WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOC Somkiatพาณิชย์ เผยเงินเฟ้อทั่วไปเดือนก.ย.อยู่ที่ -1.07% ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 พร้อมมองเงินเฟ้อปีนี้อยู่ที่ -0.2 ถึง -1.0%

    พาณิชย์ เผยเงินเฟ้อทั่วไป เดือนก.ย. ลบ 1.07% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 57 พบลดลงเป็นเดือนที่9 ติดต่อกัน หลังราคาพลังงานลดลง ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้น 0.96% พร้อมมองเงินเฟ้อปีนี้อยู่ที่-0.2 ถึง-1.0% มั่นใจยังไม่มีความเสี่ยงเกิดภาวะเงินฝืด 

   นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและ ยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป(CPI) ในเดือน ก .ย.ที่ 106.28 ลดลง 1.07% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ใกล้เคียงกับที่โพลล์รอย เตอร์คาดไว้ ลดลง 1.08% ซึ่งเป็นการปรับลงเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน โดยเป็นผล จากราคา น้ำมันขายปลีกในประเทศ ราคาก๊าซหุงต้ม และค่าไฟฟ้า ที่ลดลง อีกทั้งราคาอาหารสดประเภทผักสดและผลไม้บางชนิด ปรับลงเช่น กัน ขณะที่เมื่อเทียบเดือนก่อนหน้า CPI ในเดือนก.ย.ลด ลง 0.05%       

  ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน(Core CPI) ซึ่งไม่รวมหมวด อาหารสด และพลังงาน ในก.ย.อยู่ที่ 106.03 เพิ่มขึ้น 0.96% จากช่วงเดียวกันของ ปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.07% จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่โพลล์รอยเตอร์คาดไว้เพิ่ม ขึ้น  0.90% เมื่อเทียบรายปี            

  ส่วนช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ลด ลง 0.90% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เพิ่มขึ้น 1.12% จากช่วงเดียวกันของปีที่ ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ ยังปรับลดคาดการณ์เงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้ เป็น ลบ 0.2%  ถึงลบ 1.0% จากเดิมคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.6-1.3%    

 "แม้อัตราเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่อง แต่ความ เสี่ยงที่จะเกิด ภาวะเงินฝืดยังอยู่ในระดับต่ำ และคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะปรับตัวดี ขึ้น จากมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน"นายสมเกียรติ กล่าว

  โดยเอกสารเผยแพร่ของกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนกันยายน 2558 เท่ากับ 106.28 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2558 ลดลงร้อยละ 0.05 (MoM) ( เดือนสิงหาคม 2558 ลดลงร้อยละ 0.23 ) เทียบกับเดือนกันยายน 2557 อัตราเงินเฟ้อลดลงร้อยละ 1.07 (YoY) (เดือนสิงหาคม 2558 ลดลงร้อยละ 1.19 ) และเทียบเฉลี่ย 9 เดือน ( มกราคมกันยายน ) 2558 กับระยะเดียวกันของปี 2557 ลดลงร้อยละ 0.90 (AoA) จากการปรับราคาลดลงของน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ และค่าโดยสารสาธารณะ โดยการปรับโครงสร้างราคาก๊าซแอลพีจีและอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลให้ราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มปรับตัวลดลง

     รวมทั้ง ค่ากระแสไฟฟ้าปรับลดลงตามอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft) จากมติของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) งวดประจำเดือน ก.ย.58-ธ.ค.58 เท่ากับ 46.38 สตางค์ต่อหน่วย และอาหารสดประเภทผักสดและผลไม้บางชนิดปรับตัวลดลงเช่นกัน ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปไม่รวมกลุ่มราคาอาหารสดและพลังงาน ) ยังคงขยายตัวสูงขึ้นที่ร้อยละ 0.96 (YoY) ทั้งนี้ มีสินค้าที่ราคาสูงขึ้น 184 รายการ ทรงตัว 160 รายการ และลดลง 106 รายการ สำหรับเงินเฟ้อที่ติดลบต่อเนื่อง ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเงินฝืดยังอยู่ในระดับต่ำ และคาดว่าภาวะเศรษฐกิจไทยจะปรับตัวดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน

    การเคลื่อนไหวของดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกันยายน 2558 โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.11 (MoM) ตามการสูงขึ้นของราคาอาหารสด ได้แก่ เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ต้นหอม หัวหอมแดง ส้มเขียวหวาน มะนาว และอาหารโทรสั่ง (delivery)  สำหรับสินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ ผักและผลไม้บางชนิด เช่น ผักบุ้ง มะเขือ ผักกาดขาว กะหล่ำปลี พริกสด แตงกวา มะระจีน เงาะ องุ่น ฝรั่ง ลองกอง แตงโม ลำไย สับปะรด และน้ำมันพืช

  สำหรับ หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.14 (MoM) จากการลดลงของราคา แก๊สโซฮอล์ 91 95 E20 น้ำมันเบนซิน 95 ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ก๊าชยานพาหนะ (LPG)ค่าโดยสารรถประจำทางปรับอากาศชั้น 1 และ 2 ค่าโดยสารรถประจำทางไม่ปรับอากาศ วิ่งระหว่างจังหวัด

