WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOC Somkiatพาณิชย์ เผย ธ.ค.ส่งออกหด -8.73% นำเข้าหด -9.23% เกินดุล 1,487 ล้านดอลล์

     นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศในเดือน ธ.ค.58 ระบุว่า การส่งออกมีมูลค่า 17,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ติดลบ 8.73% ขณะที่นำเข้ามีมูลค่า 15,613 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ติดลบ 9.23% ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือน ธ.ค.58 เกินดุล 1,487 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

      โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตรหดตัวตามราคาสินค้าเกษตรโลก โดยภาพรวมเดือน ธ.ค.58 ลดลง -9.8% และทั้งปี 2558 ลดลง -7.4% ตามทิศทางของราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือน ธ.ค.58 ยางพาราหดตัวถึง -25.2% เช่นเดียวกับอาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ข้าว และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ที่หดตัวสูงถึง -10.9% -22.5% และ -25.2% ตามลำดับ ถึงแม้ปริมาณส่งออกสินค้าเหล่านี้ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยราคาที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้มูลค่าการส่งออกหดตัวลงมาก ขณะที่ผลไม้สด แช่แข็ง และแห้ง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เครื่องดื่ม และไก่แปรรูป ยังคงขยายตัวสูงขึ้น 68.7% 20.7% 10.1% และ 4.8% ตามลำดับ

    ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหดตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมัน โดยภาพรวมเดือน ธ.ค.58 ลดลง -6.7% และทั้งปี 2558 ลดลง -4.0% ปัจจัยหลักยังคงมาจากการหดตัวของมูลค่าส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันดิบหรืออุตสาหกรรมที่มีโครงสร้างการใช้วัตถุดิบซึ่งมาจากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก หดตัวสูงต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า ตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว และมีแนวโน้มลดต่ำลงมากต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า รวมทั้งการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญอย่างทองคำกลับหดตัวครั้งแรกในรอบ 5 เดือนที่ -34.8% จากปัจจัยด้านราคาทองคำในตลาดโลกที่เริ่มชะลอตัวลง

      นอกจากนี้ มูลค่าส่งออกกลุ่มรถยนต์และส่วนประกอบ สินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทยกลับมาหดตัวเล็กน้อยในเดือน ธ.ค.58 ที่ -0.6% เนื่องจากได้เร่งการส่งออกไปในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ดีภาพรวมการส่งออกกลุ่มรถยนต์และส่วนประกอบปี 58 สามารถขยายตัวได้ดีที่ 4.3% มีจำนวนรถยนต์ที่ส่งออก 1,204,895 คัน ซึ่งเป็นไปตามจำนวนเป้าหมายที่ 1.2 ล้านคัน ส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ มูลค่าส่งออกของไทยชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก

     ทั้งนี้ ส่งผลให้ปี 58 มีการส่งออกลดลง 5.78% มูลค่า 214,375 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่การนำเข้าลดลง 11.02% มีมูลค่า 202,654 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าของปี 58 เกินดุล 11,721 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

      สำหรับ ปัจจัยที่มีผลกระทบให้การส่งออกของไทยปี 58 หดตัวต่อเนื่อง เป็นปัจจัยภายนอกที่สำคัญ ได้แก่

     1.ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและตลาดคู่ค้าหลักในปัจจุบันที่ชะลอตัว โดยเฉพาะสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ส่งผลให้การนำเข้าของเกือบทุกประเทศทั่วโลกยังคงหดตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถิติการนำเข้าล่าสุดถึงเดือน พ.ย.58 ของประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ ญี่ปุ่น (-20.3%) จีน (-18.8%) เกาหลีใต้ (-16.7%) ฝรั่งเศส (-16.0%) สหราชอาณาจักร (-8.9%) สหรัฐฯ (-4.2%)

      2.ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง และไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัว โดยในเดือน พ.ย.58 ราคาน้ำมันดิบดูไบลดลงถึง -42.5% ขณะที่ทั้งปี 58 ลดลง -47.0% ส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก ยังคงมีทิศทางลดลงอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มลดลงไปจนถึงปีหน้า

