WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCสวทย เมษนทรยก.พาณิชย์เตรียมดันข้าว-ยาง-มัน-ปาล์มพัฒนานวัตกรรม-สร้างมูลค่าเพิ่ม

    แนวหน้า  : นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผย ภายหลังการประชุมร่วมกับผู้ส่งออกข้าวและ ผลิตภัณฑ์ข้าวที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อหารือแผนการผลิต และพัฒนาข้าวให้สอดคล้องกับ ความต้องการของตลาด เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2559 ที่ผ่านมา ว่า กระทรวงพาณิชย์จะส่งเสริม สินค้าภาคการเกษตร 4 ชนิด ได้แก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และปาล์ม โดยจะมีการปรับ เสริม สร้าง เน้นความต้องการของตลาด และย้อนกลับไปดูการผลิต รวมถึง การนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการผลิต เพื่อเพิ่ม ช่องทางการตลาด

      ทั้งนี้ เนื่องจากสินค้าเกษตรทั้ง 4 ชนิด ถือเป็นสินค้าเกษตรหลักของไทย มีการเพาะปลูก จำนวนมาก เกิดปัญหาสินค้าล้นตลาด และมักจะต้องมีการแก้ปัญหาทุกปี อีกทั้งสินค้าเกษตรเหล่านี้มีการผูกติดกับตลาดโลก จนทำให้ราคาสินค้าบางช่วงตกต่ำกว่าตลาดโลก ดังนั้นกระทรวงจึงต้องการดูแลในระยะยาว

      สำหรับ สินค้าตัวแรกที่กระทรวงจะเริ่มดำเนินการ คือ ข้าว ซึ่งจะมีการผลักดัน ให้ผู้บริโภค หันมาบริโภคข้าวคุณภาพสูง ข้าวสี มากขึ้น โดยกระทรวงจะต้องสร้างความ ตระหนักรู้ให้ผู้บริโภคมากขึ้น ขณะเดียวกันจะนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการผลิต แปรรูปข้าวให้มากขึ้น พร้อมทั้งทำการตลาด สร้างแบรนด์ให้สินค้า ซึ่งปัจจุบันนี้มีสินค้าหลายชนิดที่นำข้าว ไปใช้ในการผลิต หรือ ใช้เป็นส่วนประกอบ เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ปรุงแต่ง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ของขบเคี้ยว โดยตอนนี้มีกว่า 40 รายการ และที่ผ่านมาสินค้าบางรายการสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้กว่า 10,000 ล้านบาท

       "กระทรวงจะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ช่วยสนับสนุน ประชาสัมพันธ์สินค้าที่ใช้นวัตกรรม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากสินค้าเกษตรทั้ง 4 ชนิด แต่ตอนนี้จะเริ่มจากข้าวก่อน จากนั้น จะต่อยอดไปดูสินค้าตัวอื่นต่อไป ซึ่งกระทรวง ก็มีแนวทางการส่งเสริมผลิตภัณฑ์แบรนด์ไทยสู่ตลาดโลกอยู่แล้ว และภาคเอกชนก็อยากให้ภาครัฐเข้ามาส่งเสริม เพื่อสร้างการรับรู้ของแบรนด์ไทยให้มากขึ้น เช่น ข้าว กระทรวงจะต้องประชาสัมพันธ์ให้ข้าวไทยเป็นข้าวที่ดีที่สุดในโลก"นายสุวิทย์ กล่าว

      ทั้งนี้ กระทรวงคาดหวังภายใน  3-5 ปีข้างหน้า หากสามารถผลักดันให้ ภาคเอกชนไทยหันมาใช้วัตถุดิบจากสินค้าภาคการเกษตรทั้ง 4 ชนิด ภายในประเทศได้ ก็เชื่อว่าจะสามารถลดการนำเข้าวัตถุดิบได้บางรายการ เพราะสินค้าบางรายการผู้ผลิตต่างประเทศได้ซื้อวัตถุดิบจากไทยเพื่อนำไป แปรรูป และส่งกลับมาขายที่ไทยในราคาที่ค่อนข้างสูง แต่หากไทยผลิตได้เอง ก็จะ ลดต้นทุนการผลิตสินค้าและเพิ่มมูลค่าสินค้าได้ ทั้งนี้ ปัจจุบันมีข้าวที่นำมาผลิตและใช้นวัตกรรมมีสัดส่วน 5-10% ของผลิตภัณฑ์ข้าว ในอนาคตหากมีการผลักดันอย่างจริงจัง ก็น่าจะสามารถเติบโตได้ถึง 15-20% ซึ่งจะ สร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์กว่า 10,000 ล้านบาท

