WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOC Somkiatส่งออก พ.ย.อาการยังโคม่า ติดลบต่อเนื่อง 11เดือนต้นตอน้ำมันลด-เกษตรดิ่งเหว

      บ้านเมือง : นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยว่า การส่งออกเดือน พ.ย.2558 มีมูลค่า 17,166.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7.42% ซึ่งถือว่าดีขึ้น เพราะลดลงน้อยกว่าเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ที่ติดลบถึง 8.11% แต่ก็ยังเป็นการส่งออกที่ติดลบมาต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ม.ค.2558 หรือติดลบติดต่อกัน 11 เดือน ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 16,868.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 9.53% โดยยังเกินดุลการค้า 298.5 ล้านเหรียญสหรัฐ

      สำหรับ การส่งออกในช่วง 11 เดือนของปี 2558 (ม.ค.พ.ย.) มีมูลค่า 197,275 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 5.51% การนำเข้ามีมูลค่า 187,041.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 11.16% โดยเกินดุลการค้ามูลค่า 10,233.8 ล้านเหรียญสหรัฐ

    "การส่งออกที่ลดลง ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง โดยทำให้การส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันปรับตัวลดลงตามไปด้วย ซึ่งกลุ่มนี้มีสัดส่วนประมาณ 10% ของการส่งออก ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตร ราคายังคงตกต่ำตามราคาสินค้าเกษตรตลาดโลก สินค้าอุตสาหกรรมยังคงหดตัว และตลาดส่งออกส่วนใหญ่หดตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งล้วนแต่มีผลต่อการส่งออกของไทย" นายสมเกียรติกล่าว

     สำหรับ การส่งออกสินค้าเกษตรในเดือน พ.ย.2558 ที่ลดลง 7% มาจากการลดลงของสินค้าเกษตรสำคัญ เช่น ยางพารา ลดลง 12.7% ข้าว ลด 7.9% อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ลด 14.9% น้ำตาล ลด 32.5% แต่ผลไม้สด แช่แข็งและแห้ง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ไก่แปรรูป และเครื่องดื่ม ยังคงเพิ่มขึ้น 74.2% , 29.2% 9.4% และ 8.4% ตามลำดับ

     ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม ลดลง 6.8% จากการลดลงของการส่งออกรถกระบะ 23.7% แม้รถยนต์นั่งจะขยายตัว 95.5% ทำให้กลุ่มรถยนต์และส่วนประกอบเพิ่มขึ้นเพียง 13.7% ขณะที่สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ลดลง 29.8%, 17.3% และ 18.7% ส่วนทองคำ เพิ่มขึ้น 33.4% ตามการส่งออกเพื่อเก็งกำไร

    ขณะที่ตลาดส่งออก ส่วนใหญ่หดตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก โดยตลาดหลัก สหรัฐฯ ลดลง 6.3% ญี่ปุ่น ลด 4.7% สหภาพยุโรป ลด 6.7% ตลาดศักยภาพสูง อาเซียน ลด 9.8% แต่กลุ่ม CLMV เพิ่มขึ้น 15.4% จากการเพิ่มขึ้นของการค้าชายแดน จีน ลด 6.1% อินเดีย ลด 2.9% ฮ่องกง ลด 6.7% เกาหลีใต้ ลด 1.1% และไต้หวัน ลด 16.6% ตลาดศักยภาพรอง ทวีปออสเตรเลีย ลด 6.8% แอฟริกา ลด 22.7% CIS รวมรัสเซีย ลด 33.4% แคนาดา ลด 12.1% แต่ตะวันออกกลาง เพิ่ม 8.3% ลาตินอเมริกา เพิ่ม 1.9%

       นายสมเกียรติ กล่าวว่า การส่งออกทั้งปี 2558 คาดว่าจะติดลบในระดับใกล้เคียงกับตัวเลข 11 เดือน ที่ติดลบ 5.5% ไม่น่าจะเลวร้ายไปกว่านี้ และไม่น่าจะติดลบถึง 7% ส่วนตัวเลขเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ที่ติดลบ 3% เพราะก่อนหน้านี้ประเมินว่าราคาน้ำมันตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นในช่วงปลายปี แต่กลับไม่ขึ้นและยังมีแนวโน้มลดลงอีก ทำให้เป็นปัจจัยฉุดสำคัญในภาคการส่งออก เพราะสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันส่งออกได้ลดลง

