WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCอภรด ตนตราภรณ copyพาณิชย์ฯ หนุน’ 'ประชารัฐ'เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ดันโครงการ เส้นทางสายผ้าทอคาดสร้างรายได้ 5.8 หมื่นลบ.

  กระทรวงพาณิชย์ หนุนนโยบาย 'ประชารัฐ'ของรัฐบาล ประสานไตรภาคี รัฐ เอกชน และประชาชน ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เตรียมบูรณาการวิถีไทยเข้ากับวิถีเทศ สร้างมาตรฐาน - เพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น วางรากฐานชุมชนให้แข็งแกร่ง และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม พร้อมสร้างวิถีเศรษฐกิจชุมชนต้นแบบ นำมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเชิงพาณิชย์สร้างรายได้เข้าชุมชน โดยผลักดันโครงการ เส้นทางสายผ้าทอคาด! สามารถสร้างรายได้กว่า 58,000 ล้านบาท เชื่อ! หากโมเดลความร่วมมือสำเร็จ : ภาคเอกชนขับเคลื่อน ภาครัฐให้การสนับสนุน และภาคประชาชนลงมือปฏิบัติ เศรษฐกิจไทยพัฒนาไกลแน่นอน 

  นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลต้องการสร้างความเข้มแข็งให้ประเทศด้วยการพึ่งพาตนเองมากขึ้น และใช้เศรษฐกิจท้องถิ่นเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง โดยการดึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ พร้อมดันภาคเอกชนเข้าร่วมวางรากฐานเศรษฐกิจใหม่ และภาครัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นการผนึกกำลัง ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำโดยมีเป้าหมายเสริมสร้าง ฐานรากทางเศรษฐกิจในระดับประชาชนและชุมชนให้ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนภายใต้ยุทธศาสตร์ ประชารัฐนั้น

   กระทรวงพาณิชย์ พร้อมสนับสนุนนโยบาย 'ประชารัฐ' เต็มที่ โดยเร่งประสานความร่วมมือไตรภาคีเครือข่ายภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเพื่อร่วมกันพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ล่าสุดได้สั่งการให้ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงพาณิชย์บูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งเชื่อมโยงหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง นำมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละชุมชนมาพัฒนาให้เกิดมูลค่าเชิงพาณิชย์ โดยอาศัยจุดแข็ง คือ วัฒนธรรม วิถีไทย ภูมิปัญญา เอกลักษณ์เฉพาะตัว และเรื่องราวการรังสรรค์ชิ้นงานที่มีประวัติยาวนาน มาเป็นส่วนประกอบในการสร้างความเข้มแข็ง สร้างรายได้ให้ชุมชนและประเทศ สร้างชุมชนวิถีไทย และสร้างช่องทางการตลาดในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้แก่คนไทยและผู้มาเยือนชาวต่างชาติ ซึ่งจะทำให้เกิดการรวมตัวของประชาชนและผู้ประกอบการในท้องถิ่น เป็นการวางรากฐานให้ชุมชนมีความแข็งแกร่ง ยั่งยืน รวมทั้ง ช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม

   เฟสแรก กระทรวงฯ เตรียมสร้างวิถีเศรษฐกิจชุมชนต้นแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์แก่ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น โดยใช้ความงดงามของ ผ้าทอที่มีความสวยงาม มีอัตลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวมาเป็นผลิตภัณฑ์นำร่อง และได้ดำเนินการผ่านโครงการ เส้นทางสายผ้าทอหรือ “Weaving Street” ใช้ ผ้าทอเป็นตัวเชื่อมเศรษฐกิจระหว่างบุคคลและระหว่างท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการรวมตัวและสร้างเป็นชุมชนเศรษฐกิจท้องถิ่นขึ้น โดยที่กระทรวงฯ จะเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงช่วยสนับสนุน อำนวยความสะดวก และวางโครงสร้างการจัดการในทุกๆ ระบบ จนเศรษฐกิจชุมชนนั้นสามารถบริหารจัดการได้ด้วยตนเอง และจะทำการติดตามผลงานเป็นระยะ เพื่อให้เศรษฐกิจชุมชนเกิดความยั่งยืนมากที่สุด

