หดตัวลง 1.9% เมื่อเทียบกับ ปี 2557 ส่วนการนำเข้าอาหารมีมูลค่า 356,743 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.8% คาดปี 2559 มูลค่าส่งออกจะเพิ่มขึ้นเป็น 950,000 ล้านบาท ขยายตัว 5.8%

      ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าอาหารของไทยมีมูลค่าลดลง เช่นเดียวกับประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ราคาสินค้าตกต่ำ รวมถึงเงินดอลลาร์สหรัฐ มีการแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลของประเทศต่างๆ ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นตามกลุ่มวัตถุดิบจำพวกอาหารทะเล เพราะวัตถุดิบในประเทศลดลงสินค้าอาหารส่งออกในจำนวนสินค้าหลัก 8 รายการมีสัดส่วนส่งออกรวมกัน 60.1% โดยมีข้าวเป็นสินค้าส่งออกอันดับที่ 1 สัดส่วน 17.4% ของมูลค่าอาหารส่งออกรวมในปี 2558 รองลงมาได้แก่ น้ำตาลทราย (10.0%), ไก่ (9.8%), ปลาทูน่ากระป๋อง (7.5%), กุ้ง (6.4%), แป้งมันสำปะหลัง (แป้งดิบ) (4.6%), เครื่องปรุงรส (2.2%) และสับปะรดกระป๋อง (2.1%)

       ในจำนวนสินค้าหลัก 8 รายการพบว่ามี 4 สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่น้ำตาลทราย (+2.5%), ไก่ (+9.6%), แป้งมันสำปะหลัง (+0.2%), เครื่องปรุงรส (+3.8%) และสับปะรดกระป๋อง (+17.5%) ขณะที่มีสินค้า 3 รายการที่มูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว (-10.8%), ปลาทูน่ากระป๋อง (-11.8%) และกุ้ง (-10.6%)

     สำหรับ การส่งออกข้าวไทยลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศผู้ซื้อที่มีรายได้หลักจากการส่งออกน้ำมัน ประกอบกับตลาดข้าวโลกมีการแข่งขันสูงขึ้น ทำให้ความต้องการนำเข้าข้าวลดลง โดยไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับ 2 ของโลก ที่ปริมาณ 9.8 ล้านตัน รองจากอินเดียที่ส่งออกข้าวได้ 10.23 ล้านตัน ส่วนเวียดนามเป็นอันดับที่ 3 มีปริมาณส่งออก 6.6 ล้านตัน ส่วนปลาทูน่ากระป๋องการส่งออกลดลงมากในเชิงมูลค่าตามทิศทางราคาวัตถุดิบทูน่าที่อ่อนตัวลงตามราคาน้ำมัน ส่งผลทำให้สินค้าสำเร็จรูปมีราคาอ่อนตัวตามไปด้วย สำหรับกุ้งแม้ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่มูลค่าส่งออกลดลงมากตามทิศทางราคาส่งออกที่มีการปรับตัวลดลง เนื่องจากปริมาณผลผลิตกุ้งโลกสูงขึ้นจากการขยายการกำลังการผลิตกุ้งในประเทศคู่แข่ง เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย รวมทั้งผลผลิตกุ้งไทยมีขนาดเล็กลง เนื่องจากเกษตรกรต้องเร่งจับกุ้งขายเร็วขึ้น เพราะยังเกรงปัญหาโรคตายด่วน

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!