WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCสวทย เมษนทรยพาณิชย์ ลุยลงนามตกลงการค้ากับอิหร่าน หลังอิหร่านจะถูกปลดล็อกมาตรการคว่ำบาตรเร็วๆนี้

       พาณิชย์ เผยผลการเยือนอิหร่าน ลุยลงนามตกลงการค้าระหว่างกัน ปูทางก่อนอิหร่านจะถูกปลดล็อกมาตรการคว่ำบาตรเร็วๆนี้  ฝั่งอิหร่านสนใจนำเข้าข้าวไทย พร้อมส่งตัวแทนไทยไปร่วมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในประเทศอิหร่านกว่า 26 แห่ง  ส่วนฝั่งไทยสนใจที่จะนำเข้าพลังงานจากอิหร่านโดยสามารถสั่งซื้อตรงจากกระทรวงปิโตรเลียมได้โดยตรง

   นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลการเยือนอิหร่านระหว่างวันที่ 2025 พฤศจิกายน 2558 ว่า ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง โดยมีโอกาสพบปะกับรัฐมนตรีกระทรวงการค้า กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงปิโตรเลียม กระทรวงพัฒนาถนนและเมือง ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงถึงความจริงใจของรัฐบาลไทยที่ต้องการกระชับความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนกับประเทศอิหร่าน ก่อนที่อิหร่านจะได้รับการปลดล็อกมาตรการคว่ำบาตรในเร็ววันนี้ รวมทั้งอิหร่านมีศักยภาพและสามารถเป็นประตูการค้าสู่กลุ่มประเทศตะวันออกกลางและ CIS  ด้านการค้า อิหร่านเสนอให้มีการจัดการประชุม Joint Commission (JC) ครั้งที่ 9  ณ กรุงเตหะราน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2559 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่รองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มีกำหนดการเยือนอิหร่าน อิหร่านแสดงความสนใจนำเข้าข้าวไทย โดยฝ่ายไทยเชิญให้อิหร่านจัดคณะมาเยือนไทยเพื่อดูกระบวนการผลิตและระบบการตรวจสอบคุณภาพข้าวไทย

  ด้านการท่องเที่ยว  ฝ่ายอิหร่านเชิญชวนให้ไทยร่วมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในประเทศอิหร่านกว่า 26 แห่ง ด้านพลังงาน เอกชนไทยแสดงความสนใจที่จะนำเข้าพลังงานจากอิหร่านโดยสามารถสั่งซื้อตรงจากกระทรวงปิโตรเลียมของอิหร่าน โดยที่ขณะนี้รัฐบาลอิหร่านมีความต้องการสร้างเมืองใหม่กว่า 17 แห่งทั่วประเทศ จึงเชิญชวนให้สมาคมก่อสร้างไทยจัดทำบันทึกความเข้าใจด้านการก่อสร้าง เพื่อพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในอิหร่าน โดยเฉพาะถนน ที่พักอาศัย โรงแรม ในส่วนของการเจรจาธุรกิจของภาคเอกชนไทย มียอดสั่งซื้อสินค้าทันที 100,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 3.6 ล้านบาท และคาดว่าจะมีคำสั่งซื้อใน 1 ปี คิดเป็นมูลค่า 7.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 260 ล้านบาท

   รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการซื้อข้าวจากไทยนั้น ผลจากการ พบปะหารือกับนายอาลี กานบารี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเหมืองแร่และการค้าและประธานหน่วยงานการค้าภาครัฐ (President of Government Trading Corporation: GTC)  ฝ่ายอิหร่านแจ้งว่า มีการบริโภคข้าว 3 ล้านตันต่อปี โดยแบ่งเป็นผลิตเอง 1.5 ล้านตัน และนำเข้า 1.5 ล้านตัน โดยการนำเข้าข้าวส่วนใหญ่จากอินเดียและปากีสถาน อย่างไรก็ดี อิหร่านมีนโยบายนำเข้าข้าวจากหลายประเทศ โดยเน้นข้าวที่มีคุณภาพและราคาที่แข่งขันกับประเทศอื่นได้ ปัจจุบัน GTC มีสัมปทานนำเข้าข้าวร้อยละ 20 จากการนำเข้าข้าวทั้งหมาด 1.5 ล้านตัน ส่วนที่เหลือเป็นการนำเข้าของภาคเอกชนฝ่ายไทยได้แจ้งถึงความพร้อมที่จะขายข้าวให้อิหร่าน โดยเชิญให้ฝ่ายอิหร่านจัดคณะผู้เกี่ยวข้องในการนำเข้าข้าวเยือนไทย เพื่อดูกระบวนการผลิตและระบบตรวจสอบคุณภาพข้าวของไทย ซึ่งสามารถตอบสนองต่อมาตรการความปลอดภัยของอาหารตามเงื่อนไขของอิหร่าน นอกจากนี้ ยังเสนอให้อิหร่านใช้ไทยเป็นฐานในการกระจายสินค้าสู่กลุ่มประเทศ ASEAN+6 และ ASEM และให้ไทยเป็นแหล่งสำรองอาหาร (Food Security) ให้แก่อิหร่านและให้อิหร่าน เป็นแหล่งสำรองด้านพลังงาน (Energy Security) ให้กับไทย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศในระยะยาว รวมทั้งยินดีผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาการทำธุรกรรมการเงินผ่านการหารือระหว่างธนาคาร Center Bank of Iran (CBI) กับธนาคารแห่งประเทศไทย

     ด้านความร่วมมือเกี่ยวกับการท่องเที่ยว คณะฯ ได้เข้าพบนายรามานิ โมวาเฮด รองประธานฝ่ายการท่องเที่ยวขององค์กรส่งเสริมด้านวัฒนธรรม หัตถกรรมและการท่องเที่ยวอิหร่าน (Iran Heritage, Handicrafts & Tourism Organization) เพื่อเสนอแนวทางการใช้การท่องเที่ยวเชื่อมโยงสู่การค้า เช่น การท่องเที่ยวด้านกีฬา การท่องเที่ยวด้านการรักษาพยาบาล โดยไทยจะให้การสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนการยกระดับสินค้าท้องถิ่นหรือโอทอปให้แก่อิหร่าน เพื่อให้เกิดการสร้างรายได้ในท้องถิ่นต่อไป ฝ่ายอิหร่านได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า  ตามแผนโครงการระยะ 5 ปี รัฐบาลอิหร่านได้กำหนดให้มีการพัฒนาเมือง 26 แห่งให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ โดยจะต้องมีการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน การคมนาคม โรงแรมและศูนย์การค้า ซึ่งไทยสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวกับอิหร่านได้

   ในประเด็นเรื่องพลังงาน ฝ่ายไทยมองว่าอิหร่านจะเป็นแหล่งสำรองด้านพลังงานให้กับไทยได้ เนื่องจากราคาน้ำมันดิบของอิหร่านเมื่อรวมต้นทุนการผลิตและโลจิสติกส์แล้วยังมีราคาต่ำกว่าราคาตลาดในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ประมาณ 4050 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาเรล อย่างไรก็ตามนายซามานี นีอะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงปิโตรเลียมอิหร่านให้ข้อมูลกับคณะฯ ว่า กระทรวงปิโตรเลียมได้มอบหมายให้บริษัทเอกชนของอิหร่านเป็นผู้ดำเนินการส่งออกน้ำมันเท่านั้น  ในขณะเดียวกันผู้นำเข้าก๊าซรายใหญ่ของไทยได้ให้ความสนใจนำเข้าก๊าซจากอิหร่าน โดยกระทรวงปิโตรเลียมยินดีให้ประสานงานผ่านกระทรวงฯ โดยตรงได้