   ทั้งนี้ กระทรวงฯ ได้วางกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและมรดกทางวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดมูลค่าเชิงพาณิชย์ ประกอบด้วย

   1) การบูรณาการวิถีไทยเข้ากับวิถีเทศ โดยใช้จุดแข็งของวิถีไทยเป็นองค์ประกอบหลัก และใช้มาตรฐานการบริการมาเป็นส่วนเสริมช่วยผลักดันให้วิถีไทยมีความสมบูรณ์ สร้างความประทับใจ และเสน่ห์ความเป็นวิถีไทยไว้อย่างสมบูรณ์ ในส่วนนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์” “กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและ กรมการค้าภายในจะส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาอบรมและวางระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน โดยจะเริ่มดำเนินการ ณ บ้านสนวนนอก อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559

   2) การเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น (ผ้าทอ) โดยจะร่วมมือกับห้องเสื้อชั้นนำ ดีไซน์เนอร์ และมัณฑนากรชื่อดั

ในการนำผ้าทอมาสร้างสรรค์เสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ นำมาประยุกต์ให้มีความทันสมัย สวยงาม สร้างความหลากหลายของการนำมาใช้ประโยชน์ที่สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่อย่างตรงประเด็น ในส่วนนี้ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (ศ.ศ.ป.)จะเป็นผู้ดำเนินการ

   3) การจัดหาช่องทางการตลาดในการจำหน่ายสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ช่องทางหลัก ประกอบด้วย 3.1) จำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) เช่น Thaicommercestore.com, Thaitrade.com และร้านค้าออนไลน์ที่เป็นที่นิยม เป็นการร่วมมือกันระหว่าง กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและ                  กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ3.2) ดึงภาคเอกชนที่มีสถานที่จำหน่ายสินค้า เช่น สนามบิน ศูนย์การค้าชั้นนำ ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าส่งค้าปลีก และ Shop Channel มาเป็นจุดกระจายและจำหน่ายสินค้า

   4) การศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นระหว่างชุมชน เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือเกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม อันจะนำมาซึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และสามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่ไปยังชุมชนต่างๆ ได้ ดำเนินการโดย สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์และ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ

   โดยหลังจากดำเนินการตามกรอบการพัฒนาฯ ของโครงการฯ ดังกล่าวแล้ว กระทรวงฯ จะทำการประเมินผลโครงการฯ ที่ได้รับ นำผลการประเมินที่ได้มาทำการวิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็ง และปรับปรุงประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนอื่นๆ ในเฟสต่อไป

    ทั้งนี้ คาดว่า'ผ้าทอ'จะสามารถสร้างรายได้เข้าชุมชนและประเทศกว่า 58,000 ล้านบาท และเชื่อว่าหากความร่วมมือดังกล่าวประสบความสำเร็จ : ภาคเอกชนขับเคลื่อน ภาครัฐให้การสนับสนุน และภาคประชาชนลงมือปฏิบัติ เศรษฐกิจไทยต้องสามารถพัฒนาได้ไกลอย่างแน่นอน 

   ปัจจุบัน'เส้นทางสายผ้าทอ'หรือ'Weaving Street'ของกระทรวงพาณิชย์ ประกอบด้วย 7 เส้นทาง ครอบคลุมทั่วประเทศ คือ 1) เส้นทางภาคเหนือ 1 แม่ฮ่องสอน-เชียงใหม่-ลำพูน 2) เส้นทางภาคเหนือ 2 แพร่-อุตรดิตถ์-สุโขทัย 3) เส้นทางภาคกลาง อุทัยธานี-ชัยนาท-สุพรรณบุรี-กาญจนบุรี-ราชบุรี-เพชรบุรี 4) เส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 นครราชสีมา-บุรีรัมย์-สุรินทร์-อุบลราชธานี 5) เส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ขอนแก่น-กาฬสินธุ์-สกลนคร-นครพนม 6) เส้นทางภาคใต้ 1 สุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช-กระบี่-ตรัง และ 7) เส้นทางภาคใต้ 2 สงขลา-ปัตตานี-นราธิวาส

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!