     ส่วนเป้าหมายการส่งออกปี 2559 ได้ตั้งไว้ว่าจะขยายตัวที่ 5% ซึ่งจะต้องพยายามทำได้ให้ เพราะขณะนี้ได้มีการประเมินการส่งออกของโลกว่าจะเติบโต 2.4% ซึ่งไทยน่าจะทำได้มากกว่า โดยมีปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจคู่

      ค้าฟื้นตัว แต่ก็ต้องติดตามเรื่องราคาน้ำมัน หากลดลงต่อเนื่องต่ำกว่าระดับ 30 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ก็จะยิ่งกระทบต่อการส่งออก ที่จะทำให้สินค้าที่เกี่ยวกับน้ำมันลดลงอีก และยังกระทบต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจของประเทศที่ส่งออกน้ำมัน และต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจโลกได้

       นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือกับ Mr.Nguyen Tat Thanh เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทย วันที่ 28 ธ.ค.58 ว่า ได้ติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า หลังจากที่เวียดนามได้ระงับการออกใบอนุญาตนำเข้าผลไม้ 4 ชนิดจากไทย ได้แก่ ลำไย เงาะ ลิ้นจี่ และมะม่วง โดยระบุว่ามีการตรวจพบแมลงที่เป็นอันตราย และได้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค.58 เป็นต้นมา โดยได้ขอให้เวียดนามเร่งแก้ปัญหาโดยเร็ว ซึ่งทางเวียดนามได้รับที่จะติดตามความคืบหน้าในประเด็นดังกล่าวให้

      "ไทยได้หยิบยกปัญหานี้ขึ้นหารือเมื่อครั้งการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 2 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา แต่การแก้ปัญหาก็ยังไม่มีความคืบหน้า จึงได้มีการติดตามทวงถามอีกครั้งในการหารือครั้งนี้"ทั้งนี้ ไทยยังได้ขอความร่วมมือเอกอัครราชทูตเวียดนาม ให้เร่งรัดการพิจารณาข้อเสนอของไทยในการจัดตั้งสภาร่วมธุรกิจไทย-เวียดนาม เพื่อผลักดันให้เกิดความร่วมมือในการขยายการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน และทำให้เป้าหมายการค้าที่ได้ตั้งไว้ที่ 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2563 เกิดขึ้นได้โดยเร็ว

พาณิชย์ คาดทั้งปี 58 ส่งออกติดลบใกล้เคียง -5.5% จากเดิมคาด -3%

    นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า การส่งออกของไทยทั้งปีนี้จะใกล้เคียงกับระดับ -5.5% จากเป้าหมายอย่างเป็นทางการที่ตั้งไว้ที่ระดับ -3% ทั้งนี้ เชื่อว่าการส่งออกในเดือน ธ.ค.นี้คงจะไม่แย่ไปกว่าในเดือน พ.ย.ซึ่งอยู่ที่ระดับ -7.42% เนื่องจากปกติแล้วตัวเลขการส่งออกจะดีในช่วงปลายปี

     "ส่งออกทั้งปีคงไม่ต่างไปจาก -5.5% เพราะตัวเลขเดือน ธ.ค.คงไม่แย่ไปกว่า -7% ของเดือน พ.ย. ซึ่งในเดือนสุดท้ายตามหลักแล้วตัวเลขการส่งออกจะดีขึ้น" นายสมเกียรติ กล่าว

   พร้อมมองว่า หากเปรียบเทียบการส่งออกของไทยกับหลายประเทศทั่วโลกแล้วจะเห็นว่าการส่งออกของไทยยังอยู่ในสถานการณ์ที่ดีกว่า ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) คาดการณ์ไว้ว่าการส่งออกโดยรวมของโลกที่ปีนี้จะอยู่ที่ -11.2% ส่วนปี 59 การส่งออกโดยรวมของโลกจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ 2.4%

