WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOC Somkiatพาณิชย์ เผยเงินเฟ้อทั่วไป ม.ค.59 อยู่ที่ - 0.53% แต่คาดกลับมาบวกใน Q2 พร้อมคงคาดการณ์เงินเฟ้อปี 59 ที่ 1-2% บนฐานจีดีพีโต 3-4%

      พาณิชย์ เผยเงินเฟ้อทั่วไป ม.ค.59 อยู่ที่ - 0.53% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.59% หลังราคาน้ำมันลดลงต่อเนื่อง แต่มั่นใจเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้ จะกลับมาเป็นบวกใน Q2/59 พร้อมคงคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปี อยู่ที่ 1-2% บนสมมติฐานจีดีพีโต 3-4% โดยราคาน้ำมันจะเป็นตัวแปรสำคัญ  ขณะที่แย้มอาจปรับลดคาดการณ์เงินเฟ้อปี 59 วันที่ 1 มี.ค.นี้ หลังน้ำมันดิ่งลงเกินคาด

      นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภค ประจำเดือนมกราคม 2559 ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของเดือนมกราคม 2559 เท่ากับ 105.46 ลดลง 0.53% ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.59% โดยสาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อยังติดลบ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร เนื่องจากการปรับราคาลงของน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ ได้แก่ แก๊สโซฮอล์ 91 95 น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน 95

    นอกจากนี้ ยังมีการปรับลดลงของค่าโดยสารรถประจำทาง ค่าโดยสารเรือ ค่าธรรมเนียมผ่านทางพิเศษ ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เป็นต้น

      ขณะที่ในส่วนของสินค้าและบริการอื่นๆ เพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น อาหารสด ของใช้ในบ้าน และค่าของใช้ส่วนบุคคลราคาปรับสูงขึ้นเล็กน้อยตามภาวะอุปสงค์และอุปทานของตลาด อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของสินค้าและบริการข้างต้นตต่ออัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงและน้อยกว่าผลกระทบของราคาพลังงาน ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมกราคม 2559 ยังคงติดลบต่อเนื่อง

   เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม อัตราเงินเฟ้อติดลบ 0.26% โดยมีสาเหตุสำคัญจากการปรับลดของกลุ่มอาหารสดและพลังงาน เช่น ผักและผลไม้ลบ 1.69% ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลบ 3.92% ค่ากระแสไฟฟ้า -0.73% เนื่องจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กพพ. ได้มีมติปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือ เอฟที ในรอบเดือนมกราคม-เมษายน 2559 ให้ลดลงเท่ากับ 4.80 สตางค์ต่อหน่วยนายสมเกียรติ กล่าว

       อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 0% นั้น สะท้อนว่าผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าบริการจำนวนเท่าเดิมได้ในราคาที่ต่ำลง ขณะเดียวกันผลกระทบของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแก่ครัวเรือนนั้น ขึ้นอยู่กับรสนิยมและประเภทของสินค้าและบริการที่แต่ละครัวเรือนใช้สอย

    นายสมเกียรติ กล่าวว่า ส่วนแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้ คาดว่าจะสามารถกลับมาอยู่ในแดนบวกได้ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ แต่ทั้งนี้คงต้องจับตาราคาน้ำมันในตลาดโลกว่าจะมีทิศทางเป็นอย่างไร โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ คือ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจากปัญหาอุปทานส่วนเกิน อัตราค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ เอฟที ที่ปรับลดลงตามต้นทุนก๊าซธรรมชาติในตลาดโลก ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้ปรับลดราคาสินค้าลงตามต้นทุนน้ำมัน และค่าขนส่ง โดยในขณะนี้มีผู้ประกอบการลดราคาสินค้าใน 9 หมวดรายการสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น นมผง ข้าวสาร ปูนซีเมนต์ และเหล็กเส้น

     สำหรับ คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2559 คาดอยู่ที่ 1-2% โดยมีสมมติฐานหลัก คือ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ที่ขยายตัวได้ 3-4% ราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ระหว่างที่ 48-54 ดอลลาร์ต่อบาเรล และอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ระหว่างที่ 36-38 บาทต่อดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ยอมรับในขณะนี้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงปรับลดลงต่อเนื่อง แต่ในส่วนของประมาณการเงินเฟ้อนั้นจะมีการปรับอีกหรือไม่นั้นให้ติดตามการแถลงในวันที่ 1 มีนาคมนี้

   มีคนมองว่าตอนนี้ราคาน้ำมันจะลดลงไปอยู่ที่ 20 ดอลลาร์ต่อบาเรล ซึ่งหากลงไปเท่านั้นจริงๆ ถือว่า ค่อนข้างแย่ เนื่องจากเวลานั้นมันคงสะท้อนว่าเศรษฐกิจโลกแย่จริงๆ ส่วนเราจะปรับการคาดการณ์ไหมต้องรอวันที่ 1 มีนาคมนี้ ซึ่งตอนนี้ยังคงตอบไม่ได้ แต่ก็ยอมรับว่า ราคาน้ำมันมีการปรับลดลงไปแบบผิดความคาดหมายเหมือนกันนายสมเกียรติ กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

พาณิชย์ เผย ม.ค.59 CPI ติดลบ -0.53% ขณะที่ Core CPI โต 0.59%

   กระทรวงพาณิชย์ แถลงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือน ม.ค.59 อยู่ที่ 105.46 หดตัว -0.53% เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.58 และหากเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ธ.ค.58) หดตัว -0.26% ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ในเดือน ม.ค.59 อยู่ที่ 106.18 ขยายตัว 0.59 % เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.58 และขยายตัว 0.07 % เมื่อเทียบกับ ธ.ค.58

    "ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมกราคมปี 2559 ยังคงทรงตัวจากช่วงไตรมาสที่ 4/2558 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ากว่า 0% ทั้งนี้แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงนั้นได้รับผลกระทบจากสินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร เนื่องจากการปรับราคาลงของน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ ได้แก่ แก๊สโซฮอล์ 91 95 น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน 95 ในส่วนของสินค้าและบริการอื่นๆ เพื่อการอุปโภคและบริโภคอาทิ อาหารสด ของใช้ภายในบ้าน และค่าของใช้ส่วนบุคคลราคาปรับสูงขึ้นเล็กน้อยตามภาวะอุปสงค์และอุปทานของตลาด" นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ กล่าว

     สำหรับ ดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มในเดือน ม.ค.59 อยู่ที่ 113.95 เพิ่มขึ้น 0.81 % เมื่อเทียบกับ ม.ค.58 แต่หดตัว -0.16% เมื่อเทียบกับ ธ.ค.58 ส่วนดัชนีราคาสินค้าที่ไม่ใช่หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์อยู่ที่ 100.93 หดตัว -1.25% จากเดือน ม.ค.58 และหดตัว -0.31% จากเดือน ธ.ค.58

   ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กล่าวว่า ผลกระทบของสินค้าและบริการข้างต้นต่ออัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงและน้อยกว่าผลกระทบของราคาพลังงาน ท่าให้อัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค.59 ยังคงติดลบต่อเนื่อง และเมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.58 ยังคงได้รับแรงกดดันจากสินค้าและบริการในหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร เป็นหลักส่งผลกระทบ

    ในทางลบต่ออัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ย -0.93% แต่เมื่อเทียบเดือน ธ.ค.58 อัตราเงินเฟ้อมีค่าเท่ากับ -0.26 (MoM) โดยมีสาเหตุสำคัญจากการปรับลดราคาลงของกลุ่มอาหารสดและพลังงาน อาทิ ผักและผลไม้ (-1.69%), ราคาน้ามันเชื้อเพลิงในประเทศ (-3.925), ค่ากระแสไฟฟ้า (-0.73%) เนื่องจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติปรับอัตราค่าไฟฟ้า โดยอัตโนมัติ (FT) ในรอบเดือน ม.ค.-เม.ย.59 ให้ลดลงเท่ากับ 4.80 สตางค์ต่อหน่วย

    ทั้งนี้ คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 59 อยู่ระหว่าง 1-2% ภายใต้สมมติฐานหลัก คือ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) อยู่ที่ 3.0-4.0%, ราคาน้ามันดิบดูไบอยู่ระหว่าง 48-54 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล, อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ระหว่าง 36-38 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

 อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!