- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Tuesday, 24 November 2015 21:07
- Hits: 3091
พาณิชย์ เผย ส่งออก ต.ค. ติดลบ 8.11% ส่งผลให้ 10 เดือนแรกปีนี้ ส่งออกติดลบ 5.32%
พาณิชย์ เผยมูลค่าการส่งออกของไทยในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐเดือนตุลาคม ยังคงลดลง 8.11% ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว และปัจจัยราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกหดตัวสูง ส่งผลให้ 10 เดือนแรกปีนี้ส่งออกติดลบ 5.32% แต่การส่งออกของไทยยังมีสถานการณ์ที่ดีกว่าประเทศอื่นๆ ในภาวะที่มูลค่าการค้าโลกชะลอตัว โดย IMF คาดการณ์ว่ามูลค่าการส่งออกของโลกทั้งปี 2558 จะหดตัวถึงร้อยละ -11.17 นอกจากนี้ไทยยังคงรักษาส่วนแบ่งตลาด (Market Share) และมีอันดับความสำคัญสูงขึ้นในทุกตลาดสำคัญ สะท้อนให้เห็นว่าความสามารถทางการแข่งขันของไทยไม่ได้ลดลงตามมูลค่าส่งออก อีกทั้งรายได้จากการส่งออกของไทยในรูปเงินบาทยังคงขยายตัวได้ดี จากการอ่อนค่าของเงินบาท ส่งผลให้ไทยยังคงได้ดุลการค้าสูงอย่างต่อเนื่อง
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภาวะการค้าระหว่างประเทศ เดือน ต.ค.58 การส่งออกมีมูลค่า 18,566 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 8.11% จากเดือน ต.ค.57
ขณะที่นำเข้ามีมูลค่า 16,465 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 18.21% จากเดือน ต.ค.57 โดยดุลการค้าเกินดุล 2,101 ล้านดอลล์
ส่วนช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-ต.ค.58) การส่งออกลดลง 5.32% มีมูลค่า 180,129 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าลดลง 11.27% มีมูลค่า 170,270 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
โดยดุลการค้าในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้เกินดุล 9,859 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ต.ค.-58 ม.ค. – ต.ค. 58
มูลค่า Growth (%YoY) มูลค่า Growth (%AoA)
(ล้านเหรียญฯ) (ล้านเหรียญฯ)
มูลค่าการค้า 35,031 -13.16 350,399 -8.31
ส่งออก 18,566 -8.11 180,129 -5.32
นำเข้า 16,465 -18.21 170,270 -11.27
ดุลการค้า 2,101 9,859
มูลค่าการค้าระหว่างประเทศในรูปของเงินเหรียญสหรัฐฯ การส่งออกเดือนตุลาคม 2558มีมูลค่า 18,566 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -8.11 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) ซึ่งสูงถึง 20,206 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากช่วงต้นปี 2557 การส่งออกชะลอตัวจากปัจจัยทางการเมือง และกลับมาฟื้นตัวในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2557 ส่งผลให้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 นี้ การส่งออกมีมูลค่าสูง และเป็นไตรมาสเดียวที่ขยายตัวเป็นบวก ที่ร้อยละ 1.58 (YoY) และระยะ 10 เดือน (ม.ค. – ต.ค. 58) มีมูลค่า 180,129 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -5.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (YoY) ในขณะที่การนำเข้าเดือนตุลาคม 2558 มีมูลค่า 16,465 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -18.21 (YoY) และระยะ 10 เดือน (ม.ค. – ต.ค. 58) มีมูลค่า 170,270 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -11.27 (YoY) ส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศเดือนตุลาคม 2558เกินดุล 2,101 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ระยะ 10 เดือน (ม.ค. – ต.ค. 58) เกินดุล 9,859 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตรหดตัวตามราคาสินค้าเกษตรโลก โดยภาพรวมเดือนตุลาคม 2558 ลดลงร้อยละ -10.3 (YoY) ตามทิศทางของราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสินค้าเกษตรส่งออกสำคัญอย่างยางพารา จะมีปริมาณส่งออกสูงขึ้น แต่ราคายังคงอยู่ในระดับต่ำ ทำให้มูลค่าการส่งออกหดตัวลง โดยยางพาราหดตัวร้อยละ -7.6 เช่นเดียวกับ ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และอาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ที่หดตัวสูงถึงร้อยละ -17.6 -11.4 และ -25.8 (YoY) ตามลำดับ ในขณะที่ ผลไม้สด แช่แข็ง และแห้ง น้ำตาลทราย ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และไก่แปรรูป ยังคงขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 26.9 5.4 6.0 และ 4.6 (YoY) ตามลำดับ
มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวลง โดยภาพรวมเดือนตุลาคม 2558 ลดลงร้อยละ -6.6 (YoY) ทั้งนี้ สินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทยคือรถยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 (YoY) ในขณะที่มูลค่าส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันดิบหรืออุตสาหกรรมที่มีโครงสร้างการใช้วัตถุดิบซึ่งมาจากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ลดลงต่อเนื่องจากปีก่อนหน้ามากตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว และมีแนวโน้มทรงตัวในระดับต่ำไปจนถึงสิ้นปี
ปัจจัยที่มีผลกระทบให้การส่งออกของไทยหดตัวต่อเนื่อง เป็นปัจจัยภายนอกที่สำคัญ ดังนี้
1) ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและตลาดคู่ค้าหลักในปัจจุบันที่ชะลอตัว โดยเฉพาะสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน โดยล่าสุด (ตุลาคม 2558) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ประกาศปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 เป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินในปี 2552 และเป็นระดับที่ต่ำกว่าการขยายตัวในปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 รวมไปถึงสถานการณ์ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกหดตัวสูง ส่งผลให้ภาพรวมการนำเข้าของเกือบทุกประเทศทั่วโลกหดตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเข้าของประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ ญี่ปุ่น (-20.6%) จีน (-18.8%) ฝรั่งเศส (-17.3%) เกาหลีใต้ (-16.6%) สหราชอาณาจักร (-10.1%) สหรัฐฯ (-3.9%)
2)ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง และไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัว โดยในเดือนตุลาคม 2558 ราคาน้ำมันดิบดูไบลดลงถึงร้อยละ -46.3 (YoY) ขณะที่ระยะ 10 เดือน (ม.ค. – ต.ค. 58) ลดลงร้อยละ -47.4 (YoY) ส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันยังคงมีทิศทางลดลงอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก
3)ราคาสินค้าเกษตรโลกปรับตัวลดลงมาก โดยเฉพาะในระยะ 10 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค. – ต.ค. 58) ราคาข้าวลดลงร้อยละ -10.3 (YoY) ยางพาราลดลงร้อยละ -19.8 (YoY) และน้ำตาลลดลงร้อยละ -7.8 (YoY) ส่งผลให้แม้ว่าไทยจะส่งออกในปริมาณไม่ต่ำกว่าเดิม แต่มูลค่าส่งออกลดลงมาก
จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้การค้าโลกรวมทั้งประเทศไทยอยู่ในภาวะชะลอตัว แต่เมื่อเปรียบเทียบสถานการณ์ส่งออกกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก พบว่าอัตราหดตัวของมูลค่าส่งออกของไทยยังจัดว่าอยู่ในระดับต่ำ โดยสถิติส่งออกล่าสุดถึงเดือนกันยายน 2558 เกือบทุกประเทศทั่วโลกมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกติดลบมากกว่าไทย อาทิ ออสเตรเลีย (-21.7%) ฝรั่งเศส (-13.7%) สิงคโปร์ (-14.6%) ญี่ปุ่น (-9.3%) เกาหลีใต้ (-6.6%) สหรัฐฯ (-6.1%) จากสถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนได้ว่าความสามารถทางการแข่งขันของไทยไม่ได้ลดลงตามมูลค่าส่งออก ประเทศไทยยังมีสถานการณ์การส่งออกอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าหลายประเทศ
ไทยยังคงรักษาส่วนแบ่งตลาด (Market Share) ในประเทศคู่ค้าสำคัญไว้ได้ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป (27) จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน อินเดีย และออสเตรเลีย เป็นต้น และส่วนแบ่งตลาดในปี 2558 ของไทยในประเทศคู่ค้าสำคัญมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นกว่าปี 2557 ดังนี้
ประเทศ/ %share 2555 2556 2557 2558
ญี่ปุ่น 2.67 2.65 2.68 3.17(ม.ค.-ก.ย.)
สหรัฐอเมริกา 1.15 1.15 1.16 1.26 (ม.ค.-ก.ย.)
สหภาพยุโรป (27) 0.94 1 1.09 1.12(ม.ค.-ส.ค.)
จีน 2.12 1.96 1.95 2.32 (ม.ค.-ก.ย.)
มาเลเซีย 5.88 5.95 5.8 5.90 (ม.ค.-ส.ค.)
สิงคโปร์ 2.67 2.49 2.39 2.67 (ม.ค.-ก.ย.)
ฮ่องกง 1.97 1.82 2.01 2.02 (ม.ค.-ส.ค.)
เกาหลีใต้ 1.03 1.02 1.02 1.12 (ม.ค.-ต.ค.)
ไต้หวัน 1.37 1.39 1.58 1.73 (ม.ค.-ก.ย.)
อินเดีย 1.11 1.17 1.23 1.45(ม.ค.-ส.ค.)
ออสเตรเลีย 4.21 4.74 4.31 4.91 (ม.ค.-ก.ย.)
แอฟริกาใต้ 2.64 2.73 2.39 2.47 (ม.ค.-ก.ย.)
รัสเซีย 0.66 0.66 0.78 0.78 (ม.ค.-ส.ค.)
ที่มา: World Trade Atlas, พฤศจิกายน 2558
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย