WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCอภรด ตนตราภรณกกร.คงบัญชีสินค้าและบริการควบคุม 41 รายการ-จับตาอาหารปรุงสำเร็จแพงขณะต้นทุนลด

   นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ว่า ที่ประชุมมีมติให้คงบัญชีสินค้าและบริการควบคุม ตามประกาศของ กกร.สำหรับปี 59 ไว้เหมือนเดิม โดยมีสินค้าและบริการควบคุมทั้งสิ้น 41 รายการ ซึ่งประกาศดังกล่าวจะมีอายุต่อไปอีก 1 ปี แต่ระหว่างนี้หากพบว่าสถานการณ์สินค้าและบริการใดไม่ปกติ เช่น ราคาสูงเกินควร ก็อาจเรียกประชุมกกร.เพื่อออกประกาศให้สินค้าและบริการนั้นๆ เข้ามาอยู่ในบัญชีสินค้าและบริการควบคุม พร้อมกำหนดมาตรการที่จะใช้ได้ทันที

     อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์กำลังจับตาอย่างใกล้ชิดสินค้ากลุ่มที่ใช้ในชีวิตประจำวัน สินค้าเกษตร และอาหารสำเร็จรูป เพราะมีผลกระทบต่อค่าครองชีพในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว

       "ตอนนี้ มีหลายเสียงบ่นมากว่าราคาอาหารปรุงสำเร็จแพง ทั้งที่ราคาวัตถุดิบส่วนมากทรงตัว และลดลง แต่เมื่อนำมาปรุงเป็นอาหารสำเร็จกลับมีราคาแพง เพราะมีต้นทุนอื่นด้วย เช่น ค่าแรง ค่าเช่าที่ ค่าขนส่ง จึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะคนสมัยใหม่นิยมบริโภคอาหารปรุงสำเร็จ แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นต้องประกาศกำหนดราคาควบคุม เพียงแค่เพิ่มทางเลือกในการบริโภค" รมว.พาณิชย์ กล่าว

     พร้อมระบุว่า ในปีนี้จะขยายร้านอาหารหนูณิชย์ ที่จำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จจาน/ชามละ 25-35 บาท ให้กระจายไปทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายที่ 10,000 แห่ง จากปัจจุบันมีอยู่ 3,924 ร้าน ซึ่งในจำนวนนี้อยู่ในกรุงเทพฯ 1,200 ร้าน เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย

     รมว.พาณิชย์ กล่าวด้วยว่า จะหารือกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เพื่อขอความร่วมมือในการกระจายร้านหนูณิชย์ หรือร้านอาหารธงฟ้าเข้าไปในโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งจะหารือกับผู้ประกอบการจัดหาวัตถุดิบราคาถูก เพื่อช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบในการประกอบอาหารให้กับร้านอาหารในโครงการ และหารือกับห้างค้าปลีก และห้างสรรพสินค้า จัดหามุมสำหรับการขายอาหารปรุงสำเร็จราคาถูกภายในห้างด้วย เพราะจะใช้วิธีให้ห้างลดค่าเช่าพื้นที่ให้กับผู้ค้าอาหารในฟู้ดคอร์ทคงทำได้ยาก

     นอกจากนั้น ในปีนี้ยังมีแผนที่จะขยายตลาดชุมชนเพิ่มขึ้นอีก 200 แห่งทั่วประเทศ จากปัจจุบันมีอยู่ 20 แห่ง และจะเพิ่มสินค้าในกลุ่มสินค้าเกษตรอินทรีย์เข้ามาด้วย เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการ เกษตรกรได้มีโอกาสพบปะผู้บริโภคโดยตรง และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรโดยตรง

      สำหรับ แนวโน้มราคาสินค้าในปี 59 ในส่วนสินค้าอุปโภคบริโภคส่วนใหญ่ คาดว่าราคาทรงตัวหรือลดลงตามราคาวัตถุดิบและราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงฟื้นตัว ปริมาณความต้องการใช้สินค้ายังไม่เพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันผู้ผลิตมีการผลิตสินค้าได้ประมาณ 60% ของความสามารถในการผลิตทั้งหมด ทำให้ต้องการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการแข่งขันด้านราคาเพิ่มมากขึ้น ส่วนราคาสินค้าเกษตร คาดว่าจะลดลงตามราคาตลาดโลก เช่น ข้าว ปาล์มน้ำมัน

       อินโฟเควสท์

ส่งออก ไม่ติดลบแต่ขยายตัวได้น้อย-ตลาดหลักอยู่ในกลุ่มประเทศ CLMV กกร.หวังเงินรัฐ-ท่องเที่ยวหนุนศก.

    แนวหน้า : กกร.ประชุมนัดแรกปี'59 ชี้เศรษฐกิจไทยน่าจะ ขยายตัวได้ 3-3.5% จาก 2 ปัจจัยบวกเดิมๆ คือ การลงทุนของภาครัฐ และการท่องเที่ยว ที่หวังว่า จะขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อน ส่วนการส่งออก แม้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ก็ขยายตัวได้ในอัตราที่ต่ำ โดยสมาคมผู้ส่งออกทางเรือ คาดโตแค่ 2% เพราะ คู่ค้าหลักยังประสบภาวะถดถอย โดยเฉพาะจีน

     นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. แถลงภายหลังการประชุมนัดแรกปี 2559 ว่า กกร.ประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัว ในระดับ 3-3.5% จากปัจจัยการใช้จ่ายของภาครัฐเป็นสำคัญ รวมถึงภาพรวมการท่องเที่ยวที่จะยังคงเติบโตต่อเนื่องจากปี'58 ที่มียอดนักท่องเที่ยวเกือบ 30 ล้านคน โดยนักท่องเที่ยวจีน จะเที่ยวระยะไกล ซึ่งประเทศไทยเป็นเป้าหมายหนึ่ง ที่นักท่องเที่ยวจีนจะเดินทางเข้ามาเที่ยวเพิ่มมากขึ้น

     ด้านการส่งออกในปีนี้ คาดว่าจะขยายตัว ไม่ต่ำกว่า 2% จากในปีที่ผ่านมา ติดลบ 5% ซึ่งการขยายตัวของภาคการส่งออกส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มตลาดประเทศอาเซียนด้วยกัน โดยเฉพาะในกลุ่ม กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม หรือ CLMV แต่ยังมีปัจจัยลบที่น่ากังวลในหลายเรื่อง ทั้งเรื่องความผันผวนทางเศรษฐกิจโลก และจีดีพีของจีนที่จะเติบโตไม่ถึง 7% และจะส่งผลให้ภาคการส่งออกของไทยให้เติบโตลดลง ขณะที่ปัจจัยลบภายในประเทศ เช่น ปัญหาภัยแล้ง ราคาสินค้าเกษตร ที่ไม่ดีขึ้น ส่วนปัจจัยต่างประเทศที่จะ ส่งผลกระทบ ได้แก่ การก่อการร้ายในกลุ่มประเทศยุโรป และเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน

    นายอิสระยังได้กล่าวถึงมาตรการจูงใจให้ ผู้ประกอบการ เอสเอ็มอีเข้าสู่ระบบภาษี ได้รับการ ตอบรับค่อนข้างดีจากผู้ประกอบการ แต่ทั้งนี้กรมสรรพากรต้องสามารถตอบคำถามที่ยังมีอยู่มากและคลายข้อสงสัยให้กับผู้ประกอบการ โดยเชื่อว่า มาตรการดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มีความเข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และเตรียมพร้อมเข้าสู่เออีซี เนื่องจากมาตรฐานบัญชี มีความจำเป็น

