WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมคด สมคิด เรียกหารือทูตพาณิชย์ 20 ม.ค.กระตุ้นส่งออกปีนี้หวังโตตามเป้า 5%

    นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์จะจัดประชุมผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ(สคร.) จากทั่วโลกในวันที่ 20 ม.ค.นี้ โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม ซึ่งจะมีการประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า รวมทั้งการมอบนโยบายเพื่อผลักดันการส่งออกของไทยในปีนี้ให้เติบโตได้ตามเป้าหมายที่ 5%

   "ขณะนี้ เศรษฐกิจโลกยังมีความอ่อนไหว ทั้งเศรษฐกิจจีนชะลอตัว เหตุความรุนแรงระหว่างซาอุดิอาระเบียกับอิหร่าน ขณะที่สหรัฐฯ กับสหภาพยุโรปก็ยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน จึงต้องมีการประเมินกันว่าจะทำแผนกันอย่างไร จะมุ่งไปตลาดไหน และจะใช้กลยุทธ์อะไร เพื่อให้มูลค่าการส่งออกของไทยในปี 2559 ขยายตัวได้ 5% ตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้" นายสุวิทย์ กล่าว

  รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า ในเบื้องต้นเห็นว่าตลาดที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ คือ ตลาดอาเซียน และ CLMV(กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) รวมถึงตลาดจีน, อินเดีย, รัสเซีย แอฟริกา เนื่องจากตลาดเหล่านี้ยังมีโอกาสเติบโตได้สูง ส่วนสินค้าที่จะเร่งผลักดันการส่งออก ได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วน, อิเล็กทรอนิกส์, เครื่องใช้ไฟฟ้า และอาหาร พร้อมกันนี้จะเน้นสินค้าบริการ ทั้งบริการด้านสุขภาพและความงาม, โลจิสติกส์, บันเทิง, คอนเทนต์ และการศึกษา เป็นต้น

คณะทำงานร่วมภาครัฐ-เอกชนนัดแรกถกแนวทางผลักดันส่งออก-แก้ปัญหารายตลาด

   นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ตนเองในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐของคณะทำงานส่งเสริมการส่งออกและการลงทุนในต่างประเทศ ได้เชิญหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าประชุมคณะทำงานฯ เพื่อร่วมกันหารือแนวทางการผลักดันการส่งออกและการลงทุนในต่างประเทศ โดยมีนายสนั่น อังอุบลกุล เป็นหัวหน้าทีมภาคเอกชน ซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรกตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีให้แต่งตั้งคณะกรรมการภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ(Public-Private Steering Committee) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

            สำหรับ ประเด็นของการประชุม นอกจากจะรับฟังแนวทางการผลักดันการส่งออกและการแก้ไขปัญหาจากภาคเอกชนในรายตลาดแล้ว คณะทำงานฯ ได้ให้ความสำคัญในเรื่อง Outward Investment  หรือการส่งเสริมให้ภาคเอกชนไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้มีการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI ถึงขอบเขตการดูแลของสองหน่วยงานแล้ว BOI จะรับผิดชอบในส่วนของ Manufacturing Based และกระทรวงพาณิชย์จะรับผิดชอบในส่วนของ Non-Manufacturing Based ซึ่งได้แก่ การเปิดธุรกิจหรือแฟรนไชส์ในต่างประเทศ รวมถึงการตั้งสำนักงาน (Sale Representative) ในต่างประเทศ

    ในส่วนของ Outward Investment นี้ คณะทำงานได้กำหนดกรอบการดำเนินงานเป็นช่วงๆ โดยในช่วง 1-2 เดือนนี้ ภาครัฐจะสนับสนุนด้านข้อมูลเชิงลึกรายเมือง/รายประเทศ กฎระเบียบเชิงลึก รวมรวมข้อมูลธุรกิจที่มีการลงทุนอยู่แล้วและผู้ลงทุนในแต่ละตลาด ตลอดจนรูปแบบการลงทุนที่แต่ละตลาดต้องการ เช่น ธุรกิจ Licensing ธุรกิจแฟรนไชส์ และการร่วมลงทุน ในขณะที่ภาคเอกชนจะทำหน้าที่รวบรวมและจัดลำดับความเร่งด่วนของปัญหาอุปสรรคที่ต้องการแก้ไข เช่น ปัญหาด้านการเงิน การประกัน และกฎระเบียบ ต่อจากนั้นจะเป็นการเชิญชวนและจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนในต่างประเทศ เพื่อพัฒนาความรู้ เตรียมความพร้อม เสริมสร้างสมรรถนะเป็นรายบริษัท และนำภาคเอกชนเดินทางไปสำรวจลู่ทางและจับคู่ธุรกิจในแต่ละตลาด โดยได้เริ่มทาบทามคู่ค้านักลงทุนใน 2 ตลาดหลัก คือ กัมพูชา และเวียดนามแล้ว

   "การผลักดันให้ธุรกิจไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศนั้น ภายใน 1-2 เดือนนี้ คณะทำงานฯ จะจัดหาข้อมูลเชิงลึกรายเมือง รายประเทศ กฎระเบียบ ข้อมูลธุรกิจที่มีการลงทุน และผู้ลงทุนในแต่ละตลาด ตลอดจนรูปแบบการลงทุนที่แต่ละตลาดต้องการ แล้วนำมาบอกให้กับเอกชนที่สนใจ ใครที่จะออกไปลงทุน ก็จะนำมาฝึกเตรียมความพร้อมก่อน จากนั้นจะพาออกไป โดยเบื้องต้นได้ทาบทามคู่ค้าใน 2 ตลาดหลักแล้ว คือ กัมพูชาและเวียดนาม" รมว.พาณิชย์ กล่าว

    ด้านเป้าหมายการส่งออกและการลงทุนในรายภูมิภาค ตลาดอาเซียนภายใต้ยุทธศาสตร์ Deepening ASEAN ที่ประชุมได้กำหนดเป้ามูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 6 สินค้าเป้าหมายได้แก่ สินค้าแบรนด์ อุปโภคบริโภค บริการเป้าหมายได้แก่ สุขภาพและความงาม ภาพยนตร์ ก่อสร้าง โลจิสติกส์ การศึกษา และแฟรนไชส์

   ภายใต้ยุทธศาสตร์ Broadening ASEAN กำหนดให้ตลาดจีนมีเป้ามูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 3.5 สินค้าเป้าหมายได้แก่ อาหารและเครื่องดี่ม ผลไม้ ข้าวหอมมะลิ ของตกแต่งบ้าน สุขภาพและความงาม แฟชั่น บริการเป้าหมายได้แก่ ร้านอาหาร บันเทิง สุขภาพ และโลจิสติกส์ ด้านตลาดอินเดียตั้งเป้าขยายตัวร้อยละ 9 สินค้าเป้าหมายได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม สุขภาพและความงาม แฟชั่น ของตกแต่งบ้าน ในขณะที่ธุรกิจบริการเป้าหมายได้แก่ ธุรกิจสุขภาพ ร้านอาหาร และท่องเที่ยว

    รมว.พาณิชย์ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมยังได้ประเมินภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจคู่ค้า โดยเห็นว่า เศรษฐกิจหลายประเทศเริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐฯ และยุโรป แต่บางประเทศเริ่มมีปัญหา เช่น จีน ที่กำลังเข้าสู่ช่วงชะลอตัว ซึ่งจากการประเมินในเบื้องต้น เห็นว่า จีนไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อไทยมากนัก เชื่อว่า จีนจะสามารถปรับตัว และแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว แต่จะติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อรับมือได้อย่างทันท่วงที หากเกิดความผันผวนขึ้น

    อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!