WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCสวทย เมษนทรยพาณิชย์ วืดเข้า TPP ไม่กระทบส่งออกแจงติดลบเหตุศก.โลกซบหนุนธุรกิจรุกลงทุน CLMV

     ไทยโพสต์ : นนทบุรี * พาณิชย์ ชี้ 12 ประเทศบรรลุข้อตกลง TPP ไม่กระทบการส่งออกของไทยในทันที 'สุวิทย์' แจงส่งออกหด เป็นผลจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เตรียมแผนผลักดันรายกลุ่ม พร้อมดันธุรกิจไทยไปลงทุนต่างประเทศ เน้น CLMV เร่งปรับทัพทูตพาณิชย์ ดึงคนเก่งลงตลาดอาเซียน จีน อินเดีย

    นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า หลังจากที่ 12 ประเทศได้บรรลุข้อตกลงความตกลงหุ้นส่วนยุทธ ศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) ยังไม่เกิดผลกระ ทบต่อการส่งออกของไทยในทันทีและรุนแรง เพราะร่างข้อตกลงขั้นสุดท้ายยังไม่แล้วเสร็จ ทำให้ไม่ทราบว่าความตกลงการเปิดตลาดขั้นสุดท้ายเป็นอย่างไร และเปิดมากน้อยแค่ไหน

    ส่วนกรณีการเข้าร่วมข้อตกลง TPP นั้น ไทยต้องหารือกันก่อนว่าจะเข้าร่วมข้อตกลงหรือไม่ โดยต้องประเมินข้อดีข้อเสียก่อน เพราะทางสมาชิก TPP ปัจจุบัน ไม่ได้ขัดข้องที่จะให้ไทยเข้าเป็นสมาชิก

      นายสุวิทย์กล่าวว่า การส่งออกของไทยชะลอตัวในขณะนี้ มีผลกระทบมาจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ซึ่งกระทรวงพาณิชย์กำลังจัดทำแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อผลักดันการส่งออกของไทย

    ทั้งนี้ ในระยะสั้น จะเร่งหารือกับภาคเอกชนในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ อาหาร เพื่อประเมินแผนผลักดันการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้ รวมถึงแก้ไขปัญหาอุปสรรคสำคัญๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ จะใช้ผลการหารือที่ได้ดำเนินมาก่อนหน้านี้ ในสมัย พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ เป็น รมว.พาณิชย์ มาปรับให้เหมาะสม

     "จะมีกิจกรรมที่จะเห็นผลในทางปฏิบัติ ทั้งการผลักดันการส่งออก และการแก้ไขอุปสรรคที่มีอยู่ เพื่อให้การค้าคล่องตัวให้มากที่สุด แต่หวังว่าจะให้การส่งออกกลับมาฟื้นตัวทันทีคงไม่ได้ เพราะปัญหาของการส่งออกอยู่ที่เศรษฐกิจโลก ซึ่งคงทำอะไรมากไม่ได้ แต่ที่ยังดีอยู่คือ ส่วนแบ่งตลาดไทยยังขยายตัวได้ จึงต้องรักษาส่วนนี้ให้ดีต่อไป" นายสุวิทย์กล่าว

     สำหรับ แผนระยะยาว จะใช้โอกาสที่เศรษฐกิจโลกซบเซา มาเร่งผลักดันโครงสร้างการค้าระหว่างประเทศของไทยให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก โดยกลไกที่สำคัญที่สุดคือ ภาคเอกชนต้องพร้อมปรับตัว

      เบื้องต้นได้ร่วมมือกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จัดทำแผนส่งเสริมเอกชนไทยโดยเฉพาะเอสเอ็มอี ให้ออกไปลงทุนในต่างประเทศ เน้นกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) เพราะมีแต้มต่อที่สินค้าไทยเป็นที่นิยมในตลาดอยู่แล้ว โดยมีส่วนแบ่งตลาดสิน ค้าไทยเฉลี่ยมากกว่า 50% แต่หากไม่ดำเนินการอะไร ทิศทางส่วนแบ่งตลาดจะลดลงจากสินค้าของจีน อินเดียและเกาหลี ที่เริ่มเข้าไปทำตลาด

