WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCอภรด ตนตราภรณพาณิชย์ ปลื้มผลเยือนโอมานและอิหร่านสำเร็จเกินคาด ตั้งเป้าขยายการค้าและการลงทุนร่วมกัน

    นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลการนำภาคเอกชนเยือนรัฐสุลต่านโอมานและสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ภายใต้การนำคณะฝ่ายไทยของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 31 มกราคม 4 กุมภาพันธ์ 2559 ว่า ประสพผลสำเร็จอย่างยิ่ง โดยส่งผลให้เกิดการกระชับการค้า การลงทุน และความร่วมมือด้านต่างๆ ที่จะเกื้อกูลกันและกัน ทั้งในระดับรัฐบาลและเอกชน พร้อมตั้งเป้าการค้ากับโอมานให้ขยายตัวถึง 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในอีก 3 ปี ข้างหน้า สำหรับการค้ากับอิหร่านตั้งเป้าให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายใน 5 ปี โดยไทยสามารถเป็นประตูสู่ภูมิภาคอาเซียนและ RCEP และเป็นความมั่นคงด้านอาหารให้กับโอมานและอิหร่านได้ ในทางกลับกัน โอมานและอิหร่านสามารถเป็นประตูสู่ภูมิภาคตะวันออกกลาง CIS และแอฟริกาและความมั่นคงด้านพลังงานให้กับไทยได้

   1 โอมาน กระทรวงพาณิชย์สองฝ่ายได้ตั้งเป้าหมายการค้าให้ขยายตัวถึง 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในอีก 3 ปี ข้างหน้า และจะมีการตั้งคณะทำงานศึกษาความเป็นไปได้ในการทำ FTA ระหว่างไทย-GCC สำหรับการลงทุนที่เป็นโอกาสสำหรับไทยและโอมานที่จะพัฒนาร่วมกัน ได้แก่ ปิโตรเคมี ประมง อาหารทะเลแปรรูป อาหารฮาลาล การท่องเที่ยว บริการด้านสุขภาพ เป็นต้น นอกจากโอกาสในการเข้าไปลงทุนในแต่ละประเทศ ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องให้ร่วมมือกันไปขยายตลาดในประเทศที่สาม โดยใช้ Free Zone ของโอมาน และ SEZs ของไทยเป็นจุดกระจายการค้าและการลงทุน นอกจากนั้น โอมานให้ความสนใจในกองทุน Future Fund (Thailand’s Infrastructure Fund) ของไทยอีกด้วย

   กิจกรรมของภาคเอกชนในโอมาน กลุ่มธุรกิจกว่า 20 บริษัท จากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้พบปะหารือและทำความรู้จักกับสภาหอการค้าและการลงทุนของโอมาน โอมานให้ความสนใจในการทำการค้าและการลงทุนกับไทยนอกเหนือจากสาขาหลักด้านพลังงานแล้ว ยังสนใจให้ไทยไปลงทุนในภาคบริการ ด้านการท่องเที่ยว โรงแรม และการธนาคาร 

   2 อิหร่าน ไทยและอิหร่านได้ตั้งเป้าหมายทางการค้าร่วมกันไว้  3,000  ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายใน 5 ปี โดยรองนายกรัฐมนตรีจะร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย (นางอภิรดี ตันตราภรณ์) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เหมืองแร่ และการค้า ของอิหร่าน (Mr. Mohammad Reza Nematzadeh) ความตกลงทางการค้าไทย อิหร่าน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจการค้า รวมถึง การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee- JTC) ระหว่างไทยกับอิหร่าน เพื่อเป็นกลไกสำหรับหารือในประเด็นด้านเศรษฐกิจการค้า ลดปัญหาอุปสรรคระหว่างกัน โดยฝ่ายไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Joint Trade Committee ครั้งที่ 1 สำหรับประเด็นการจัดทำ Preferential Trade Agreement (PTA) เพื่อเปิดตลาดการค้ากับอิหร่าน สองฝ่ายเห็นพ้องให้เร่งหารือและมีข้อสรุปภายใน 3 เดือน

   ไทยและอิหร่านเห็นพ้องให้มีการกระชับการค้า การลงทุน และความร่วมมือด้านต่างๆ โดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรมที่จะเกื้อกูลกันและกัน อาทิ อาหารแปรรูป อาหารฮาลาล เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ดิจิทัล รวมถึงนาโนเทคโนโลยี ดิจิทัล ยาและเวชภัณฑ์ ตลอดจนการพัฒนา SMEs ร่วมกัน ทั้งนี้ ไทยมีโอกาสการขยายตลาดสินค้า  ฮาลาลในอิหร่าน เนื่องจากกว่าร้อยละ 70 ของประชาชนเป็นมุสลิม ในการนี้ ฝ่ายอิหร่านยินดีให้ความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลและถ่ายทอดมาตรฐานสินค้าอาหารฮาลาลให้กับไทย

    สำหรับการลงทุน อิหร่านสนับสนุนให้นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนใน Free Zone และ Special Economic Zone โดยจะได้รับการยกเว้นภาษีเป็นเวลา 25 ปี สามารถนำเข้าเครื่องจักรได้โดยไม่ต้องเสียภาษี และได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย ในขณะเดียวกัน นักลงทุนอิหร่านก็สามารถเข้ามาลงทุนใน SEZs ของไทย และขยายตลาดไปยังกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน โดยอิหร่านให้ความสนใจเข้ามาลงทุนใน SEZ ทางตอนใต้ เพื่อวางท่อส่งน้ำมันและก๊าซไปยังเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านของไทย

