WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCมาล โชคลำเลศก.พาณิชย์ เผยส่งออกผลไม้-ผักปี 58 มูลค่าทะลุเป้ากว่า 3.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปริมาณกว่า 3 ล้านตัน

    ก.พาณิชย์ เผยส่งออกผลไม้-ผักปี 58 ทั้งสับปะรดกระป๋อง-ทุเรียน-ลำไยแชมป์ มูลค่าทะลุเป้ากว่า 3.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปริมาณกว่า 3 ล้านตัน งัดกลยุทธ์วางแผนการผลิต เน้นการสร้างแบรนด์-พัฒนาบรรจุภัณฑ์-เพิ่มช่องทางตลาด

 นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการส่งออกผลไม้ ผักสด แช่เย็นและแปรรูปปี 2558 ว่า มีมูลค่ารวม 3,756 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ เพิ่มขึ้น 4.4 % แบ่งเป็นการส่งออกผลไม้ ผักกระป๋อง และแปรรูปมูลค่ากว่า 2,209 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นกว่า 5.5 %) ปริมาณทั้งสิ้น 1,600,329 ตัน มีตลาดหลักที่จีน เวียดนาม ฮ่องกง ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ตามลำดับ ตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูง ได้แก่ ลาว 166% พม่า 66% และอิหร่าน 63% โดยสับปะรดกระป๋องส่งออกกว่า 556 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นกว่า 11%  รองลงมาเป็นน้ำผลไม้ ข้าวโพดหวาน น้ำสับปะรด

  ส่วนการส่งออกผลไม้ ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้งปี 2558 มีมูลค่ารวม 1,547 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 3.3%) มีปริมาณทั้งสิ้น 1,579,539 ตัน ตลาดหลัก คือ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักรตามลำดับ ตลาดอื่นที่มีอัตราการขยายตัวสูง ได้แก่ กัมพูชา 34% และ ซาอุดิอาระเบีย 19% โดยสินค้ากลุ่มนี้มีการส่งออกทุเรียนเป็นอันดับ 1 มีมูลค่ากว่า 397 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.5% รองลงมาเป็นลำไย มังคุด ลำไยอบแห้ง พืชผักตระกูลถั่วแช่แข็ง เป็นต้น

  "ผลไม้และผักของไทยมีจุดแข็งในเรื่องรสชาติเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ผลผลิตหลากหลายและต่อเนื่องตลอดปี อีกทั้งไทยมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตผักผลไม้ที่มีประสิทธิภาพ โรงงานผลิตได้ตามมาตรฐานสากล และปีนี้ไทยได้วางกลยุทธ์ ได้แก่ การสนับสนุนการพัฒนาระบบการผลิตและระบบควบคุมคุณภาพ การสร้างแบรนด์ของผลไม้ โดยเน้นเอกลักษณ์ด้านคุณค่าและสายพันธุ์ที่โดดเด่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถยืดอายุของผลผลิตให้เหมาะสมกับตลาด การติดฉลากเพื่อระบุคุณค่าทางโภชนาการ ระยะเวลาในการรับประทาน และการเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสม เป็นต้นอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกล่าว

 นอกจากนี้ต้องวางแผนการผลิตล่วงหน้าก่อนฤดูกาลผลผลิตออกสู่ตลาด การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยเน้นการสร้าง Brand และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เร่งผลักดันการส่งออกผักผลไม้กระป๋องผ่านช่องทางตลาดศักยภาพอื่นๆ โดยเฉพาะตลาดที่มีการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี และควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้าตามหลักเกณฑ์/มาตรฐานประเทศ ผู้นำเข้า

 นางมาลี กล่าวอีกว่า ปัญหาและอุปสรรคที่มีอยู่กรมฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งดำเนินการให้คลี่คลายโดยเร็ว เช่น การใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี (NTBs) ของประเทศคู่ค้า อาทิ จีนและฮ่องกงเพิ่มความเข้มงวดในการสุ่มตรวจทุเรียนจากไทย อินโดนีเซียกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องยื่นขอใบอนุญาตนำเข้า (Import Recommendation- RIPH) เพื่อขออนุญาตนำเข้าสินค้าพืชสวน ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป(อียู) เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจ GMO ในผลิตภัณฑ์มะละกอ เป็นต้น

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!