WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOC-Somkiatพาณิชย์ เผยส่งออกก.ค.58 ติดลบ 3.56% นำเข้าติดลบ 12.73%,เกินดุล 770 ล้านดอลล์

      กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศในเดือน ก.ค.58 ว่า การส่งออกมีมูลค่า 18,223 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 3.56%, การนำเข้ามีมูลค่า 17,452 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 12.73% ส่งผลให้เกินดุลการค้า 770 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

      ส่วนในช่วง 7 เดือนแรกของปี 58 การส่งออกมีมูลค่า 125,078 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 4.66%, การนำเข้ามีมูลค่า 120,835 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 8.64% ส่งผลให้เกินดุลการค้า 4,243 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

     นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กล่าวว่า มูลค่าการส่งออกของไทยในเดือน ก.ค.58 ลดลงในอัตราที่ชะลอตัวลง เนื่องจากการส่งออกยานยนต์และส่วนประกอบกลับมาฟื้นตัว ขณะที่สินค้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันยังมีมูลค่าส่งออกต่ำตามราคาน้ำมัน และสินค้าเกษตรมีมูลค่าส่งออกต่ำตามราคาในตลาดโลก

  สำหรับปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบให้การส่งออกไทยยังหดตัว คือ 1.เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของตลาดคู่ค้าหลักชะลอตัว โดยเฉพาะสหรัฐ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน จึงทำให้การนำเข้าของเกือบทุกประเทศทั่วโลกชะลอตัว 2.ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัว ซึ่งล่าสุดในเดือน ก.ค. ราคาน้ำมันลดลงถึง 46.8% จึงส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันยังมีทิศทางลดลงอย่างต่อเนื่อง

      3.ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวลดลงมาก โดยเฉพาะข้าว ยางพารา และน้ำตาล จึงทำให้แม้ไทยจะยังส่งออกในปริมาณไม่ต่ำกว่าเดิม แต่มูลค่าส่งออกลดลงมาก และ

     4.การใช้มาตรการลดค่าเงินของประเทศคู่ค้าสำคัญเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการส่งออก ทำให้เงินบาทไทยอ่อนค่าน้อยกว่าสกุลเงินอื่น จึงทำให้สินค้าไทยแข่งขันได้ยากและมีราคาแพงเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง และทำให้ความต้องการซื้อสินค้าไทยลดลง จึงทำให้แม้เงินบาทที่อ่อนค่าลงมาอยู่ที่ระดับ 35.59 บาท/ดอลลาร์ ก็ยังหนุนการส่งออกได้ไม่มากนัก

    นายสมเกียรติ กล่าวว่า แม้การส่งออกของไทยจะติดลบแต่ถือว่าอัตราที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โดยจะพบว่าการส่งออกในเดือน มิ.ย.ออสเตรเลีย -21.3% ฝรั่งเศส -14.6% สิงคโปร์ -13.1% ญี่ปุ่น -8.1% สหรัฐ -5.2% เป็นต้น นอกจากนี้ ไทยยังสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดในประเทศคู่ค้าสำคัญไว้ได้ ทั้ง สหรัฐ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย และออสเตรเลีย เป็นต้น โดยปีนี้ส่วนแบ่งตลาดของไทยในประเทศคู่ค้าสำคัญมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าปี 57

    กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า ในเดือน ก.ค.58 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตรหดตัวตามราคาสินค้าเกษตรโลก โดยภาพรวมลดลง -5.1% (YoY) ตามทิศทางของราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง  แม้ว่าสินค้าเกษตรส่งออกสำคัญจะมีปริมาณส่งออกสูงขึ้นก็ตาม  โดยเฉพาะยางพารา ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ขยายตัว 18.5% (YoY) แต่ราคายังอยู่ในระดับต่ำ เช่นเดียวกับน้ำตาลทราย เครื่องดื่ม และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวสูงขึ้น 14.1% 13.3% และ 9.7% (YoY) ตามลำดับ ขณะที่ ข้าว อาหารทะเลแช่งแข็งและแปรรูป ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และไก่สดแช่แข็งและแปรรูป มูลค่าการส่งออกหดตัวลง

    ขณะที่การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยภาพรวมลดลง -2.6% (YoY) ผลจากสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทยคือรถยนต์และส่วนประกอบ กลับมาขยายตัว 6.8% (YoY) จากการขยายตัวของการส่งออกรถยนต์นั่ง 77.5% (YoY) ส่วนรถกระบะยังคงหดตัว -33.7% (YoY) จากผลของการเปลี่ยนรุ่น ทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมยังคงหดตัว เนื่องจากมูลค่าส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันดิบหรืออุตสาหกรรมที่มีโครงสร้างการใช้วัตถุดิบซึ่งมาจากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ลดลงจากปีก่อนหน้ามากตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว และมีแนวโน้มทรงตัวในระดับต่ำไปจนถึงสิ้นปี