     ด้านการก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ถนน ที่พักอาศัย และโรงแรม หน่วยงาน New Town Development ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงถนนและพัฒนาเมืองได้วางแผนและออกแบบสร้างเมืองใหม่กว่า 17 แห่ง และเชิญให้ไทยเข้าร่วมเจรจาและประสานความร่วมมือกับอิหร่านในการก่อสร้าง โดยฝ่ายไทยจะเตรียมการทั้งในระดับรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) และระดับภาคเอกชน (บีทูบี) อีกทั้งสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ อยู่ระหว่างการเตรียมบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านการก่อสร้างร่วมกับหน่วยงาน New Town Development  เพื่อกำหนดกรอบและความชัดเจนในการทำงานร่วมกันต่อไป

   ฝ่ายอิหร่านได้เสนอให้มีการจัดประชุม Joint Commission (JC) ไทย อิหร่าน ครั้งที่ 9 โดยอิหร่านเป็นเจ้าภาพ (การประชุม JC ครั้งที่ 8 ในปี 2554 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ) เพื่อกระชับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การขยายความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างกันในอนาคต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เสนอให้จัดการประชุม JC ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มีกำหนดเดินทางเยือนอิหร่าน

   การเยือนสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านในครั้งนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดกิจกรรมคู่ขนาน ได้แก่ การจัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยจำนวน 53 ราย กับนักธุรกิจ  ผู้นำเข้าอิหร่านกว่า 300 ราย มียอดสั่งซื้อสินค้าทันที ประมาณ 3.6 ล้านบาท และมีมูลค่าคาดสั่งซื้อใน 1 ปี ประมาณ 260 ล้านบาท สินค้าที่มีแนวโน้มดีในตลาดอิหร่าน ได้แก่ Activate Carbon หรือ ถ่านกัมมันต์ สำหรับใช้เป็นฟิลเตอร์สําหรับสินค้าประเภทต่างๆ ตั้งแต่ก้นกรองบุหรี่ เครื่องปรับอากาศ จนไปถึงโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งโดยปกติจะใช้กะลามะพร้าวเป็นวัตถุดิบ ในการมาเจรจาธุรกิจครั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยได้รับความสนใจให้มาเปิดโรงงานผลิต Activate Carbon ที่ผลิตจากเปลือกวอลนัทในอิหร่าน ซึ่งตลาดอิหร่านมีความต้องการสูง อันเนื่องมาจากปัญหามลภาวะเป็นพิษ และเพื่อรองรับโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งคาดว่าจะมีอัตราเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับประเทศอิหร่านเป็นประเทศที่ปลูกวอลนัทรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง จึงมีเปลือกวอลนัทเหลือใช้เป็นจํานวนมาก

   นอกจากนี้ ผู้นำเข้ายางพาราอิหร่านได้ให้ความสนใจเจรจาการค้ากับชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรังซึ่งเป็นผู้ผลิตยางพาราธรรมชาติโดยตรง และคาดว่าจะมีมูลค่าการสั่งซื้อประมาณ 54 ล้านบาทภายใน 1 ปี เนื่องจากอิหร่านเป็นผู้ผลิตยางยานพาหนะรายใหญ่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง จึงมีความจําเป็นต้องนําเข้ายางพาราในปริมาณมาก ขณะที่สินค้าอาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารออร์แกนิก ได้รับการตอบรับที่ดีมากเช่นเดียวกัน ผู้นำเข้าอิหร่านได้ให้ความสนใจผลิตภัณฑ์น้ำผักผลไม้ ซุปสำเร็จรูป และผักอัดเม็ด

   ในปี 2557 ไทยส่งออกสินค้าไปยังอิหร่านมีมูลค่าทั้งสิ้น 322.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยางและยางพารา ข้าว เครื่องดื่ม เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และผลไม้กระป๋องและแปรรูป สำหรับในปี 2558  (มกราคม ตุลาคม) ไทยส่งออกไปยังอิหร่านมูลค่า 181.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!