WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCผองพรรณ เจยรวรยะพนธเร่งกม.'นิติบุคคลคนเดียว'พาณิชย์หวังดึง SME 2.8 ล้านรายเข้าระบบ

     แนวหน้า : น.ส.ผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรม ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.การจัดตั้ง นิติบุคคลโดยบุคคลคนเดียว พ.ศ. ...โดยได้ระดมความคิดเห็นทั้งจากภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา นักวิชาการ สำนักงานบัญชีและกฎหมายและสื่อมวลชน ซึ่งทุกฝ่ายต่างเห็นด้วยที่จะให้มีกฎหมายฉบับนี้ เพราะจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) สามารถสร้างธุรกิจเป็นของตนเองได้ง่ายขึ้น ก่อนนำเสนอ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อพิจารณา ในเดือนหน้าและหลังจากนั้นจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และเสนอให้ คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ก่อนเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเนื่องจากกม.นี้ อยู่ภายใต้ นโยบายรัฐบาลที่ต้องการจะขับเคลื่อนการลงทุนขนาดเล็ก กระตุ้นธุรกิจเอสเอ็มอี แสดงตัวตนและเข้ามาสู่ในระบบมากขึ้น ซึ่งจะมีผลดี ต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น

      "กฎหมายฉบับนี้ อยู่ในกฎหมายที่รัฐบาลจะพิจารณาเร่งด่วนซึ่งคาดว่าน่าจะสามารถบังคับใช้ได้ทันในปีหน้า ซึ่งจะทำให้ยอดการจดทะเบียนนิติบุคคลเพิ่มจำนวนขึ้นอีกเท่าตัว โดยจะเพิ่มจาก 6 แสนรายเป็น 1.2 ล้านรายในอีก 2 ปีข้างหน้า หลังจากกฎหมายผ่านสภาฯ โดยกฎหมายฉบับนี้ มีหลักการที่สำคัญ เพื่อชักจูงให้ SMEs กว่า 2.8 ล้านราย เข้าสู่ระบบการจดทะเบียนนิติบุคคล และอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจ ลดต้นทุนจึงอนุญาตให้บุคคลคนเดียวสามารถขอจัดตั้งเป็นนิติบุคคลได้ โดยจะอนุญาตให้จัดตั้งได้แค่นิติบุคคลเดียว แต่หากต้องการจะไปถือหุ้นเพิ่ม กับนิติบุคคลอื่น ก็สามารถทำได้ แต่มาจดเพิ่ม ไม่ได้"

     สำหรับ กรณีที่นิติบุคคลปัจจุบันที่เคยยื่นจดอยู่ 3 คน จะถอยหลังมายุบเหลือ กรรมการคนเดียวจะทำไม่ได้ กฎหมายปัจจุบันนี้ การจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลกำหนดให้ห้างหุ้นส่วนต้องมีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และบริษัทต้องมีผู้เริ่มก่อการไม่น้อยกว่า 3 คน ซึ่ง ขั้นตอนนี้อาจเกิดความไม่สะดวกแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ติดปัญหาบางประการกับการหาผู้ร่วม ทำธุรกิจ นำไปสู่ปัญหาการถือหุ้นแทนกัน (นอมินี) จนเกิดข้อพิพาทต่างๆ ตามมามากมาย

    ทั้งนี้ จากสถิติของกรม พบว่า นิติบุคคลส่วนใหญ่ ที่จัดตั้งขึ้นมามี กรรมการ 3-4 คน มีสัดส่วน 72% ของ จำนวนนิติบุคคลทั้งหมด และพบว่าในทางปฏิบัติ มีผู้ถือหุ้นคนเดียวที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดย 60% พบว่า ถือหุ้นเกิน 90% ดังนั้น การมี พ.ร.บ.การจัดตั้งนิติบุคคลโดยบุคคลคนเดียวจะเป็นกฎหมายสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์จะดำเนินธุรกิจด้วยตนเองได้มีโอกาสจัดตั้งธุรกิจ ลดปัญหาความขัดแย้ง ทางธุรกิจ และยังสามารถทำให้บุคคล คนเดียวที่ต้องการจะทำธุรกิจสามารถจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจได้ง่ายขึ้น ลดต้นทุนการจ้างพนักงานบัญชี โดยสามารถจ้างผู้ตรวจสอบ บัญชี มืออาชีพข้างนอกที่ได้รับการรับรองจาก กรมได้ และยังสะดวกในการบริหารจัดการ และยังสามารถจดเลิกง่าย และหากเลิกแล้วก็สามารถทำธุรกิจเกิดใหม่ได้ในขณะที่หากมีกรรมการหลายคน หากมีปัญหาขัดแย้งกันจะมีการฟ้องร้องใช้เวลานานที่จะเริ่มธุรกิจได้ใหม่

     รวมทั้ง ยังทำให้กฎหมายการจัดตั้งธุรกิจของประเทศไทยได้พัฒนาก้าวทันแนวทางการ จดทะเบียนของโลกที่มีแนวโน้มการใช้กฎหมายในรูปแบบนี้อย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่ประเทศ ที่พัฒนาแล้วจะมีกฎหมายที่จะดูแลธุรกิจ รูปแบบต่างๆ ไว้ซึ่งจะกำหนดมาตรฐานไว้แตกต่างกัน โดยขณะนี้ในต่างประเทศที่มีกฎหมายจัดตั้งนิติบุคคลโดยบุคคลคนเดียวแล้วมี 12 ประเทศ เช่น อังกฤษ, สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์, อินเดีย, นิวซีแลนด์ แคนาดา เนเธอร์แลนด์  และในอาเซียน คือ เวียดนาม และสิงคโปร์ ส่วนมาเลเซียกำลังศึกษาอยู่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!