       3.ราคาสินค้าเกษตรโลกปรับตัวลดลงมาก โดยเฉพาะทั้งปี 58 ราคาข้าวลดลง -10.9% ยางพาราลดลง -20.3% และน้ำตาลลดลง -7.2% ส่งผลให้แม้ว่าไทยจะส่งออกในปริมาณไม่ต่ำกว่าเดิม  แต่มูลค่าส่งออกลดลงมาก

      4.การใช้มาตรการลดค่าเงินของประเทศคู่ค้าสำคัญ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และการส่งออก โดยข้อมูลล่าสุดของค่าเงินสกุลต่างๆ ในเดือน ม.ค.59 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์ของออสเตรเลียอ่อนค่าลง 10.7% เมื่อเทียบกับเหรียญสหรัฐฯ ค่าเงินริงกิตของมาเลเซียลดลง 18.3% ขณะที่ค่าเงินบาทไทยอ่อนค่าลง 10.7% ซึ่งอ่อนค่าใกล้เคียงหรือน้อยกว่าสกุลอื่น ทำให้สินค้าไทยมีราคาแพงเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าของคู่แข่ง ทำให้ความต้องการซื้อสินค้าไทยลดลง ทำให้แม้ว่าค่าเงินบาทไทยจะเริ่มอ่อนตัวอย่างต่อเนื่องในระยะที่ผ่านมา จนปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 36.0 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ (22 ม.ค.59) แต่ก็ยังหนุนมูลค่าการส่งออกได้ไม่มากนัก

    นายสมเกียรติ กล่าวถึงสาเหตุที่การส่งออกปี 58 หดตัว 5.78% ว่า มีสาเหตุสำคัญจากเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัว รวมทั้งราคาน้ำมันที่ลดลงกระทบต่อมูลค่าการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อีกทั้งยังกดดันให้สินค้าเกษตรอยู่ในระดับต่ำ แต่อย่างไรก็ดีในปี 58 ไทยสามารถกลับมาเกินดุลการค้าได้สูงสุดในรอบกว่า 6 ปี

    ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญของไทยส่วนใหญ่ยังมีสถานการณ์การส่งออกที่ดีกว่าโลก รวมทั้งมีแนวโน้มส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นในเกือบทุกสินค้าส่งออกสำคัญ จากการเปรียบเทียบข้อมูลล่าสุดช่วง 6 เดือนแรกของปี 58 จำนวน 81 ประเทศทั่วโลกที่มีการรายงานมูลค่าการส่งออก พบว่ามูลค่าการส่งออกโลกช่วง ม.ค.-มิ.ย.58 หดตัวอยู่ที่ -11.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การส่งออกของไทยในระยะเดียวกันหดตัวอยู่ที่ -5.7% ซึ่งสะท้อนว่าโดยเปรียบเทียบแล้วสถานการณ์ส่งออกของไทยยังดีกว่าสถานการณ์ส่งออกโลก รวมทั้งส่วนแบ่งตลาดของไทยยังมีแนวโน้มสูงขึ้นจาก 1.40% ในปี 57 เพิ่มขึ้นเป็น 1.48% ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 58

     "การส่งออกของไทยยังมีสถานการณ์ที่ดีกว่าประเทศอื่นๆ มาก ในภาวะที่การค้าทั่วโลกชะลอตัวจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้าและปัจจัยราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกหดตัวสูง โดย IMF คาดการณ์ว่ามูลค่าการส่งออกของโลกทั้งปี 2558 จะหดตัวถึง -11.17% ซึ่งการส่งออกของไทยยังหดตัวน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของโลก สำหรับข้อมูลการนำเข้าของตลาดล่าสุดแสดงว่าไทยยังคงรักษาส่วนแบ่งตลาด (Market Share) ในตลาดและสินค้าส่งออกสำคัญไว้ได้ สะท้อนให้เห็นว่าความสามารถทางการแข่งขันของไทยไม่ได้ลดลงตามมูลค่าส่งออก อีกทั้งรายได้จากการส่งออกของไทยในรูปเงินบาทหดตัวไม่มากนัก นอกจากนี้มูลค่าการนำเข้าลดลงตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกซึ่งเป็นสินค้านำเข้าสำคัญอันดับ 1 ของไทย ส่งผลให้ปี 2558 ไทยกลับมาเกินดุลการค้าสูงสุดในรอบกว่า 6 ปี" นายสมเกียรติ กล่าว