   การเยือนอิหร่านของรองนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ มีภาคเอกชนไทยรายใหญ่และนักธุรกิจที่สนใจตลาดอิหร่านร่วมเดินทางด้วยรวมทั้งสิ้น 81 บริษัท (รายใหญ่ 26 บริษัท และ SMEs 55 บริษัท) บริษัทรายใหญ่ อาทิ เครือสหพัฒนพิบูลย์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ น้ำตาลมิตรผล บริษัทศรีตรัง บริษัทวงศ์บัณฑิต และบริษัทไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ โดยรองนายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการเปิดงาน Business Forum และ Business Matching ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ประกอบการอิหร่าน โดยมีผู้เข้าร่วมงานจากภาคเอกชนของไทยและอิหร่าน ประมาณ 350 บริษัท (ณ กรุงเตหะราน 200 บริษัท และเมืองอิสฟาฮาน 150 บริษัท) ผลการเจรจาการค้าจาการเยือนครั้งนี้ มีมูลค่าสั่งซื้อขายกันไม่ต่ำกว่า 185 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 6,700 ล้านบาท  โดยเป็นการซื้อขายข้าวจํานวน 300,000 ตัน  (ประมาณ 119.4 ล้านเหรียญ) ยางพาราธรรมชาติจํานวน 20,000 ตัน ( 25 ล้านเหรียญ) และเป็นการขายสินค้าอื่นๆในกลุ่มสินค้าของใช้อุปโภคบริโภค อาทิ อาหาร แฟชั่น ของใช้ภายในบ้าน Health & beauty และกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมหนัก อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรกล มูลค่ารวมกันอีกไม่ตํ่ากว่า 40.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

   อิหร่านเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ มีประชากรกว่า 80  ล้านคน เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง และสามารถเป็นฐานกระจายสินค้าไปยังภูมิภาค CIS (ประชากร 100 กว่าล้านคน) ซึ่งไม่มีทางออกทะเล ปัจจุบัน การค้าระหว่างไทยกับอิหร่านยังมีมูลค่าน้อยอันเป็นผลมาจากการถูกคว่ำบาตรจากสหประชาชาติและประเทศมหาอำนาจ โดยในปี 2558 การค้าระหว่างกันมีมูลค่าเพียง 309.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับอิหร่านมูลค่า 125.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

รมว.อุตสากรรมฯศรีลังการ่วมหารือกับ รมว.พาณิชย์ไทย หวังดันมูลค่าการค้าของสองประเทศแตะ1 พันล้านเหรียญฯภายในปีนี้

       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศศรีลังกาเข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ เมื่อ ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เนื่องในโอกาสการเยือนประเทศไทย และได้ร่วมหารือเพื่อเตรียมการเยือนศรีลังกาของรองนายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และหารือในประเด็นการขยายมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศ   

  นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ไทยรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ประธานาธิบดีศรีลังกาได้เยือนไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ รัฐบาลไทยให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว โดยรองนายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มีกำหนดจะเยือนศรีลังกา ระหว่างวันที่ 912 มีนาคม 2559 พร้อมด้วยรัฐมนตรีเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกัน โดยจะมีกิจกรรมต่างๆ ช่วงการเยือน อาทิ การหารือผู้แทนระดับสูงของรัฐบาล การจัด Business Forum การจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) เป็นต้น โดยไทยและศรีลังกามีศักยภาพที่สามารถขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกันในสาขาต่างๆ ได้ อาทิ ด้านอัญมณีและเครื่องประดับ ด้านการประมง ด้านยาและเวชภัณฑ์ ด้านอุตสาหกรรมเกษตร และด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น

  ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์จะผลักดันให้มีการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการค้า (Sub – Committee on Trade Related Matters) ไทย ศรีลังกา ครั้งที่ 2 โดยมีอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นผู้นำคณะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว เพื่อเป็นช่องทางการแสวงหาโอกาสการค้าและการลงทุนระหว่างกัน และเป็นการหารือในประเด็นการค้าและการลงทุน เพื่อหาแนวทางการส่งเสริม ให้มูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศสามารถบรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ที่ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2559

    ศรีลังกาเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 4 ของไทยในภูมิภาคเอเชียใต้ ในขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าอันที่ 4 ของศรีลังกาในภูมิภาคอาเซียน (รองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) การค้าระหว่างไทยและศรีลังกาในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2554-2558) มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 521.26 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปี 2558 การค้ารวมมีมูลค่า 488.06 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.12 ของการค้าทั้งหมดของไทย โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 380.02 ล้านเหรียญสหรัฐ

   สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปศรีลังกา ได้แก่ ผ้าผืน ปลาแห้ง รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำตาลทราย เม็ดพลาสติก ยางพารา เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น

  สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องประดับอัญมณี ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เครื่องจักรไฟฟ้า กาแฟ ชา เครื่องเทศ เคมีภัณฑ์ เป็นต้น

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

                                

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!