  แป้งผัดหน้า แป้งทาผิวกาย และน้ำยาล้างห้องน้ำ สำหรับสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ น้ำมันดีเซล ก๊าซธรรมชาติ (NGV)  ค่าเช่าบ้าน ค่าตรวจโรคคลินิกเอกชน สบู่ถูตัว ยาสีฟัน และน้ำยาระงับกลิ่นกาย

ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2558

   จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 450 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์  เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษาและการศาสนา  ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ สรุปได้ดังนี้

   1.ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2558

 ปี 2554  ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100  และเดือนกันยายน 2558 เท่ากับ 106.28 (เดือนสิงหาคม 2558 เท่ากับ 106.33 )

   2.  การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2558 เมื่อเทียบกับ

   2.1  เดือนสิงหาคม  2558     ลดลงร้อยละ   0.05       

   2.2 เดือนกันยายน 2557     ลดลงร้อยละ   1.07

   2.3  เทียบเฉลี่ย 9 เดือน ( มกราคม กันยายน ) 2558 กับระยะเดียวกันของปี 2557 ลดลงร้อยละ 0.90

   3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2558 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2558 ลดลงร้อยละ 0.05  ( เดือนสิงหาคม 2558 ลดลงร้อยละ 0.23 ) ตามการลดลงของดัชนีราคาหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 0.14 ขณะที่ดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.11

   3.1  ดัชนีราคาหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.05 ( เดือนสิงหาคม 2558 ลดลงร้อยละ 0.39 ) โดยมีสินค้าและบริการสำคัญๆ ที่มีราคาลดลง ดังนี้

รายการสินค้า        ร้อยละ (ก.ย.58/ส.ค.58)

ค่ากระแสไฟฟ้า     -0.94

ก๊าซหุงต้ม               -2.47

แป้งทาผิวกาย       -0.54

ค่าโดยสารรถประจำทางปรับอากาศชั้น 1          -1.34

ค่าโดยสารรถประจำทางปรับอากาศชั้น 2          -4.97

น้ำมันเบนซิน 95    -2.12

แก๊สโซฮอล์ 91       -2.76

แก๊สโซฮอล์ 95       -3.25

ก๊าชยานพาหนะ (LPG)        -2.45

แก๊สโซฮอล์ E20     -2.96     

               

   หมวดไฟฟ้า ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.95 ( ค่ากระแสไฟฟ้า ) หมวดเชื้อเพลิงในบ้าน ดัชนี ราคาลดลงร้อยละ 2.02 ( ก๊าซหุงต้ม ) หมวดค่าโดยสารนอกท้องถิ่น ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 1.20 ( ค่าโดยสารรถประจำทางปรับอากาศชั้น 1 ชั้น 2 ค่าโดยสารรถประจำทางไม่ปรับอากาศ วิ่งระหว่างจังหวัด ค่าโดยสารรถตู้วิ่งระหว่างจังหวัด ) หมวดน้ำมันเชื้อเพลิง ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 1.25 ( แก๊สโซฮอล์ 91 95 E20 E85 น้ำมันเบนซิน 95 ก๊าชยานพาหนะ (LPG) น้ำมันหล่อลื่น ) และค่าของใช้ส่วนบุคคลที่ราคาลดลง ได้แก่ แป้งทาผิวกาย แป้งผัดหน้า และผ้าอนามัย    

   สำหรับ รายการสินค้าและบริการในหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ที่ราคาปรับสูงขึ้น มีดังนี้     

               

รายการสินค้า        ร้อยละ (ก.ย.58/ส.ค.58)

ค่าจ้าง/ซักรีด          1.17

ค่าเช่าบ้าน             0.05

ค่าแรงช่างทาสี      1.79

ค่าตรวจโรคคลีนิคเอกชน     0.74

สบู่ถูตัว   1

ยาสีฟัน   0.57

น้ำหอม   1.03

น้ำยาระงับกลิ่นกาย             0.82

น้ำมันดีเซล             1.36

ก๊าซธรรมชาติ (NGV)           4.09       

               

    หมวดค่าจ้าง ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.01 ( ค่าจ้าง/ซักรีด ค่าจ้างตัดเสื้อสตรี) หมวดค่าเช่า ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.05 (ค่าเช่าบ้าน ) หมวดค่าแรง ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.40 ( ค่าแรงช่างทาสี ค่าแรงช่างไฟฟ้า ) หมวดค่าตรวจโรค ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.68 ( ค่าตรวจโรคคลีนิคเอกชน ค่าตรวจรักษาโรค / ค่าบริการของโรงพยาบาลเอกชน (คนไข้นอก) ค่ายาจากการรักษาของโรงพยาบาลเอกชน) หมวดค่าของใช้ส่วนบุคคล ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.26 ( สบู่ถูตัว ยาสีฟัน น้ำหอม น้ำยาระงับกลิ่นกาย กระดาษชำระ ใบมีดโกน ครีมนวดผม ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว แปรงสีฟัน แชมพูสระผม ลิปสติก น้ำมันใส่ผม) สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ น้ำมันดีเซล และก๊าซธรรมชาติ (NGV)     