    ทั้งนี้ ไทยยังคงรักษาส่วนแบ่งตลาด (Market Share) ในประเทศคู่ค้าสำคัญไว้ได้ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป (27) จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน อินเดีย และออสเตรเลีย เป็นต้น และส่วนแบ่งตลาดในปี 2558 ของไทยในประเทศคู่ค้าสำคัญมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นกว่าปี 57

     สำหรับ ตลาดส่งออกกลุ่ม CLMV ยังคงขยายตัวต่อเนื่องทั้งปี เช่นเดียวกับสหภาพยุโรป (15) ที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งในสิ้นปีนี้ ขณะที่คู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ยังคงหดตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก และอาเซียน (5) หดตัวจากปัจจัยสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันในเดือน ธ.ค.58 โดยยังคงมีอัตราการขยายตัวต่อเนื่อง 7.4% โดยกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ยังขยายตัวสูงต่อเนื่องจากการค้าชายแดนเป็นสำคัญ โดยสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวสูงขึ้น ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องดื่ม น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำตาลทราย เป็นต้น เช่นเดียวกับสหภาพยุโรป (15) ที่เดือนนี้ขยายตัวที่ 2.3% จากการขยายตัวของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล และไก่แปรรูป เป็นต้น ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกาหดตัว -7.2% จากการหดตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป  เครื่องนุ่งห่ม อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น เช่นเดียวกับตลาดหลักอย่าง จีน ญี่ปุ่น และอาเซียน (9) ที่ลดลง -9.5% -9.8% และ -6.3% ตามลำดับ

     นายสมเกียรติ กล่าวว่า แม้การส่งออกของไทยในปี 58 จะติดลบ 5.78% แต่การส่งออกของไทยยังติดลบน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ที่เฉลี่ยแล้วติดลบมากกว่า 10% ขณะเดียวกันไทยยังรักษาส่วนแบ่งตลาดในประเทศคู่ค้าสำคัญไว้ได้ดี ทั้งสหรัฐ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป โดยส่วนแบ่งตลาดสินค้าของไทยในประเทศคู่ค้าสำคัญมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นกว่าปี 57 และการส่งออกสินค้าสำคัญของไทยส่วนใหญ่ยังมีสถานการณ์การส่งออกที่ดีกว่าหลายประเทศอื่น รวมทั้งมีแนวโน้มส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นในเกือบทุกสินค้าส่งออกด้วย

   อย่างไรก็ดี จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์พบว่า การส่งออกของไทยในปี 58 ที่ติดลบ 5.78% นั้น เป็นการติดลบต่อเนื่องเป็นที่ 3 และติดลบมากสุดในรอบ 6 ปี นับตั้งแต่ปี 52 ที่การส่งออกของไทยติดลบถึง 14.3%

    นายสมเกียรติ คาดว่า การส่งออกของไทยในเดือน ม.ค.59 จะสามารถกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ ถ้าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกไม่ปรับตัวลดลงไปต่ำกว่าระดับในปัจจุบัน ซึ่งจะมีโอกาสให้การส่งออกในเดือน ม.ค.59 มีมูลค่าประมาณ 18,000 ล้านดอลลาร์ได้ และแนวโน้มการส่งออกในไตรมาสแรกของปีนี้ก็ยังมีแนวโน้มเป็นบวกได้เช่นกัน