    นายสมเกียรติ กล่าวว่า ปัจจัยที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดสำหรับการส่งออกในปีหน้า คือ สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกหากยังมีแนวโน้มปรับตัวลดลงจากปัจจุบัน เพราะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีผลกับสินค้าที่มีความเกี่ยวเนื่องกับน้ำมันที่มีสัดส่วนถึง 10% ของมูลค่าการส่งออกโดยรวม นอกจากนี้ราคาน้ำมันที่ลดลงยังมีผลกระทบต่อรายได้ที่ลดลงของประเทศผู้ส่งออกน้ำมันเช่นกัน ซึ่งจะมีผลกระทบมาถึงเศรษฐกิจโลกด้วย

       "เราห่วงเรื่องราคาน้ำมัน เพราะไม่เคยเห็นราคาลงไปมากขนาดนี้ หากปีหน้าลงไปแตะที่ 30 ดอลลาร์/บาร์เรล อะไรจะเกิดขึ้น สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันจะลงไปอีกเท่าไร ถือว่าเป็นปัจจัยที่หนักพอควร ขณะเดียวกันต้องจับตาเศรษฐกิจโลกด้วยเช่นกัน" นายสมเกียรติ กล่าว

      ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกของปี 59 ไว้ว่าจะขยายตัวได้ 5% โดยมองว่าสินค้าในกลุ่มยานยนต์ปีหน้าจะขยายตัวได้ในระดับเลข 2 หลัก และจะเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของการส่งออกไทยในปีหน้าด้วย

                        อินโฟเควสท์

พาณิชย์ ชี้ปัญหาเศรษฐกิจโลก-ราคาน้ำมันร่วงการส่งออกอ่วมติดลบ 7.42%

     แนวหน้า : ส่งออกกู่ไม่กลับร่วงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ล่าสุดพฤศจิกายนติดลบ 7.42% พาณิชย์ชี้ราคาน้ำมันลด ส่งผลต่อการส่งออกสินค้า ประเมินทั้งปีติดลบ 5.5% ส่วนปีหน้าหวังขยายตัว 5% แต่ปัญหาราคาน้ำมันยังมีผลกระทบเศรษฐกิจโลกและการส่งออก

     นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ (การส่งออก) ของไทยในเดือนพฤศจิกายน 2558 ว่ามีมูลค่า 17,167 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7.42% เมื่อเทียบกับปีก่อนซึ่งเป็นการติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 นับตั้งแต่เดือนมกราคม การที่ตัวเลขส่งออกเดือนนี้หดตัว เป็นผลมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงต่อเนื่องจึงส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออก สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันของไทยให้ลดลงตาม ไปด้วย เพราะสินค้าในกลุ่มดังกล่าวมีสัดส่วน 10% ของสินค้าส่งออกทั้งหมด และยังเกี่ยวเนื่องกับราคาสินค้าเกษตรด้วย ทำให้มีผลต่อการส่งออกภาพรวมประมาณ 2-3%

     อย่างไรก็ตาม การส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วนประกอบในเดือนนี้ก็ขยายตัวดีขึ้น 13.7% ช่วยดึงให้การ ส่งออกไม่ตกลงมากนัก ขณะที่มูลค่าส่งออก 11 เดือน (มกราคม-พฤศจิกายน 2558) มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 197,275 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 5.51% เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน

     ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรหดตัวตามราคาสินค้าเกษตรโลก โดยภาพรวมเดือนพฤศจิกายน 2558 ลดลง 7% ตามทิศทางของราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องโดยข้าวลดลง 7.9% ยางพารา ลดลง 12.7% อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ลดลง 14.9% น้ำตาลลดลง 32.5% ขณะที่ ผลไม้สด แช่แข็ง และแห้ง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ไก่แปรรูป และเครื่องดื่มยังคงขยายตัวสูงขึ้นที่ 74.2% 29.2% 9.4% และ 8.4% ตามลำดับ

     ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหดตัวลงโดยภาพรวมเดือนพฤศจิกายน 2558 ลดลง 6.8% สินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทยคือรถยนต์และส่วนประกอบขยายตัวที่ 13.7% ขณะที่มูลค่า ส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทั้งน้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ลดลงต่อเนื่อง ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกและในด้านทองคำขยายตัวที่ 33.4%

