WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCอภรด ตนตราภรณรมว.พาณิชย์เผยประมงเมียนมาร์นิยมลงเรือที่ตลาดปลาระนองเหตุระบบโลจิสติกส์ดี

      นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันกลุ่มชาวประมงเมียนมาร์ที่ออกหาปลาในบริเวณเขตชายฝั่งตะนาวศรีของทะเลอันดามัน ซึ่งมีชายแดนทางทะเลติดต่อกับจังหวัดระนองของไทย นิยมนำเรือบรรทุกปลาที่จับได้มาขึ้นฝั่งที่ท่าเทียบเรือประมงระนอง เพราะมีระบบสิ่งอำนวยความสะดวก ระบบสาธารณูปโภค การบริหารจัดการที่ครบวงจรและมีประสิทธิภาพ เช่น โรงแช่เย็น โรงงานแปรรูปอาหารทะเล โรงงานกระป๋อง ถึงแม้จะเดินทางมาไกลและถูกกดราคาแต่ก็ยอม เพราะมีความสะดวกในแทบทุกด้าน และยังเป็นแหล่งรวมโรงงานแปรรูปอาหารทะเลเพื่อส่งออกที่ผู้ซื้อจากทั่วโลก อาทิ สิงคโปร์ มเลเซีย สก็อตแลนด์ เข้ามาซื้ออาหารทะเลแบบเหมา รวมถึงเป็นศูนย์กระจายสินค้าไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก

      เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดปลาในรัฐตะนาวศรี จะพบว่ายังขาดแคลนระบบโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกอีกมาก ซึ่งทั้งท่าเทียบเรือสะพานปลาภาครัฐและเอกชนในจังหวัดระนอง จะมีเรือประมงชาวเมียนมาร์มากกว่า 1,000 ลำ มาจอดเทียบท่าเพื่อขายปลาโดยเฉพาะปลาน้ำลึกราคาแพง เช่น ปลาเต๋าเต้ย ปลาเก๋า ปลากะพง ปลาจาระเม็ด และยังมีปลาอื่นๆเช่นปลาทู ปลาหมึก ปลาครืดคาด ปลาเบญจพรรณ์ เป็นต้น

    อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนของเมียนมาร์ในเกาะสองและรัฐตะนาวศรีก็มีความหวังว่า การพัฒนาเขตเศรษฐกิจทวาย จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาตลาดปลาและอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลในอนาคตได้ แต่ในขณะเดียวกันก็กำลังมองหาตลาดปลาในประเทศที่อยู่เมืองทางตอนเหนือ เช่น เมาะลำไย ย่างกุ้ง ซึ่งอาจจะช่วยให้ขายปลาได้ในราคาที่สูงขึ้นกว่าตลาดปลาในจังหวัดระนองของไทย

    สำหรับ การส่งออกสินค้าประมงของไทยในระยะ 9 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-ก.ย.58) มีมูลค่าส่งออกรวม 1,261 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่งออกไปมากที่สุดตามลำดับคือ กลุ่มอาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ส่วนปลาต่างๆที่ส่งออกไป เช่น ปลาหมึกสด/แช่เย็น/แช่แข็ง 222 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื้อปลาสด/แช่เย็น/แช่แข็ง 217 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  ปลาสด/แช่เย็น/แช่แข็ง 139 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปลาแห้ง 75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปลามีชีวิตและพันธุ์ปลา 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

                        อินโฟเควสท์

'พาณิชย์' ดันโชห่วยเข้า ตลท.

      บ้านเมือง : นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ ได้เข้าไปให้การสนับสนุนธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีกไทย เพื่อผลักดันเข้าตลาดหลักทรัพย์นั้น ขณะนี้บริษัท ธนพิริยะ จำกัด (มหาชน) หรือ TNP ที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ถือเป็นร้านค้าส่งค้าปลีกสัญชาติไทยรายแรกที่สามารถเข้าจดทะเบียนและระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ด้วยทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท โดยเริ่มเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2558

     อย่างไรก็ตาม จากความสำเร็จอย่างดีเยี่ยมในครั้งนี้ ได้สั่งการให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเร่งจัดทำ "ธนพิริยะโมเดล" เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาต่อยอดส่งต่อความสำเร็จแก่ธุรกิจค้าส่งค้าปลีก หรือธุรกิจ SMEs รายอื่นที่กระทรวงฯ ให้การสนับสนุน และให้สามารถเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ โดยได้ใช้กระบวนการบันได 3 ขั้น ทั้งนี้ ในการสร้างศักยภาพแก่ธุรกิจค้าส่งค้าปลีก ประกอบด้วย 1.สร้างองค์ความรู้และเสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจ ประกอบด้วย 1.1) จัดระบบการบริหารจัดการ 1.2) จัดระบบการจัดซื้อ 1.3) จัดระเบียบสินค้าคงคลัง 1.4) จัดหมวดหมู่สินค้า มีป้ายราคาชัดเจน 1.5) จัดร้านค้าให้สวย สะอาด สะดวก สว่าง และทันสมัย 2.ยกระดับการบริหารจัดการธุรกิจค้าส่งค้าปลีกเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน เทียบเคียงกับเกณฑ์มาตรฐาน TQM ทำให้มีการจัดการอย่างเป็นระบบ ลดการสูญเสีย ลดต้นทุน เพิ่มผลกำไร และ 3.เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจค้าส่งค้าปลีกและสร้างโอกาสทางการตลาด

      ทั้งนี้ ผลที่ได้รับจากการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจจะทำให้ร้านค้าส่งค้าปลีก 1) มีความทันสมัย ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคยุคใหม่ 2) สร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการท้องถิ่น 3) กระจายสินค้าอย่างทั่วถึง ผู้บริโภคซื้อสินค้าราคาประหยัดถึงร้อยละ 5-10 และ 4) เป็นช่องทางจำหน่ายสินค้า OTOP หรือสินค้าอื่นทำให้มีความหลากหลายของสินค้ามากขึ้น

     สำหรับ ธนพิริยะ ก่อตั้งในปี 2508 ใช้ชื่อ'โง้วทองชัย'ต่อมาในปี 2534 ได้พัฒนาเป็นมินิมาร์ท ชื่อว่า'พิริยะซุปเปอร์' และได้จดทะเบียนเป็น "ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธนพิริยะ" ในปี 2543 ด้วยทุนจดทะเบียน 3 แสนบาท ปี 2555 เข้ารับการส่งเสริมด้านการบริหารจัดการธุรกิจค้าส่งค้าปลีกกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อรับการพัฒนาอย่างครบวงจร และเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2558 ได้แปรสภาพเป็นบริษัท ธนพิริยะ จำกัด (มหาชน) ด้วยทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท

    ปัจจุบันร้านธนพิริยะมีร้านซูเปอร์มาร์เกต 11 สาขา ศูนย์ค้าส่ง 1 สาขา จำหน่ายสินค้าทั้งปลีกและส่ง โดยในปี 2559 หลังเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์มีแผนที่จะดำเนินการขยายศูนย์กระจายสินค้าจำนวน 1 แห่ง และขยายสาขาเพิ่มอีก 3 สาขา

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!