WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCฉตรชย สารกลยฉัตรชัย' ยอมรับซื้อยางไม่คึกคัก ชี้ราคาในตลาดปรับตัวสูงขึ้น

    รมว.เกษตร แจง ความคืบหน้ารับซื้อยาง เผย รับซื้อยางแล้ว 141.63 ตัน ชี้ ไม่คึกคักเหตุราคาในตลาดปรับขึ้น-เกษตรกรกังวลเรื่องคุณภาพ พร้อม สั่ง กยท. เพิ่มจุดรับซื้อยางเพิ่มเติม ป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบการ ใช้ชาวสวนยางเป็นเครื่องมือหาผลประโยชน์...

       พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เผยความคืบหน้าการรับซื้อยางพารา ตามนโยบายรัฐบาลว่า หลังจากการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เริ่มดำเนินการเปิดจุดรับซื้อยางจำนวน 834 แห่งทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค. ที่ผ่านมา ตามโครงการส่งเสริมการใช้งานในหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ ประกอบด้วย ยางแผ่นดิบชั้นสาม 45 บาท/กก. ยางก้อนถ้วย 42 บาท/กก. น้ำยางดิบ 41 บาท/กก. พบว่า มีการรับซื้อยางแล้วจำนวน 141.63 ตัน จากเกษตรกรจำนวน 1,429 ราย แบ่งเป็น ยางแผ่นดิบจำนวน 84.27 ตัน น้ำยางสดจำนวน 10.80 ตัน ยางก้อนถ้วยจำนวน 47.29 ตัน

        รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สาเหตุที่เกษตรกรเข้าร่วมโครงการน้อย เนื่องจากราคายางพาราในท้องถิ่นปรับตัวสูงขึ้น อยู่ที่ประมาณ 42 บาท/กก. (ยางแผ่นดิบชั้นสาม) บางพื้นที่ปิดกรีดยางแล้ว เกษตรกรมีความกังวลในเรื่องคุณภาพของยางว่าจะไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่โครงการกำหนด แต่ก็ยังมีความต้องการยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร บางพื้นที่อากาศแปรปรวนฝนตก การรับเงินผ่าน ธ.ก.ส. ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 วัน

       ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้สั่งการและย้ำให้การดำเนินงานทุกขั้นตอนเกิดความโปร่งใส เกิดประโยชน์กับเกษตรกรอย่างเต็มที่ หากเปิดช่องที่มีโอกาสทุจริต เชื่อมั่นว่าเกษตรกรจะเสียประโยชน์จากการสวมสิทธิ์ ผลที่ตามมาเกษตรกรถูกเอารัดเอาเปรียบต่อไป ขอให้เชื่อมั่น หากพบเห็นทุจริตขอให้แจ้งมายังกระทรวงเกษตรฯ จะยินดีเป็นอย่างยิ่ง โดย กยท. ได้ตั้งศูนย์ประสานงานจุดรับซื้อยาง โครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดเตรียมสถานที่รับซื้อ และจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่รับซื้อยางให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย คือ เกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. เท่านั้น และป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบการใช้ชาวสวนยางเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์

      ส่วนความคืบหน้าผลการจ่ายเงินให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง เจ้าของสวนยางจำนวน 42,770 ครัวเรือน จำนวนเงิน 359,072,775 บาท คนกรีดยางจำนวน 40,856 ครัวเรือน จำนวนเงิน 226,763,100 บาท รวมทั้งสิ้นจำนวน 83,626 ครัวเรือน จำนวนเงิน 585,835,875 บาท จากข้อมูลการรับแจ้งเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 350,882 ครัวเรือน บันทึกข้อมูลลงในระบบแล้วจำนวน 150,882 ครัวเรือน อยู่ระหว่างตรวจสอบความถูกต้องและบันทึกข้อมูลลงในระบบจำนวน 200,000 ครัวเรือน.

                        ที่มา : www.thairath.co.th

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!