3.2   ดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.11 ( สิงหาคม 2558 สูงขึ้นร้อยละ 0.09 ) โดยมีสินค้าสำคัญที่ปรับราคาสูงขึ้น  ดังนี้            

                               

รายการสินค้า        ร้อยละ (ก.ย.58/ส.ค.58)

เนื้อสุกร  0.73

ปลาทู      3.06

ไข่ไก่        2.27

มะเขือเทศ              14.37

มะนาว    13.97

ต้นหอม   14.6

หัวหอมแดง            8.94

ส้มเขียวหวาน        2.6

มะม่วง    2.8

อาหารโทรสั่ง (delivery)    2.45

               

   หมวดเนื้อสัตว์สด ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.60 ( เนื้อสุกร กระดูกซี่โครงหมู เนื้อโคเครื่องในหมู เครื่องในวัว ) หมวดปลาน้ำทะเลสด ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.61 ( ปลาทู ปลาแดง ปลาสีกุนปลาลัง ปลาสำลี ) หมวดไข่ ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 2.08 ( ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่เค็ม ) หมวดผักแปรรูปและอื่นๆ ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 2.63 ( หัวหอมแดง กระเทียม พริกแห้ง ) หมวดผลไม้สด ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.15 ( ชมพู่ มะละกอสุก มะม่วง ส้มเขียวหวาน กล้วยน้ำว้า ส้มโอ ทุเรียน กล้วยหอม ลิ้นจี่ แอ๊ปเปิ้ล มะพร้าวอ่อน ) สำหรับ ผักสดบางชนิดที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ต้นหอม มะเขือเทศ มะนาว ถั่วลันเตา ผักชี กะหล่ำดอก ดอกกุ้ยฉ่าย ถั่วงอก เห็ด และข้าวโพดฝักอ่อน     

 สำหรับรายการสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ที่ราคาปรับลดลง มีดังนี้    

               

รายการสินค้า        ร้อยละ (ก.ย.58/ส.ค.58)

กะหล่ำปลี              -12.43

แตงกวา  -3.25

ผักกาดขาว            -4.67

ผักบุ้ง      -7.45

มะเขือ     -6.05

พริกสด   -3.96

เงาะ        -11.07

องุ่น         -4.24

ฝรั่ง         -2.37

น้ำมันพืช                -1.5

   หมวดผักสด ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.96 ( กะหล่ำปลี ผักบุ้ง มะเขือ ผักกาดขาว พริกสด แตงกวา บวบ ฟักเขียว ขึ้นฉ่าย หัวผักกาดขาว มะระจีน ถั่วฝักยาว ใบกะเพรา ขิง มะละกอดิบ ฟักทอง ตำลึง ผักกาดหอม ผักคะน้า ) หมวดน้ำมันและไขมัน ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 1.20 ( น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด)) สำหรับผลไม้สดบางชนิดที่ราคาลดลง ได้แก่ เงาะ ลองกอง องุ่น ลำไย ฝรั่ง สับปะรด แก้วมังกร มังคุด และแตงโม

   4.  พิจารณาเทียบกับดัชนีราคาเดือนกันยายน 2557 ลดลงร้อยละ 1.07 จากการลดลงของดัชนีราคาหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 2.36 ตามการลดลงของดัชนีราคาหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ร้อยละ 7.08 ขณะที่ดัชนีราคาหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สูงขึ้นร้อยละ 0.46 หมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 0.12 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ  0.89 หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษา และการศาสนา สูงขึ้นร้อยละ 1.31 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 2.15 สำหรับ ดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.31 ตามการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ร้อยละ 0.18 หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ 0.27 หมวดผักและผลไม้ สูงขึ้นร้อยละ 5.95 หมวดเครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 0.30 หมวดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.47 และหมวดอาหารสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 1.30 ( อาหารบริโภค-ในบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 1.02 อาหารบริโภค-นอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 1.76 ) ขณะที่ หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ 1.53

   5. พิจารณาดัชนีราคาเฉลี่ย 9 เดือนของปี 2558 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2557 ลดลงร้อยละ 0.90 จากการลดลงของดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 2.00 ตามการลดลงของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ร้อยละ 6.71 ขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สูงขึ้นร้อยละ 0.63 หมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 0.80 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 1.01 หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาและการศาสนา สูงขึ้นร้อยละ 0.87  และหมวดยาสูบและเครื่องดื่ม มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 2.13 สำหรับ ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.13  ตามการสูงขึ้นของหมวดข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ร้อยละ 0.33 หมวดผักและผลไม้ สูงขึ้นร้อยละ 2.67 หมวดเครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 1.40 หมวดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.73 และหมวดอาหารสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 1.86  ( อาหารบริโภค-ในบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 1.49อาหารบริโภค-นอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 2.46 ) ขณะที่หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ ลดลงร้อยละ 0.08 และหมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ 2.58               

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!