    "ถ้าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น ก็มีแนวโน้มที่การส่งออกในไตรมาสแรกปีนี้จะกลับมาเป็นบวกได้" นายสมเกียรติ กล่าว

    พร้อมระบุว่า กระทรวงพาณิชย์จะพยายามผลักดันการส่งออกของไทยในปีนี้ให้ขยายตัวได้ 5% ตามเป้าหมายที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ไดัมอบนโยบายไว้

   ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะมีผลต่อการส่งออกของไทยในปีนี้ คือ ปัจจัยเรื่องราคาน้ำมัน, ภาวะเศรษฐกิจโลก, การดำเนินนโยบายทางการเงินของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีผลต่อค่าเงินบาทของไทยด้วย อย่างไรก็ดี หากราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นก็จะส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน รวมทั้งสินค้าเกษตร และยานยนต์

                อินโฟเควสท์

พาณิชย์ เผยส่งออกเดือนธ.ค. -8.73% ลดลงเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน ส่วนปี 58 ส่งออก -5.78% หลังศก.โลก - น้ำมัน- สินค้าเกษตรทรุด

    กระทรวงพาณิชย์ เผยตัวเลขการส่งออกของไทย ในเดือนธ.ค. 58 มีมูลค่า 1.71 หมื่นล้านเหรียญ  ลดลง 8.73% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่ง ลดลงเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน ส่วนการนำเข้าลดลง9.23% ทำดุลการค้าเกินดุล 1.49 พันล้านเหรียญ หลังศก.โลกที่ยังไม่ฟื้นตัว - ราคาน้ำมันทรุด ที่ลด  ราคาสินค้าเกษตรอยู่ในระดับต่ำ ส่วนปี 58 ส่งออกหดตัวลง 5.78%  ขณะที่นำเข้าลดลง 11.02% ดุลการค้าเกินดุล 1.17 หมื่นล้านเหรียญ

  สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผ่านเอกสารเผยแพร่ว่า  ภาพรวมมูลค่าการส่งออกของไทยปี 2558 หดตัวที่ร้อยละ -5.78 โดยมีสาเหตุสำคัญจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว รวมทั้งราคาน้ำมันที่ลดลงกระทบมูลค่าส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันอีกทั้งยังกดดันให้ราคาสินค้าเกษตรโลกอยู่ในระดับต่ำ แต่อย่างไรก็ดีการส่งออกของไทยยังมีสถานการณ์ที่ดีกว่าประเทศอื่นๆ มาก ในภาวะที่การค้าทั่วโลกชะลอตัวจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้าและปัจจัยราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกหดตัวสูง โดย IMF คาดการณ์ว่ามูลค่าการส่งออกของโลกทั้งปี 2558 จะหดตัวถึงร้อยละ-11.17 ซึ่งการส่งออกของไทยยังหดตัวน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของโลก สำหรับข้อมูลการนำเข้าของตลาดล่าสุดแสดงว่าไทยยังคงรักษาส่วนแบ่งตลาด (Market Share) ในตลาดและสินค้าส่งออกสำคัญไว้ได้ สะท้อนให้เห็นว่าความสามารถทางการแข่งขันของไทยไม่ได้ลดลงตามมูลค่าส่งออก อีกทั้งรายได้จากการส่งออกของไทยในรูปเงินบาทหดตัวไม่มากนัก นอกจากนี้มูลค่าการนำเข้าลดลงตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกซึ่งเป็นสินค้านำเข้าสำคัญอันดับ 1 ของไทย ส่งผลให้ปี 2558 ไทยกลับมาเกินดุลการค้าสูงสุดในรอบกว่า 6 ปี

                ธ.ค.-58                   ม.ค. ธ.ค. 58       

                มูลค่า      Growth (%YoY)    มูลค่า      Growth (%AoA)

                (ล้านเหรียญฯ)                       (ล้านเหรียญฯ)      

