- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Saturday, 14 November 2015 15:23
- Hits: 2065
ไทยเสียแชมป์ส่งออกข้าวอินเดีย เบียดตกหลังครอง 1 ปีธกส.ชู 3 มาตรการพยุงราคา
ไทยโพสต์ * กระทรวงเกษตรสหรัฐประเมินอินเดียส่งออกข้าวได้ 11.5 ล้านตัน ขึ้นอันดับ 1 เบียดไทยเสียแชมป์ หลังครองได้ปีเดียว พาณิชย์มั่นใจมาตรการซื้อเก็บ จำนำที่ยุ้งฉาง ดันราคาหอมมะลิไม่ให้ตกต่ำ ด้าน ธ.ก.ส.เดินเครื่อง 3 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าว ไทย เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตร สหรัฐ (USDA) ได้ประเมินตัว เลขการส่งออกข้าวของปี 2558 คาดว่าอินเดียจะส่งออก 11.50 ล้านตัน ทำให้กลับมาเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลก รองลงมา ไทย ส่งออกได้ 9 ล้านตัน ลงมาอยู่อันดับ 2 จากปี 2557 ที่ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 10.97 ล้านตัน ส่วนเวียดนามส่งออกอันดับ 3 ปริมาณ 6.2 ล้านตัน และปากีสถาน 4 ล้านตัน อันดับ 4
เป็นผลจากการที่อินเดียมีสต็อกข้าวภายในประเทศถึง 30 ล้านตัน ทำให้ไม่มีพื้นที่เก็บ ต้องระบายออก เหมือนกับไทยที่มีสต็อก 18 ล้านตัน ส่งผลให้ทั้ง 2 ประเทศมีสต็อกรวมกัน 40-50 ล้านตัน เกินปริมาณการค้าข้าวโลกที่มี 35 ล้านตันต่อปี และยังส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดไม่สามารถปรับตัวสูงขึ้นได้
ทั้งนี้ USDA ประเมินว่าในปี 2559 ไทยและอินเดียจะส่งออกข้าวในปริมาณเท่ากันที่ 9.5 ล้านตัน ซึ่งต้องติดตามสถานการณ์ผลผลิตข้าวของ 2 ประเทศอย่างใกล้ชิด เพราะอาจจะลดลงจากผลกระทบภัยแล้ง
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สำรวจผลผลิตข้าวนาปี ปีการผลิต 2558/59 ที่ จ.อุบลราชธานี พบว่าช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. เป็นช่วงที่ข้าวเปลือกหอมมะลิจะออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 6 ล้านตันข้าวเปลือก ซึ่งรัฐบาลมั่นใจว่าจะสามารถดูแลราคาข้าวเปลือกไม่ให้ตกต่ำได้ เพราะได้มีมาตรการช่วยเหลือ โดยการรับจำนำยุ้งฉางตันละ 1.35 หมื่นบาท บวกค่าฝากเก็บตันละ 1 พันบาท วงเงิน 2.67 หมื่นล้านบาท เริ่มดำเนินการ 1 พ.ย.2558-28 ก.พ.2559 เพื่อดูดผลผลิตออกจากตลาด มีเป้าหมาย 2 ล้านตัน
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ธ.ก.ส.ได้ออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในการดูแลรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก นาปี ปีการผลิต 2558/59 ทั้งสิ้น 3 โครงการ
ได้แก่ 1.โครงการลดดอก เบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่มีหนี้เงินกู้เพื่อการผลิตข้าวปี การผลิต 2558/59 รายละไม่เกิน 8 หมื่นบาท จะได้รับการลดดอกเบี้ย 3% ต่อปี ระยะเวลาการลดดอกเบี้ยไม่เกิน 6 เดือน โดยรัฐบาลชดเชยดอก เบี้ยเงินกู้ให้แก่ ธ.ก.ส.แทนเกษตรกร
2.โครงการสินเชื่อเพื่อรวบ รวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2558/59 โดย ธ.ก.ส.ให้สินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ได้แก่ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกเพื่อการจำหน่าย และเพื่อการแปรรูป วง เงินสินเชื่อ 1.25 หมื่นล้านบาท ธ.ก.ส.คิดอัตราดอกเบี้ยจากสถา บันเกษตรกรในอัตรา 2% ต่อปี รัฐบาลรับภาระดอกเบี้ยแทนสถาบันเกษตรกรอีก 2% ต่อปี
3.โครงการสินเชื่อชะลอ การขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2558/59 ระยะเวลา 4 เดือน ตั้งแต่ พ.ย.2558-ก.พ.2559 โดย ธ.ก.ส.จะจ่ายสินเชื่อชะลอการขายผลผลิตให้แก่เกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร โดยใช้ข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกเหนียวเป็นหลักประกัน เป้าหมาย 2 ล้านตันข้าวเปลือก ในเขตพื้นที่ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ วงเงินสินเชื่อ