     "เอกชนต้องการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยสนับสนุน ดูแลนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สินค้าที่มาจากสินค้าเกษตร 4 ชนิด ดังกล่าว ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำอย่างจริงจัง ซึ่งกระทรวงเตรียมที่จะทบทวนให้มีการ จัดตั้งไรซ์บอร์ด ซึ่งกระทรวงเคยมีการศึกษารูปแบบมาแล้วในปี 2547 หากสามารถ จัดตั้งได้ ก็จะสามารถเข้ามาดูแลภาคการผลิตสินค้าเกษตรสำคัญของไทยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำได้ โดยกระทรวงจะเดินหน้า จัดตั้งต่อไป" นายสุวิทย์ กล่าว

พาณิชย์ หารือเอกชนจัดทำแผนผลิต-พัฒนาข้าวให้สอดคล้องความต้องการของตลาด

     นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ เป็นประธานการประชุมหารือร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการค้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวที่สำคัญจำนวน 9 ราย (เป็นผู้ประกอบการที่แปรรูปข้าว เป็นผลิตภัณฑ์เส้น เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ยา นักวิจัย) และผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่องแผนการผลิตและพัฒนาข้าวให้สอดคล้องความต้องการของตลาด (Demand-Driven)" ให้สอดคล้องความต้องการของตลาด (Demand-Driven) เนื่องจากข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ และเป็นสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญของไทยมายาวนาน

   อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสถานการณ์การส่งออกข้าวในปีนี้มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าสำคัญ ส่งผลกระทบต่อทั้งเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ผู้ประกอบการ และเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม

   "รัฐบาลได้ตระหนักถึงสถานการณ์ดังกล่าว และมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและผู้ประกอบการทั้งระบบในช่วงที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง"รมช.พาณิชย์ กล่าว

    สำหรับ ประเด็นสำคัญในการหาแนวทางการบูรณาการพัฒนาข้าวและผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างความต้องการของตลาดให้เพิ่มขึ้นอย่างเป็นระบบ รวมถึงการสร้างโอกาสของสินค้าให้มีมากขึ้น มีข้อสรุปและสาระสำคัญของการประชุม ดังนี้ 1.ศึกษานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ใช้ในการแปรรูปของผลผลิตเพิ่ม รวมถึงต่อยอดงานวิจัยให้เป็นงานวิจัยเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น 2.สร้างและพัฒนา Branding เรื่องข้าวโดยเฉพาะ ออกแบบ Packaging รวมถึง Promote และให้ความรู้เรื่องสินค้าข้าว ให้เป็นที่ต้องการและให้เป็นที่รู้จักของตลาดต่างประเทศ

       3.สร้างทีมพัฒนาข้าวและผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเป็นการเฉพาะ โดยมีนักวิจัยเก่งๆระดับประเทศด้านข้าวมาร่วมทีม เพื่อดูแลในเรื่องการวิจัย การตลาด Branding โดยเฉพาะ รวมทั้งจัดตั้งสถาบันการวิจัยเชิงวิจัยเรื่องข้าวอย่างจริงจัง 4.ขอให้ภาครัฐสนับสนุน ส่งเสริม เรื่องนวัตกรรม ขบวนการผลิต การตรวจสอบ เพื่อให้ได้วัตถุดิบและสินค้าที่ได้มาตรฐาน

        5.ขยายตลาดและหาตลาดใหม่ โดยมุ่งเน้นตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ควรศึกษาตลาดในเชิงลึกเพื่อให้รู้ความต้องการที่แท้จริงและสามารถผลิตสินค้าให้ตรงความต้องการ 6.ร่วมงานและเข้าร่วมการฝึกอบรมต่างๆของต่างประเทศ เพื่อเรียนรู้ วิธีการและเทคนิคต่างๆ ในการพัฒนาสินค้าของประเทศไทย ลดต้นทุนการผลิต โดยดูแลเรื่องแรงงานหรือการใช้เครื่องจักรในการผลิต

                        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!