WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCสวทย เมษนทรยพาณิชย์ เล็งผลักดัน SMEs ธุรกิจค้าส่งค้าปลีก-แฟรนไชส์ขยายสู่ระดับภูมิภาค

        นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า แนวทางการส่งเสริมธุรกิจ SME ต่อจากนี้ จะเน้นเรื่องการนำพาธุรกิจดังกล่าวไปเชื่อมโยงกับโลก โดยเบื้องต้นจะเป็นการนำธุรกิจขนาดเล็กโดยเฉพาะค้าส่ง-ค้าปลีก และธุรกิจแฟรนไชส์ขยายออกไปสู่ระดับภูมิภาค หรือกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม เป็นต้น ซึ่งมูลค่าการค้าชายแดนถือว่าดีมาก และเชื่อว่าจะเป็นมิติใหม่ของการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนที่จะผลักดันธุรกิจ SME ไทยให้สามารถเติบโตไปได้ในอนาคต

        "วันนี้ ถือว่าเป็นมิติใหม่ของการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่จะสานฝันผลักดัน SME ให้มีความเข้มแข็ง ให้เกิดเป็นรูปธรรมได้ โดย บมจ.ธนพิริยะ ซึ่งมีความมุ่งมั่นและตั้งใจ สามารถขยายกิจการออกไปจนมียอดขายราว 1,200 ล้านบาท และมีมาร์เกตแคป 1,400 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดี และภาครัฐอยาจะส่งเสริม โดยวันนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมการค้าปลีกค้าส่งไทยให้สามารถจะเข้าไปเจาะตลาดเพื่อนบ้านได้" รมช.พาณิชย์ กล่าว

       พร้อมมองว่า การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องทำงานหนัก และอยู่ในธรรมาภิบาลที่ดี โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้จัดทำข้อมูลบริษัทที่มีศักยภาพหรือสามารถเป็นต้นแบบธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกไว้ ซึ่งขณะนี้ในธุรกิจค้าส่งมีจำนวน 88 ราย และธุรกิจค้าปลีกอีกราว 10,000 ราย โดยกระทรวงพาณิชย์มีนโยบายลงไปสู่ระดับร้านค้าชุมชน ตลาดชุมชน รวมถึงวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น และเชื่อว่าในอนาคตกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะผลึกกำลังร่วมกับกรมการค้าภายใน และหน่วยงานส่วนอื่นๆ ของกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเข้าไปสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

        นอกจากนี้ ได้ประเมินธุรกิจค้าปลีกค้าส่งที่ยังมีศักยภาพที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งคาดว่าจะมีอีก 2 บริษัท และมองไปถึงธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าจะมีศักยภาพอีกประมาณ 20 ราย

พาณิชย์ กางแผนส่งออกรุกเจาะตลาดเพิ่มมูลค่าการค้า

       แนวหน้า : นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ เตรียมเสนอแผนปฏิบัติการ(โรดแมป) ส่งออกจากที่ได้หารือร่วมกับเอกชนในอุตสาหกรรมต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป้าหมายการส่งออกในปี 2559 และแผนระยะ 3-5 ปีข้างหน้าต่อที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาการส่งออกแห่งชาติ(พกค.) ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 4 ธันวาคมนี้โดยตัวเลขเป้าหมายส่งออกปีหน้าเชื่อว่าจะเป็นบวก แน่นอน แต่คงยากที่จะเห็นการเติบโตเป็น ตัวเลข 2 หลักเช่นในอดีต เพราะสถานการณ์ โลกการค้าการลงทุนเปลี่ยนไปมาก

     แผนปฏิบัติการปี 2559 จะเน้นเจาะตลาดเฉพาะมากขึ้น รวมถึงเจาะเป็นกลุ่ม สินค้าและภาคบริการ โดยเฉพาะกลุ่มตลาด CLMV (เวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาว) จะเป็นเป้าหมายหลักที่จะขยายตัวไปพร้อมกับการค้าชายแดน และเขตเศรษฐกิจพิเศษตามนโยบายรัฐบาล หากไทยสามารถเข้าไปลงทุนหรือทำการค้าร่วมกับกลุ่ม CLMV ได้จะช่วยทำให้มูลค่าการค้าของไทยเพิ่มขึ้น และในอนาคตจะเป็นผลดีมากกว่าการค้าชายแดน