มูลค่าการค้า          32,713   -8.97       417,029 -8.4

ส่งออก    17,100   -8.73       214,375 -5.78

นำเข้า     15,613   -9.23       202,654 -11.02

ดุลการค้า               1,487                      11,721  

โดยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศในรูปของเงินบาท การส่งออกเดือนธันวาคม 2558 มีมูลค่า 609,371 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -0.13 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) และทั้งปี 2558 มีมูลค่า 7,227,927 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -1.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (YoY) ในขณะที่การนำเข้าเดือนธันวาคม 2558 มีมูลค่า 562,810 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -0.70 (YoY) และทั้งปี 2558 มีมูลค่า 6,906,118 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -6.72 (YoY) ส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศเดือนธันวาคม 2558 เกินดุล 46,562 ล้านบาท และทั้งปี 2558 เกินดุล 321,810 ล้านบาท

 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศในรูปของเงินเหรียญสหรัฐฯ การส่งออกเดือนธันวาคม 2558 มีมูลค่า 17,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -8.73 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) และทั้งปี 2558มีมูลค่า 214,375 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -5.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (YoY) ในขณะที่การนำเข้าเดือนธันวาคม 2558 มีมูลค่า 15,613 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -9.23 (YoY) และทั้งปี 2558 มีมูลค่า 202,654 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -11.02 (YoY) ส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศเดือนธันวาคม 2558 เกินดุล 1,487 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ทั้งปี 2558 เกินดุล 11,721 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตรหดตัวตามราคาสินค้าเกษตรโลก โดยภาพรวมเดือนธันวาคม 2558 ลดลงร้อยละ -9.8 (YoY) และทั้งปี 2558 ลดลงร้อยละ -7.4 (YoY) ตามทิศทางของราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนธันวาคม 2558 นี้ ยางพาราหดตัวถึงร้อยละ –25.2 (YoY) เช่นเดียวกับ อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ข้าว และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ที่หดตัวสูงถึงร้อยละ -10.9 -22.5 และ -25.2 (YoY) ตามลำดับ ซึ่งถึงแม้ปริมาณส่งออกสินค้าเหล่านี้ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยราคาที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้มูลค่าการส่งออกหดตัวลงมาก ในขณะที่ ผลไม้สด แช่แข็ง และแห้ง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เครื่องดื่ม และไก่แปรรูป ยังคงขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 68.7 20.7 10.1 และ 4.8 (YoY) ตามลำดับ

  มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมัน โดยภาพรวมเดือนธันวาคม 2558 ลดลงร้อยละ -6.7 (YoY) และทั้งปี 2558 ลดลงร้อยละ -4.0 (YoY)  ปัจจัยหลักยังคงมาจากการหดตัวของมูลค่าส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันดิบหรืออุตสาหกรรมที่มีโครงสร้างการใช้วัตถุดิบซึ่งมาจากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก หดตัวสูงต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า ตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว และมีแนวโน้มลดต่ำลงมากต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า รวมทั้งการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญอย่างทองคำ กลับหดตัวครั้งแรกในรอบ 5 เดือนที่ร้อยละ -34.8 (YoY) จากปัจจัยด้านราคาทองคำในตลาดโลกที่เริ่มชะลอตัวลง นอกจากนี้มูลค่าส่งออกกลุ่มรถยนต์และส่วนประกอบ สินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทยกลับมาหดตัวเล็กน้อยในเดือนธันวาคม 2558 ที่ร้อยละ -0.6 (YoY) เนื่องจากได้เร่งการส่งออกไปในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ดีภาพรวมการส่งออกกลุ่มรถยนต์และส่วนประกอบปี 2558 สามารถขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 4.3 (YoY) มีจำนวนรถยนต์ที่ส่งออกกว่า 1,204,895 คัน ซึ่งเป็นไปตามจำนวนเป้าหมายที่ 1.2 ล้านคัน ส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ มูลค่าส่งออกของไทยชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก ทำให้ภาพรวมการส่งออกอุตสาหกรรมของไทยหดตัวในปี 2558 แต่ทั้งนี้ส่วนใหญ่พบว่าไทยยังมีสถานการณ์ส่งออกที่ดีกว่าภาพรวมการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของโลกในเกือบทุกสินค้า

    ตลาดส่งออก กลุ่ม CLMV ยังคงขยายตัวต่อเนื่องทั้งปี เช่นเดียวกับสหภาพยุโรป (15) ที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งในสิ้นปีนี้ ขณะที่คู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ยังคงหดตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก และอาเซียน (5) หดตัวจากปัจจัยสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ในเดือนธันวาคม 2558 นี้

     การส่งออกไปยังตลาด CLMV ยังคงมีอัตราการขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 7.4 (YoY) โดยกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ยังขยายตัวสูงต่อเนื่องจากการค้าชายแดนเป็นสำคัญ โดยสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวสูงขึ้น ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องดื่ม น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำตาลทราย เป็นต้น เช่นเดียวกับสหภาพยุโรป (15) ที่เดือนนี้ขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 (YoY) จากการขยายตัวของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล และไก่แปรรูป เป็นต้น ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา หดตัวร้อยละ -7.2 (YoY) จากการหดตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป  เครื่องนุ่งห่ม อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น เช่นเดียวกับตลาดหลักอย่าง จีน ญี่ปุ่น และอาเซียน (9) ที่ลดลงร้อยละ -9.5 -9.8 และ -6.3 (YoY) ตามลำดับ

ปัจจัยที่มีผลกระทบให้การส่งออกของไทยปี 2558 หดตัวต่อเนื่อง เป็นปัจจัยภายนอกที่สำคัญ ดังนี้

 1)   ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและตลาดคู่ค้าหลักในปัจจุบันที่ชะลอตัว โดยเฉพาะสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ส่งผลให้การนำเข้าของเกือบทุกประเทศทั่วโลกยังคงหดตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถิติการนำเข้าล่าสุดถึงเดือนพฤศจิกายน 2558 ของประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ ญี่ปุ่น (-20.3%) จีน (-18.8%) เกาหลีใต้(-16.7%) ฝรั่งเศส (-16.0%) สหราชอาณาจักร (-8.9%) สหรัฐฯ (-4.2%)

 2)  ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง และไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัว โดยในเดือนพฤศจิกายน 2558 ราคาน้ำมันดิบดูไบลดลงถึงร้อยละ -42.5 (YoY) ขณะที่ทั้งปี 2558 ลดลงร้อยละ -47.0 (YoY) ส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก ยังคงมีทิศทางลดลงอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มลดลงไปจนถึงปีหน้า

 3)   ราคาสินค้าเกษตรโลกปรับตัวลดลงมาก โดยเฉพาะทั้งปี 2558 ราคาข้าวลดลงร้อยละ -10.9 (YoY) ยางพาราลดลงร้อยละ -20.3 (YoY) และน้ำตาลลดลงร้อยละ -7.2 (YoY) ส่งผลให้แม้ว่าไทยจะส่งออกในปริมาณไม่ต่ำกว่าเดิม  แต่มูลค่าส่งออกลดลงมาก

 4)   การใช้มาตรการลดค่าเงินของประเทศคู่ค้าสำคัญ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และการส่งออก โดยข้อมูลล่าสุดของค่าเงินสกุลต่างๆ ณ เดือนมกราคม 2559 นี้ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์ของออสเตรเลียอ่อนค่าลงร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับเหรียญสหรัฐฯ ค่าเงินริงกิตของมาเลเซียลดลงร้อยละ 18.3 ขณะที่ค่าเงินบาทไทยอ่อนค่าลงร้อยละ 10.7 ซึ่งอ่อนค่าใกล้เคียงหรือน้อยกว่าสกุลอื่น ทำให้สินค้าไทยมีราคาแพงเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าของคู่แข่ง ทำให้ความต้องการซื้อสินค้าไทยลดลง ทำให้แม้ว่าค่าเงินบาทไทยจะเริ่มอ่อนตัวอย่างต่อเนื่องในระยะที่ผ่านมา จนปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 36.0 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ (ณ 22 ม.ค. 59) แต่ก็ยังหนุนมูลค่าการส่งออกได้ไม่มากนัก