     นอกจากนี้ ยังได้ปรับโครง สร้างการทำงานของทูตพาณิชย์ให้สอดคล้องกับแผนการส่งเสริมและผลักดันการส่งออก ที่จะมุ่งเน้นตลาดอาเซียน จีน อินเดีย โดย จะปรับเอาทูตพาณิชย์ที่มีความรู้ ความสามารถมาประจำการในตลาดเหล่านี้ ซึ่งขณะนี้กำลังพิจารณาอยู่ และยังจะเพิ่มแรงจูงใจ โดยปรับให้ทูตพาณิชย์ในตลาดอาเซียนเป็นซี 9 ทั้งหมดด้วย

     ส่วนทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในตลาดอื่นๆ จะมีการประเมินผลการทำงาน ต้องมีตัวเลขเพิ่มขึ้น ทั้งด้านการค้า การค้าบริการ และการลงทุนรวมถึงภาคการท่องเที่ยว หากไม่เป็นไปตามเป้าหมายต้องปรับเปลี่ยน ให้ไปทำงานอื่นแทน.

ฮิลลารี คลินตัน คัดค้านข้อตกลง TPP ชี้ไม่เป็นผลดีต่อชาวอเมริกัน

      นางฮิลลารี คลินตัน ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐจากพรรคเดโมแครต ได้แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยต่อข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) ซึ่งกำลังเป็นประเด็นพิพาท หลังได้มีการบรรลุข้อตกลงดังกล่าวเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาระหว่างสหรัฐกับประเทศแถบแปซิฟิกอีก 11 ประเทศ

      "ณ ขณะนี้ดิฉันไม่สนับสนุนข้อตกลงดังกล่าวหลังจากที่ได้ไปศึกษามา" นางคลินตันกล่าวในรายการ PBS NewsHour โดยเธอไม่เชื่อว่าข้อตกลงนี้จะช่วยสร้างงานที่ดีให้กับชาวอเมริกัน อีกทั้งไม่น่าจะมีบทบาทในการเพิ่มค่าจ้างและยกระดับความมั่นคงของประเทศ

     นางคลินตัน เปิดเผยว่าเธอรู้สึก 'วิตกใ' ในเรื่องของการปั่นค่าเงิน (currency manipulation) ซึ่งไม่ได้รับการบรรจุอยู่ในข้อตกลงดังกล่าว พร้อมเสริมว่า "บริษัทเภสัชภัณฑ์อาจได้รับผลประโยชน์มากขึ้น ขณะที่ผู้ป่วยและผู้บริโภคอาจเสียผลประโยชน์"

    การแสดงจุดยืนคัดค้านของนางคลินตันเกิดขึ้น หลังรัฐบาลสหรัฐได้พยายามโน้มน้าวให้สภาคองเกรสและประชาชนยอมรับข้อตกลงการค้าดังกล่าว โดยข้อตกลง TPP จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติโดยเสียงข้างมากในสภาผู้แทนฯและวุฒิสภา

      แม้ว่า รัฐบาลสหรัฐโน้มน้าวว่าข้อตกลงร่วมกับประเทศแถบแปซิฟิกเป็นหนทางในการสร้างงานและวางกฎระเบียบด้านการค้าระหว่างประเทศ แต่บรรดาสหภาพแรงงาน กลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อม องค์กรด้านการดูแลผู้บริโภคและบริการสุขภาพทั่วประเทศต่างแสดงจุดยืนคัดค้านเนื่องด้วยความวิตกหลายประการ

      "เรารู้สึกผิดหวังที่ทางผู้เจรจาของเราได้เร่งรัดสรุปข้อตกลง TPP ที่แอตแลนต้า เมื่อพิจารณาถึงประเด็นวิตกที่ชาวอเมริกันผู้ถือผลประโยชน์และสมาชิกสภาคองเกรสได้หยิบยกขึ้นมา" นายริชาร์ด ทรัมก้า ประธานสหภาพ AFL-CIO ซึ่งมีอิทธิพลเป็นอย่างมากระบุในแถลงการณ์ "เราจะประเมินรายละเอียดอย่างรอบคอบ และจะโค่นล้มข้อตกลงการค้านี้หากพิจารณาแล้วไม่สมควร"

   ด้านสมาชิกพรรครีพับลิกันที่มีอิทธิพลและสนับสนุนนโยบายการค้าบางรายก็ได้ตั้งข้อสงสัยต่อข้อตกลงการค้านี้เช่นกัน

    นายออร์ริน แฮตช์ วุฒิสมาชิกจากพรรครีพับลิกันประจำคณะกรรมการการเงินแห่งวุฒิสภาซึ่งมีอำนาจเหนือการค้า กล่าวว่า "ขณะที่รายละเอียดยังคงปรากฎให้เห็น แต่น่าเสียดายที่ผมเกรงว่าข้อตกลงดังกล่าวดูไม่เป็นไปตามที่คาด"

      กลุ่ม 12 ประเทศรอบมหาสมุทรแปซิฟิก ได้บรรลุข้อตกลงการค้าเสรีระดับภูมิภาคแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้เกิดเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และจะกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศใหม่ๆในด้านการค้าและการลงทุน

    กลุ่มประเทศหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ซึ่งนำโดยสหรัฐ มีสัดส่วนราว 40% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทั่วโลก

     เนื่องจากปธน.โอบามาจำเป็นต้องแจ้งสภาคองเกรสเป็นเวลาอย่างน้อย 90 วันก่อนที่จะมีสิทธิลงนามในข้อตกลง TPP แต่ข้อตกลงดังกล่าวยังมีหนทางอีกยาวไกลกว่าที่ทางสภาคองเกรสจะอนุมัติข้อตกลงนี้

     เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าจาก Public Citizen คาดการณ์ว่า สภาคองเกรสน่าจะเปิดการลงคะแนนเพื่ออนุมัติข้อตกลง TPP อย่างเร็วที่สุดเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจะเปิดฉากขึ้นในรัฐที่มีการลงคะแนนโหวตก่อนอย่างไอโอวาและนิวแฮมพ์เชอร์

       ด้านผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีหลายรายจากทั้งพรรครีพับลิกันและแดโมแครตได้เริ่มกล่าวโจมตีข้อตกลง TPP ซึ่งก่อให้เกิดกระแสวิตกต่อการว่างงานในสหรัฐ

     และเนื่องจากข้อตกลง TPP อาจกลายเป็นประเด็นร้อนแรงในการหาเสียงชิงตำแหน่งผู้นำประเทศ ทางสภาคองเกรสอาจประสบกับความยากลำบากในการอนุมัติข้อตกลงดังกล่าวในปีหน้า

    ทั้งนี้ สมาชิกหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ประกอบด้วยประเทศออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ สหรัฐและเวียดนาม สำนักข่าวซินหัวรายงาน

คาดเวียดนามได้อานิสงส์สูงสุดจาก TPP เหตุเอื้อส่งออกสิ่งทอ,รองเท้า

      สหรัฐและอีก 11 ประเทศรอบมหาสมุทรแปซิฟิกได้บรรลุข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) เมื่อวันจันทร์ ซึ่งจะทำให้เกิดเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก หลังการเจรจามานานกว่า 5 ปี

      ผู้เชี่ยวชาญมองว่าเวียดนามจะเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากข้อตกลงดังกล่าว เนื่องจากจะสามารถส่งออกสิ่งทอ และรองเท้าไปยังสหรัฐ และประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ โดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า

     ส่วนผู้ผลิตรถยนต์ และอะไหล่ของญี่ปุ่น รวมทั้งอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิค และเซมิคอนดักเตอร์ของมาเลเซีย ก็จะได้อานิสงส์เช่นกันจากข้อตกลงนี้

    ถึงแม้ว่า ทั้ง 12 ประเทศบรรลุข้อตกลง TPP ในวันจันทร์นี้แล้ว แต่รัฐสภาของแต่ละประเทศก็จะต้องให้การรับรองข้อตกลงดังกล่าวก่อน จึงจะมีผลบังคับใช้ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาหลายเดือน โดยเฉพาะการรับรองของรัฐสภาญี่ปุ่นและสหรัฐนั้น คาดว่าจะยังไม่เกิดขึ้นภายในปีนี้

          อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!