       ขณะเดียวกัน กระทรวงยังได้รับมอบหมายจากนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ให้มองภาพรวม และวางแผนการค้าการลงทุน ให้เป็นเป็นรูปธรรมใน 5 ปี จึงได้หารือ และมอบนโยบายผ่าน VDO conference ให้กับ สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สคร.) ในอาเซียน เพื่อเตรียมความพร้อมและวางแผนร่วมกัน ขณะเดียวกัน ในช่วงเดือนธันวาคมนี้จะมีการจัดคณะรัฐมตรี(ครม.)สัญจรไทย-กัมพูชา ซึ่งนายกรัฐมนตรีไทยจะพบปะกับนายกฯฮุนเซ็น ของกัมพูชา ซึ่งน่าจะมีผลดีต่อการค้าการลงทุนระหว่าง 2 ประเทศมากขึ้น

    นอกเหนือจากอาเซียน กระทรวง ยังมีแผนเจาะตลาดใหม่และสำคัญอย่างต่อเนื่อง ทั้ง ตลาดญี่ปุ่น คิวบา รัสเซีย อินเดีย จีน และอิหร่าน โดยนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ยังมีแผนจะเดินทางไปเยือนประเทศต่างๆ เพื่อสร้างความร่วมมือทางการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และความร่วมมือด้านต่างๆต่อกัน อาทิ รัสเซีย ซึ่งเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ และมีความต้องการสินค้าอาหารจึงน่าจะเป็นโอกาสของไทยและไทยเองก็ต้องการสินค้าพลังงานเช่นกันโดยในช่วงต้นปีหน้านายกรัฐมนตรีของไทย และประธานาธิบดีของรัสเซียอาจมีโอกาสได้พบปะกัน และน่าจะเกิดความมือระหว่างกันตามมา

   อีกทั้ง ในวันที่ 20-25 พฤศจิกายนนี้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และภาคเอกชน จะเดินทางไปประเทศอิหร่าน เบื้องต้นจะหารือถึงความร่วมมือในโครงการเมกะโปรเจกท์ การนำเข้าไก่สด เนื้อจากปศุสัตว์ รวมทั้งชิ้นส่วนยานยนต์ แฟชั่น สินค้าสุขภาพ และสปา และอาจรื้อฟื้นโครงการที่อิหร่านเคยเสนอไทยให้ใช้บาร์เทอร์เทรดข้าวกับน้ำมัน ซึ่งอาจขยายไปถึงสินค้ายางพารา ปีหน้ากระทรวงก็มีแผนจะไปเยือนคิวบาเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและขยายไปยังประเทศใกล้เคียง

     "ส่วนตลาดยุโรปแม้จะมีปัญหาเรื่องการก่อการร้าย ก็มองว่าไม่ได้กระทบต่อแผนผลักดันการส่งออก เพราะยุโรปมีศักยภาพการแข่งขันในตัวเองอยู่แล้ว"

พาณิชย์ เตรียมเสนอยุทธศาสตร์ส่งออกไทยในระยะ 3-5 ปี เชื่อปีหน้ากลับมาเป็นบวกได้

     นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ในวันที่ 4 ธ.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ(พกค.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเป็นนัดแรก โดยกระทรวงฯ จะนำเสนอยุทธศาสตร์การส่งออกของไทย และเป้าหมายการขยายตัวในปี 59 รวมถึงยุทธศาสตร์ในระยะ 3-5 ปี ซึ่งรวบรวมจากข้อเสนอแนะและแผนงานของภาคอุตสาหกรรม และทูตพาณิชย์ โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกในปี 59 จะขยายตัวเป็นบวกแน่นอน แต่คงไม่ใช่เลข 2 หลักเหมือนในอดีต เพราะภาวะการค้า การลงทุน และการเมืองโลกเปลี่ยนแปลงไปมาก

     "ในยุทธศาสตร์ส่งออกจะกำหนดตลาดเป้าหมายที่ไทยจะบุกเจาะ เน้นเป็นรายสินค้า และบริการ ขณะนี้ตลาดเป้าหมายอยู่ที่อาเซียน โดยเน้น CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) เป็นหลัก โดยจะเจาะตลาดเป็นเมือง อย่างกัมพูชามี 4 เมืองหลักคือ พนมเปญ เสียมราฐ พระตะบอง สีหนุวิลล์ โดยซีแอลเอ็มวีจะเจาะตลาดควบคู่ไปกับการค้าชายแดน เพื่อให้มูลค่าการค้า การลงทุนขยายตัวมากขึ้น" นายสุวิทย์ กล่าว

     นอกจากนี้ จะมีการบุกตลาดส่งออกในช่วงปลายเดือน พ.ย.นี้ โดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะนำคณะเดินทางไปเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ เพื่อขยายลู่ทางการค้า การลงทุน หลังจากนั้นจะเดินทางไปเยือนรัสเซีย อินเดีย และจีน ด้วย