     ขณะที่ เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าในเดือนธันวาคม 2558 พบว่าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ที่เป็นปัจจัยการผลิตรถยนต์ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทย ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.3 (YoY) ในขณะที่สินค้านำเข้ากลุ่มเชื้อเพลิง อุปโภค/บริโภค สินค้าทุน และสินค้าวัตถุดิบ/กึ่งสำเร็จรูป หดตัวสูงถึงร้อยละ -25.7 -12.5 -8.0 และ -2.7 (YoY) ตามลำดับ จึงส่งผลให้ภาพรวมการนำเข้าเดือนธันวาคม 2558 นี้ ยังคงหดตัวต่อเนื่องร้อยละ -9.2 (YoY) และทั้งปี 2558 การนำเข้ารวมของไทยลดลงร้อยละ -11.0 (YoY)

 อัตราหดตัวของมูลค่าส่งออกของไทยยังจัดว่าอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยสถิติส่งออกล่าสุดถึงเดือนพฤศจิกายน 2558 ในฐานะผู้ส่งออกอันดับที่ 23 ของโลก แม้จะมีการส่งออกหดตัว แต่ก็หดตัวเพียง ร้อยละ 6.1 ซึ่งถือว่าหดตัวน้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศผู้ส่งออกรายอื่นๆที่เฉลี่ยหดตัวมากกว่าร้อยละ 10 จึงกล่าวได้ว่า ภายใต้สถานการณ์การค้าโลกที่ย่ำแย่ ไทยทำได้เช่นนี้ก็ดีมากแล้ว โดยเกือบทุกประเทศทั่วโลกมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกติดลบมากกว่าไทย อาทิ ออสเตรเลีย (-21.5%) สิงคโปร์ (-15.4%) ฝรั่งเศส (-13.2%)  ญี่ปุ่น (-9.5%)  เกาหลีใต้ (-7.4%) สหรัฐฯ (-6.9%)

    ไทยยังคงรักษาส่วนแบ่งตลาด (Market Share) ในประเทศคู่ค้าสำคัญไว้ได้ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป (27) จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน อินเดีย และออสเตรเลีย เป็นต้น และส่วนแบ่งตลาดในปี 2558 ของไทยในประเทศคู่ค้าสำคัญมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นกว่าปี 2557 ดังนี้

ประเทศ/ %share  2555       2556       2557       2558

ญี่ปุ่น       2.67        2.65        2.68        3.16(ม.ค.-พ.ย.)

สหรัฐอเมริกา         1.15        1.15        1.16        1.27 (ม.ค.-พ.ย.)

สหภาพยุโรป (27) 0.94        1              1.09        1.12(ม.ค.-ต.ค.)

จีน           2.12        1.96        1.95        2.32 (ม.ค.-พ.ย.)

มาเลเซีย 5.88        5.95        5.8          5.98 (ม.ค.-ต.ค.)

สิงคโปร์  2.67        2.49        2.39        2.64 (ม.ค.-พ.ย.)

ฮ่องกง     1.97        1.82        2.01        2.03 (ม.ค.-ต.ค.)

เกาหลีใต้                1.03        1.02        1.02        1.11 (ม.ค.-ธ.ค.)

ไต้หวัน    1.37        1.39        1.58        1.73 (ม.ค.-พ.ย.)

อินเดีย    1.11        1.17        1.23        1.47(ม.ค.-ต.ค.)

ออสเตรเลีย            4.21        4.74        4.31        5.03 (ม.ค.-พ.ย.)

ชิลี           0.97        1.02        1.13        1.21(ม.ค.-ต.ค.)

แอฟริกาใต้             2.64        2.73        2.39        2.45 (ม.ค.-พ.ย.)

