WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCอภรด ตนตราภรณกระทรวงพาณิชย์โชว์ศักยภาพเกษตรอินทรีย์ไทยในงาน BIOFACH ประเทศเยอรมนี

     พาณิชย์ ตอกย้ำความสำเร็จของผู้ประกอบการไทยในการผลิต และส่งออกเกษตรอินทรีย์ไทยโดยผลักดันการเข้าร่วมจัดแสดงและเจรจาการค้าในงาน BIOFACH ที่เมืองนูเร็มเบอร์ก ประเทศเยอรมนี ในระหว่างวันที่ 10-13 กุมภาพันธ์ นี้

 นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เกษตรอินทรีย์เป็น นโยบายของรัฐบาลในการปรับทิศทางการผลิตในภาคการเกษตรใหม่ให้สอดรับกับสถานการณ์โลก ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพ สิ่งแวดล้อม การลดการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม ทำให้เกษตรอินทรีย์มีการขยายตัวสวนกระแสเศรษฐกิจโลกในภาพรวมแนวโน้มเกษตรอินทรีย์ค่อนข้างที่จะมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดี มีการเติบโตของตลาดที่มั่นคงและต่อเนื่อง สินค้าอินทรีย์แม้จะให้ผลผลิตต่ำ ตลาดเล็ก แต่ก็มีมูลค่าที่สูงและเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อที่สูง

 สำหรับ งาน BIOFACH นี้เป็นงานเกี่ยวกับสินค้า อินทรีย์ทั้งที่เป็นสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป อาหารสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และความงาม เสื้อผ้า และของใช้ที่ทำจากวัตถุดิบที่เป็นอินทรีย์ เป็นงานที่ใหญ่ระดับโลก เน้นการเจรจาธุรกิจเท่านั้น ปี 2559 นี้จัดเป็นปีที่ 27 มีผู้เข้าร่วมงานกว่า  2,100 ราย พื้นที่จัดแสดง 70.200 ตารางเมตร ที่ผ่านมามีผู้เข้าชมงานกว่า 44,500 คน นอกเหนือจากเวทีการจัดแสดงแล้วยังมีการสัมมนา และ Workshop ที่เกี่ยวกับสินค้าอินทรีย์อีกกว่า 70 รายการ บริษัทที่จะเข้าร่วมจัดแสดงได้จะต้องเป็นบริษัทที่มีสินค้าผ่านการรับรองมาตรฐานสากลแล้วเท่านั้น

  ในส่วนของประเทศไทยในปีนี้มีบริษัทที่เดินทางไปเข้าร่วมงานกับกระทรวงพาณิชย์ รวม 13 บริษัทณ อาคาร 1 ในพื้นที่ 113.88 ตร.ม สินค้าที่นำไปจัดแสดง อาทิ ข้าว เส้นหมี่ เครื่องปรุงอาหาร กะทิ ชาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์บำรุงสุขภาพ เป็นต้น ในงานจะมีกิจกรรมนิทรรศการข้าวไรซ์เบอรี่ สาธิตการปรุงอาหาร รวมทั้งมีการส่งสินค้าไทยเข้าประกวด Best new products Award ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้เสนอผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการไทยเข้าประกวด 2 ชนิด คอ ข้าวไรซ์เบอรี่อินทรีย์ และเครื่องปรุงผัดกระเพราอินทรีย์ 

 นางดวงกมล เจียมบุตร เลขานุการรัฐมนตรีกล่าวว่า นอกเหนือจากการเข้าร่วมงานในครั้งนี้แล้วยังจะนำคณะเข้าพบกับผู้บริหารร้านค้าสินค้าอินทรีย์ และผู้ประกอบกิจการฟาร์มอินทรีย์ เพื่อสร้างเครือข่าย และนำเทคนิคมาถ่ายทอดแก่เกษตรกร เนื่องจากเยอรมนีเป็นทั้งประเทศผู้ผลิตสินค้าอินทรีย์ และผู้ซื้อรายใหญ่เป็นลำดับต้นๆของโลก อีกทั้งเป็นตลาดที่มีความต้องการสูงและขยายตัวต่อเนื่อง  สินค้าจะต้องมีฉลากระบุชัดเจนว่าเป็นสินค้าอินทรีย์ (Organic) ซึ่งก็ต้องมีใบรับรองมาตรฐาน หรือหากไม่ถึงระดับอินทรีย์ต้องมีการระบุในฉลากว่า เป็นสินค้าธรรมชาติ (Natural) เท่านั้น

  การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์นั้นมีหัวใจสำคัญ คือต้องไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ ในขั้นตอนการผลิตซึ่งการตรวจสอบสินค้าเกษตรอินทรีย์นั้น ไม่ใช่การตรวจสอบเฉพาะสินค้าที่ผลิตแล้วเท่านั้นแต่กระบวนการตรวจสอบจะต้องย้อนไปตรวจสอบถึงแหล่งผลิต ตั้งแต่ดินที่จะใช้ปลูกน้ำ สภาพแวดล้อม รวมทั้งปัจจัยการผลิตต่างๆไม่ว่าจะเป็นเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และสารกำจัดแมลง  พื้นที่สำหรับทำเกษตรอินทรีย์นั้นต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยทำการเกษตรทั่วๆไปที่มีการใช้สารเคมีมาไม่น้อยกว่า 3 ปี อยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรม อยู่ห่างจากแปลงที่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี และมีแหล่งน้ำที่ปลอดสารพิษ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ต้องไม่มีการปนเปื้อนของสารเคมี และไม่มีการใช้สารตัดแต่งพันธุกรรมในการผลิต โดยทั่วไปช่วงระยะการปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืชปกติมาทำพืชอินทรีย์ จะใช้ระยะเวลา 12-18 เดือน หรือกว่านั้นขึ้นกับสภาพของพื้นที่ เมื่อผ่านระยะการปรับเปลี่ยนแล้วผลผลิตที่ได้จึงจะถือว่าเป็น อินทรีย์

  เกษตรกรที่ต้องการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ต้องสมัครขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากหน่วยงานตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ประมาณว่าพื้นที่การผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มีประมาณ เกือบ 240 ไร่ โดยมีการขยายตัว เพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 9 และมีจำนวนฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน กว่า 9 พันฟาร์ม  ขยายตัวกว่าร้อยละ 7

   ตลาดสินค้าอินทรีย์ไทยมีมูลค่าการค้ารวม  2,331.55 ล้านบาท โดย  77.9% เป็นการส่งออก และบริโภคในประเทศ 22.06% 

    ช่องทางการจำหน่ายในไทยส่วนใหญ่จะเป็นซุปเปอร์มาเกต รองลงมาเป็น  ร้านค้าเฉพาะอย่าง  ร้านค้าทางออนไลน์ ความนิยมในการบริโภคและการรับรู้เรื่องอาหารอินทรีย์ของไทยยังค่อนข้างจำกัด ส่วนใหญ่จะเน้นไปยังกลุ่มที่รักษาสุขภาพ ซึ่งเมื่อเทียบกับต่างประเทศ จะเน้นไปที่ความรับผิดชอบของสังคมต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า และความต้องการที่จะมีสินค้าคุณภาพดี ไม่มีสารตกค้าง  โดยจะให้ความเชื่อมั่นต่อตรารับรองมาตรฐานอินทรีย์มาก ซึ่งตรารับรองมาตรฐานนี้มีทั้งมาตรฐานประเทศ และมาตรฐานสมาคม ซึ่งได้รับการยอมรับเสมอกัน ในขณะที่ประเทศไทยยังมีความเข้าใจเรื่องการรับรองมาตรฐานไม่ชัดเจน และมีหลายตรารับรอง ซึ่งยังไม่ได้มีการเทียบเคียงกัน

   นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ รองโฆษกกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า สหภาพยุโรปถือเป็นหนึ่งในสามตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งของโลก ซึ่งเมื่อรวมเอาตลาดของสหภาพยุโรปเข้ากับอีกสามตลาดใหญ่คือ อเมริกา ฝรั่งเศสและแคนาดาแล้วจะได้สัดส่วนของตลาดเกษตรอินทรีย์ของโลกถึงร้อยละ 95 

 ตลาดเกษตรอินทรีย์ หรือออร์แกนิคในต่างประเทศ ที่ มีการขยายตัวค่อนข้างสูงมาก ได้แก่ ตลาดออร์แกนิคในสหรัฐอเมริกาในปี 2557 ขยายตัว 11%, ฝรั่งเศส 10%, เยอรมัน 5% แต่ที่มีการขยายตัวมากที่สุด คือ ประเทศสวีเดน 38%)

  สถาบันวิจัยด้านการเกษตรอินทรีย์ FiBL (Forschungsinstitut für biologischen Landbau)  และ สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ IFOAM ได้จัดทำรายงานสถิติที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรอินทรีย์ประจำปี 2015  ดังนี้

   -  จำนวนประเทศที่มีข้อมูลด้านเกษตรอินทรีย์ 170 ประเทศ (ค.ศ. 2013)

   -  พื้นที่เกษตรอินทรีย์ 43.1 ล้านเฮกเตอร์ (2013) [11 ล้านเฮกเตอร์ ในปี ค.ศ. 1999] ขยายตัวเกือบ 3 เท่าในช่วง 14 ปี  ที่ผ่านมา

   -  พื้นที่เกษตรอินทรีย์นี้คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 1 ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมดในโลกและมีโอกาสที่จะขยายได้อีกมาก

   -   มี 11 ประเทศที่มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์มากกว่าร้อยละ 10 (นำโดย ฝรั่งเศส ร้อยละ 36.3 ลิกเตนสไตน์ ร้อยละ 31 และ ออสเตรียร้อยละ 19.5 นอกนั้นได้แก่ อาเยนติน่า  สหรัฐ )

   -   มีเกษตรกรอินทรีย์ 2 ล้านคน (2013) โดยประมาณ 3 ใน 4 อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา(ประมาณ 1.9-2 ล้านคน)

   - มีเกษตรกรอินทรีย์ในประเทศอินเดียมากที่สุด (650,000 คน) ตามด้วย ยูกาดา (189,610 คน) และแม็กซิโก 169,703 คน

   -  สหรัฐเป็นตลาดเกษตรอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุด (27.5 ล้าน US dollar) รองลงมาคือ เยอรมนี (8.6 ล้าน US dollar) และ ฝรั่งเศส (5 ล้าน US dollar) โดยรวมสินค้าอินทรีย์มีมูลค่ารวมๆกันถึง 72 ล้าน US Dollar (2013) ขยายตัวรวดเร็วมาก ถึง เกือบ  4 เท่าในช่วง 14 ปีที่ผ่านมา

  ในประเทศเยอรมนี สินค้าเกษตรอินทรีย์ทุกชนิดต้องได้รับการรับรองมาตรฐานอินทรีย์จากหน่วยงานของรัฐ หรือสมาคม  เช่นเครื่องหมาย BIO ซึ่งเป็นตรารับรองอินทรีย์ของสหภาพยุโรป หรือตรารับรองของสมาคมฯ ต่างๆ ที่มักจะตั้งมาตรฐานไว้สูงกว่ามาตรฐานของประเทศ หรือของสหภาพยุโรป เช่นตรารับรอง Bioland, Naturland และ Demeter ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการสามารถใช้ตราของสหภาพยุโรป หรือตราของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งก็ได้

   ในอนาคตนอกเหนือจากเรื่องสิ่งแวดล้อม การงดใช้สารเคมีที่ชาวโลกให้ความสำคัญแล้วยังจะมีเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืน  (sustainability)  การควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การควบคุมการนำเข้าสินค้า GMOรวมทั้งการให้ความสำคัญเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่น (GI) ซึ่งโชคดีที่รัฐบาลชุดนี้ได้ใส่ไว้ในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนแล้ว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!