      ด้านการนำเข้าเดือนพฤศจิกายน 2558 มีมูลค่า 16,868 ล้านเหรียญสหรัฐลดลง 9.53% ส่งผลให้ไทยยังเกินดุลการค้ามูลค่า 299 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ การนำเข้า 11 เดือนมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 187,041 ล้านเหรียญสหรัฐลดลง 11.16% ส่งผลให้ไทยเกินดุล การค้ามูลค่า 10,233 ล้านเหรียญสหรัฐ

     ทั้งนี้ มองว่าในเดือนธันวาคมการส่งออกจะ ไม่แย่กว่าเดือนพฤศจิกายนและน่าจะดีขึ้นเล็กน้อย เพราะมองว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกน่าจะทรงตัว และน่าจะช่วยให้ตัวเลขส่งออกทั้งปี 2558 อยู่ใน ระดับที่ใกล้เคียง -5.5% มูลค่าประมาณ 215,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม การส่งออกทั้งโลก ก็ติดลบ และไทยก็ถือว่าหดตัวน้อยมากเมื่อเทียบกับ ผู้ส่งออกรายอื่นๆ ภายใต้สถานการณ์การค้าโลกที่ย่ำแย่ โดยเฉลี่ยการส่งออกโลกหดตัวมากกว่า 10% และในด้านส่วนแบ่งตลาดในประเทศสำคัญ ไทยยังรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดไว้ได้ ทั้ง ญี่ปุ่น สหรัฐ สหภาพยุโรป จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน อินเดีย และออสเตรเลีย เป็นต้น

      อย่างไรก็ตาม ในการส่งออกปี 2559 ได้วางเป้าหมายการส่งออกไว้ที่ 5% โดยสินค้าหลักที่จะช่วยผลักดันการส่งออก คือยานยนต์และส่วนประกอบที่น่าจะขยายตัวได้ดีในเลข 2 หลัก รวมถึงแผงวงจรไฟฟ้า อัญมณี และสินค้าเกษตรบางตัว อาทิผลไม้ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามในปีหน้าก็จำเป็นต้องจับตาดูเรื่องของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกด้วยเพราะจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และการส่งอก

      นอกจากนี้ ในการส่งออกบริการของไทยในช่วง 9 เดือน (มกราคม-กันยายน 2558) มีมูลค่า 44,423 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 14.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยบริการที่สร้างรายได้ให้กับประเทศมากที่สุด ได้แก่ สาขาการท่องเที่ยว มีมูลค่าการส่งออก 32,309 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21.9% ตามการขยายตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย และส่งผลดีต่อภาค บริการในประเทศที่เกี่ยวเนื่อง ทั้งโรงแรม ร้านอาหาร ขนส่งโทรคมนาคม ค้าปลีกค้าส่ง และบริการทางการเงิน เป็นต้น ขณะที่การนำเข้าบริการไทยมีรายจ่ายภาคบริการ 37,871 ล้านเหรียญ หดตัว 5.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยบริการสาขาที่มีมูลค่าการ นำเข้าสูงที่สุด ได้แก่ สาขาขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 18,055 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 9.9% อย่างไรก็ดี โดยภาพรวมประเทศไทยยังคงได้ดุลจากการค้าภาคบริการกว่า 6,552 ล้านเหรียญสหรัฐ

      นายสมเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของ สถานการณ์การประท้วงของประชาชนเมียนมาที่ไม่พอใจ คำตัดสินของศาลไทย เกี่ยวกับกรณีเกาะเต่า และมีกระแส ประชาชนบางส่วนการปิดด่านการค้าชายแดน ยืนยันว่า ขณะนี้ด่านการค้าชายแดนยังมีการค้าขายกันปกติ และรัฐบาลทั้ง 2 ฝ่ายก็มีความร่วมมือในด้านการค้าที่ดีต่อกัน อีกทั้งยังมองว่าการที่เมียนมามีรัฐบาลชุดใหม่จะเป็นผลดี ต่อการค้าชายแดน เพราะรัฐบาลเมียนมาร์ให้ความสำคัญ ต่อชนกลุ่มน้อย ซึ่งบางส่วนอยู่ติดกับชายแดนไทย จึงมองว่าในอนาคตอาจมีการเปิดด่านการค้าเพิ่มเติม และส่งผลดีต่อการค้าชายไทยของทั้ง 2 ประเทศด้วย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!