    อย่างไรก็ดี ปริมาณการส่งออกน้ำมันยังคงขยายตัวสูงถึง 44.0% (YoY) ส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญอย่างทองคำ กลับมาขยายตัวอีกครั้งที่ 21.2% (YoY) เนื่องจากราคาทองคำขยับตัวสูงขึ้น ทำให้มีการส่งออกเพื่อทำกำไร ทั้งนี้ หากไม่รวมสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันและทองคำ มูลค่าการส่งออกรวมของไทยในเดือน ก.ค.58 หดตัว -2.6% (YoY) ในขณะที่สินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมหักสินค้าเกี่ยวข้องกับน้ำมันและทองคำ จะหดตัวที่ -1.8% (YoY)

                ตลาดส่งออก โดยตลาดสหรัฐอเมริกากลับมาฟื้นตัวเป็นบวกอีกครั้ง เช่นเดียวกับกลุ่ม CLMV ที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (15) จีน และอาเซียน หดตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกากลับมาขยายตัว 1.4% (YoY) หลังจากหดตัวเล็กน้อยเมื่อเดือนที่ผ่านมา จากการขยายตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สูงขึ้น 6.2% 22.6% 22.9% และ 76.3% (YoY) ตามลำดับ เช่นเดียวกับการส่งออกไปยังตลาด CLMV ที่ยังคงมีอัตราการขยายตัวต่อเนื่องสูงถึง 11.6% (YoY) โดยเฉพาะกัมพูชาเวียดนาม และลาว  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการค้าชายแดน ขณะที่ตลาดหลักอย่างญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป (15) ลดลง -9.6% และ -1.1% (YoY) ตามลำดับ รวมทั้งการส่งออกไปจีน ยังคงหดตัวต่อเนื่อง -1.6% (YoY) จากการลดลงของการส่งออกเม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ยาง

ที่มา: Global Trade Atlas, สิงหาคม 2558

2)        ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง และไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัว โดยในเดือนกรกฎาคม 2558 ลดลงถึงร้อยละ -46.8 (YoY) ขณะที่ระยะ 7 เดือน (ม.ค. – ก.ค. 58) ลดลงร้อยละ -46.0 (AoA) ส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันยังคงมีทิศทางลดลงอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก แต่อย่างไรก็ดี ปริมาณการส่งออกน้ำมันยังคงขยายตัวสูงถึงร้อยละ 44.0 (YoY)

3)   ราคาสินค้าเกษตรโลกปรับตัวลดลงมาก โดยเฉพาะในระยะ 7 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค. – ก.ค. 58) ราคาข้าวลดลงร้อยละ -7.6 (AoA) ยางพาราลดลงร้อยละ -19.3 (AoA)  และน้ำตาลลดลงร้อยละ -8.7 (AoA) ส่งผลให้แม้ว่าไทยจะส่งออกในปริมาณไม่ต่ำกว่าเดิม  แต่มูลค่าส่งออกลดลงมาก

4)   การใช้มาตรการลดค่าเงินของประเทศคู่ค้าสำคัญ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และการส่งออก โดยข้อมูลล่าสุดของค่าเงินสกุลต่างๆ ณ เดือนสิงหาคม 2558 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงร้อยละ 13.7 เมื่อเทียบกับเหรียญสหรัฐฯ ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงร้อยละ 14.8 ค่าเงินริงกิตของมาเลเซียลดลงร้อยละ 33.1 ขณะที่ค่าเงินบาทไทยอ่อนค่าลงร้อยละ 11.1 ซึ่งอ่อนค่าในอัตราที่น้อยกว่าสกุลเงินอื่น ทำให้สินค้าไทยแข่งขันยาก มีราคาแพงเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าของคู่ค้าและคู่แข่ง ความต้องการซื้อ สินค้าไทยลดลง ซึ่งแม้ว่าค่าเงินบาทไทยจะเริ่มอ่อนตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 35.59 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แต่ก็ยังหนุนมูลค่าการส่งออกได้ไม่มากนัก

นอกจากนี้ การที่จีนประกาศลดค่าเงินหยวน 3 ครั้งต่อเนื่องระหว่างวันที่ 11-13 สิงหาคม 2558 ส่งผลให้ค่าเงินหยวนล่าสุด ณ เดือนสิงหาคม 2558 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา อ่อนค่าลงร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งอ่อนค่าลงในอัตราที่ต่ำกว่าการอ่อนค่าของเงินบาท ณ ช่วงเวลาเดียวกัน

ทำให้คาดว่าการอ่อนค่าเงินหยวนจะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย อัตราหดตัวของมูลค่าส่งออกของไทยยังจัดว่าอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยสถิติส่งออกล่าสุดถึงเดือนมิถุนายน 2558 เกือบทุกประเทศทั่วโลกมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกติดลบมากกว่าไทย อาทิ ออสเตรเลีย (-21.3%) ฝรั่งเศส (-14.6%)  สิงคโปร์ (-13.1%) ญี่ปุ่น (-8.1%)  เกาหลีใต้ (-5.2%) สหรัฐฯ (-5.2%)

อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!