    ด้านนายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า มาตรการดังกล่าวจะเป็นจุดหักเหที่สำคัญของประเทศ ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ข้อมูลของเอสเอ็มอี อยู่ในระบบสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้มากขึ้น อีกทั้งภาครัฐมีฐานระบบผู้เสียภาษี สอดคล้องกับมาตรการชำระเงินทางอิเล็กทรอกนิกส์ หรือ E-payment ที่จะลดการใช้เงินสด ช่วยให้เกิดข้อมูลที่โปร่งใส เพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถของระบบการเงินทั้งระบบ ซึ่งจะสามารถโอนเงินผ่านหมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือเลขบัตรประชาชน โดยคาดว่าจะมีความพร้อมของระบบและสามารถใช้งานได้ใน ไตรมาส 3 ปีนี้ โดยจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายประมาณ 100,000 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 1 ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ

     ด้านนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในปี 2559 นี้ คาดหวังว่าภาครัฐจะใช้งบประมาณในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ได้ 20% ของโครงการในภาพรวมทั้งหมด ซึ่งจะมีส่วน ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว ขณะที่มาตรการจูงใจให้ ผู้ประกอบการ SMEs เข้าสู่ระบบภาษี ทางกรมสรรพากรและคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) จะต้องร่วมมือกันในการตอบข้อสงสัยของมาตรการนี้ ให้ชัดเจนกับภาคเอกชน รวมถึงจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบบัญชีและการทำบัญชีที่ถูกต้องให้ผู้ประกอบการมากขึ้น

     ด้านนายนพพร เทพสิทธา ประธานสภา ผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เป้าหมายการส่งออกปี 2559 ที่ภาครัฐและเอกชนคาดการณ์ว่าจะขยายตัว 5% หรือมูลค่าประมาณ 225,750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยเดือนละ 18,812.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นสิ่งที่ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมกันผลักดัน ขณะที่สภาผู้ส่งออกฯ คาดการณ์ว่าปีนี้จะส่งออกได้เกิน 219,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยเดือนละ 18,275 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเติบโต 2%  อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การส่งออกปีนี้น่าจะขยายตัวดีกว่าปีที่ผ่านมาแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยมีปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจสหรัฐที่ คาดว่าจะฟื้นตัว ราคาน้ำมันดิบที่คาดว่าจะไม่ลดลงไปกว่านี้ ประกอบกับไม่เสียสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ให้กับยุโรปเหมือนปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็น ความท้าทาย ส่วนการส่งออกปี 2558 คาดว่าจะติดลบไม่ต่ำกว่า 5.5% น่าจะเป็นปีที่การส่งออกติดลบ มากที่สุด

     ด้านนายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหารสภาผู้ส่งออกฯ กล่าวว่า การส่งออกปี 2558 ที่ติดลบต่อเนื่องตลอดทั้งปีสะท้อนเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย มีเพียงกลุ่มประเทศ CLMV ยังเป็นบวก ปัจจัยหลักมาจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักของไทยโดยเฉพาะจีนตกต่ำ ประกอบกับลดค่าเงินหยวน ทำให้การแข่งขันราคาสินค้าของไทยยาก ราคาน้ำมันดิบลดลงอย่างต่อเนื่อง การเมืองระหว่างประเทศ รวมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปลายปีที่ผ่านมา ทำให้นักลงทุนรอดูท่าที ในส่วนของไทยไม่ได้รับผลกระทบมาก แต่ประเทศคู่ค้าของไทยได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม ปีนี้ไทยยังมีปัจจัยเสี่ยงจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าอย่างต่อเนื่องแตะระดับ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ยากต่อการแข่งขันในการส่งออก ประกอบกับ ส่งออกสินค้าพื้นฐานอื่นๆ บวกลบสลับกันไป มีเพียงอัญมณีที่ส่งออกเติบโต 100% ช่วยพยุงรายได้การส่งออก ซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมกันพิจารณาหาทางแก้ไข

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!