รัสเซีย     0.66        0.66        0.78        0.80 (ม.ค.-ต.ค.)                                                   

ที่มา: World Trade Atlas, มกราคม 2559                                                         

   อย่างไรก็ดี สินค้าส่งออกสำคัญของไทยส่วนใหญ่ยังมีสถานการณ์การส่งออกที่ดีกว่าโลก รวมทั้งมีแนวโน้มส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นในเกือบทุกสินค้าส่งออกสำคัญ จากการเปรียบเทียบข้อมูลล่าสุดช่วง 6 เดือนแรกของปี 2558 จำนวน 81 ประเทศทั่วโลกที่มีการรายงานมูลค่าการส่งออก พบว่ามูลค่าการส่งออกโลกช่วงมกราคม-มิถุนายน 2558 หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -11.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การส่งออกของไทยในระยะเดียวกันหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -5.7 ซึ่งสะท้อนว่าโดยเปรียบเทียบแล้วสถานการณ์ส่งออกของไทยยังดีกว่าสถานการณ์ส่งออกโลก รวมทั้งส่วนแบ่งตลาดของไทยยังมีแนวโน้มสูงขึ้นจากร้อยละ 1.40 ในปี 2557 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.48 ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2558

    เมื่อพิจารณาสถานการณ์สินค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรกของไทย พบว่าไทยมีสถานการณ์ส่งออกที่ดีกว่าการส่งออกของโลก และไทยมีส่วนแบ่งในตลาดโลกสูงขึ้น จำนวน 8 รายการ จากจำนวน 10 อันดับสินค้าส่งออกแรกของไทย เช่น ฮาร์ดดิส์ไดรฟ์ รถยนต์นั่ง ส่วนประกอบยานยนต์ เครื่องปรับอากาศและแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ขณะที่สินค้าส่งออกสำคัญของไทยที่ไทยมีส่วนแบ่งในตลาดโลกลดลง ได้แก่

    รถยนต์ปิ๊กอัพ และทองคำ โดยการส่งออกปิ๊กอัพของไทยชะลอตัวจากการเปลี่ยนรุ่นรถกระบะ ส่งผลให้ไทยมีส่วนแบ่งตลาดโลกลดลงจากร้อยละ 8.47 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 8.43 ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2558

    แต่ไทยยังคงเป็นผู้ส่งออกอันดับ 5 ของโลก โดยมีเม็กซิโกเป็นประเทศผู้ส่งออกปิ๊กอัพอันดับ 1 ของโลก สามารถเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดโลกได้ดีนับตั้งแต่ช่วงปี 2556 ถึงปัจจุบัน การค้าของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านผ่านช่องทางการค้าชายแดน การค้าผ่านแดน และการค้าเมืองหน้าด่านทั้งปี 2558 ขยายตัวใกล้เคียงเป้าหมายที่วางไว้ (มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 9.9 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย) โดยมูลค่าการค้าชายแดน (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา) ทั้งปี 2558 มีมูลค่า 1,001,240 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 (YoY) ทำให้ภาพรวมไทยได้ดุลการค้าชายแดนรวม 4 ประเทศ เป็นมูลค่า 174,970 ล้านบาท ขณะที่การค้าผ่านแดน (สิงคโปร์ จีนตอนใต้ เวียดนาม) ทั้งปี 2558 มีมูลค่า 141,712 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -8.9 (YoY) ทำให้ภาพรวมไทยขาดดุลการค้าผ่านแดนรวม 3 ประเทศเป็นมูลค่า 1,292 ล้านบาท

   สำหรับ การค้าเมืองหน้าด่าน ทั้งปี 2558 มีมูลค่า 258,168 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 (YoY) ซึ่งเมื่อรวมการค้าชายแดน การค้าผ่านแดน และการค้าเมืองหน้าด่าน ทั้งปี 2558 มีมูลค่าการค้ารวมทั้งสิ้น 1,401,121 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 (YoY) เมื่อเทียบกับเป้าหมายมูลค่าการค้าชายแดนปี 2558 ที่ตั้งไว้ 1.5 ล้านล้านบาท จะอยู่ที่ร้อยละ 93.41

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!