              อินโฟเควสท์ 

พาณิชย์ เร่งเครื่องเดินหน้า Smart Online SMEs บุกตลาดโลกการค้าดิจิทัล

     กระทรวงพาณิชย์ เดินหน้าจัดโครงการพัฒนาศักยภาพการค้าออนไลน์เพื่อ SMEs แบบครบวงจร Smart Online SMEs (S.O.S) มอบกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจัดกิจกรรมนำร่อง Smart Online Exporter ภายใต้แนวคิด การค้าดิจิทัลไร้พรมแดน “Borderless Digital Trade”           

    นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการค้าออนไลน์ เพื่อติดอาวุธให้ SMEs อย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว มีเพียงการค้าออนไลน์เท่านั้นที่ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง  ตัวเลขล่าสุดที่สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) แถลงผลสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย พบว่า ในปี 2557 มูลค่าอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ไทย มีมูลค่ากว่า 2.03 ล้านล้านบาท พร้อมคาดการณ์ปี 2558 จะมีมูลค่าสูงถึง 2.1 ล้านล้านบาท กระทรวงพาณิชย์จึงต้องเร่งพัฒนาศักยภาพ SMEs ให้สามารถทำการค้าออนไลน์ได้อย่างจริงจัง โดยได้เปิดตัวโครงการบูรณาการพัฒนาศักยภาพการค้าออนไลน์เพื่อ SMEs แบบครบวงจร Smart Online SMEs (S.O.S) ไปเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่จังหวัดสงขลา อุดรธานี และกรุงเทพมหานคร

     ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มีแผนพัฒนา SMEs ด้านการค้าออนไลน์ ตั้งแต่ระดับเริ่มต้น ระดับกลาง จนถึงระดับสูง  ตลอดจนอบรมเชิงปฏิบัติการ พร้อมให้คำปรึกษาแก่ SMEs ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค มากกว่า 20 รุ่น/ ปี โดยในปี 2559 ตั้งเป้าว่าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย SMEs กว่า 3,000 ราย โดยได้เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าออนไลน์อย่างครบวงจร จากองค์กรที่มีชื่อเสียงชั้นนำระดับโลกอย่าง Search Engine Google Inc. USA ตลาดออนไลน์ Thaitrade.com ของกระทรวงพาณิชย์ Alibaba.com HKTDC.com TaiwanTrade.com.tw Tradekores.com สถาบันการเงิน ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด และ DHL Express Thailand มาให้ความรู้ติวเข้มผู้ประกอบการไทย จากการประเมินผู้เข้าร่วมงานได้ผลตอบรับที่ดีมาก SMEs เห็นว่าเป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ได้ความรู้และคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญระดับกูรูแบบที่แตกต่างจากการอบรมสัมมนาอื่นๆ SMEs สามารถนำความรู้และเทคนิคที่ได้รับไป  ต่อยอดทำการค้าออนไลน์ได้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SMEs ในภูมิภาคขอให้จัดกิจกรรมอย่างนี้ในภูมิภาคอย่างต่อเนื่องต่อไป

   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การดึงกลุ่มองค์กรสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการค้าออนไลน์ตั้งแต่  ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ มาให้ความรู้กับผู้ประกอบการไทยได้เรียนรู้โดยตรงจากผู้บริหารองค์กรชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีบทบาทต่อการขับเคลื่อนกลไกในการทำธุรกิจแบบดิจิทัล ถือได้ว่าเป็นการรวบรวมองค์ความรู้อย่างครบวงจรให้แก่ผู้ประกอบการไทยไว้ในงานเดียว เป็นคำตอบให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการทำการค้าออนไลน์ได้อย่างครบวงจร กล่าวคือการเตรียมพร้อมผู้ประกอบการในการโปรโมทสินค้าและบริการผ่านทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งต่อไปยังการพัฒนาเนื้อหาที่ผู้ซื้อสามารถค้นหาและเข้าถึงได้ผ่าน Search Engine และเมื่อมีคำสั่งซื้อ ผู้ประกอบการสามารถใช้ระบบการชำระเงินกับสถาบันการเงิน และส่งสินค้ากับผู้ให้บริการ โลจิสติกส์ และจากผลตอบรับที่ดีมากของโครงการนำร่องนี้ กระทรวงพาณิชย์จะเร่งดำเนินโครงการ S.O.S. ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นและครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค เพื่อช่วย SMEs นำความรู้และเทคนิคที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!