WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCพาณิชย์ ร่วมสัมนางาน เขตศก.พิเศษไทย สปป.ลาว เปิดโอกาสการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน

    พาณิชย์ ร่วมสัมนางาน เขตศก.พิเศษไทย สปป.ลาว เปิดยุทธศาสตร์การค้าระหว่างกัน ทั้งจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนการค้าทั่วปท. ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เพิ่มโอกาสการลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน

    พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิช เปิดเผย ในงานสัมมนา'เขตเศรษฐกิจพิเศษไทย-สปป.ลาว'ว่า รัฐบาลได้เข้ามาบริหารประเทศด้วยความจำเป็นเพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ซึ่งรัฐบาลได้ประสบความสำเร็จแล้วในการนำประเทศไทยคืนสู่ความสงบ มีเสถียรภาพในทุกมิติ และพร้อมกันนี้ รัฐบาลได้ใช้โอกาสวางแผนโร้ดแมพ (Roadmap) เพื่อนำพาการปฏิรูปและวางรากฐานการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคงและยั่งยืน ในแนวทางที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทั้งในระดับภูมิภาคและในเวทีโลก

   สำหรับ โร้ดแมพด้านเศรษฐกิจนั้น รัฐบาลไทยให้ความสำคัญลำดับต้นกับการพัฒนายกระดับการค้าการลงทุนกับประเทศคู่ค้าในประเทศเพื่อนบ้านและในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สปป.ลาว โดยสปป.ลาว และไทย ได้ตั้งเป้าหมายให้มูลค่าการค้าระหว่างประเทศระหว่างกันเพิ่มขึ้นเป็น 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายใน 3 ปีข้างหน้า รัฐบาลไทยเชื่อมั่นว่าการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะใช้ประโยชน์จากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ได้อย่างเต็มศักยภาพ และจะบรรลุเป้าหมายมูลค่าการค้าระหว่างประเทศดังกล่าวนั้น เราจำเป็นต้องร่วมกันผลักดันการดำเนินการใน 2 เรื่องสำคัญ ได้แก่

   ประการแรก คือการที่ภาครัฐจะสนับสนุนส่งเสริมให้ภาคเอกชนสามารถขยายและพัฒนาโอกาสใหม่ๆ ทางการค้าการลงทุนระหว่างกัน โดยใช้ประโยชน์จากกรอบข้อตกลงภายใต้เออีซี ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ภาคเอกชนนั้นย่อมมีการเชื่อมโยงด้านการค้าขายอยู่แล้ว แต่การที่จะเปิดช่องทางใหม่ๆ ด้านการค้าการลงทุนระหว่างกันให้ได้ตามเจตนารมณ์ของ เออีซี ผมเชื่อว่ามีความจำเป็นที่ภาครัฐควรต้องหารือกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิดและใช้ การเจรจาระดับรัฐต่อรัฐสร้างความเข้าใจหรือขจัดอุปสรรคใดๆ ที่อาจยังมีอยู่ เพื่อเปิดให้ผู้ประกอบการในอาเซียนได้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากเออีซีร่วมกัน อย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น การที่รัฐบาลไทยดำเนินการสนับสนุนการเพิ่มทักษะด้านต่างๆ ให้ผู้ประกอบการไทย เพื่อเตรียมการเข้าสู่เออีซีนั้น ผมเชื่อว่าเราสามารถเชื่อมโยงกับภาครัฐและเอกชนของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สปป.ลาว ที่จะร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการไทยและสปป.ลาว ทั้งในด้านการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นและการยกระดับทักษะการค้าการลงทุนในกรอบ เออีซีที่เปิดกว้างขึ้น โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจและอุตสาหกรรม ที่มีความเชื่อมโยงระหว่างกันอยู่แล้ว และที่จะสามารถพัฒนาให้เกิดใหม่

     ประการที่สอง คือ การที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องร่วมมือกันสร้างเออีซีที่กำลังจะเกิดขึ้นให้เป็นที่น่าสนใจ สามารถดึงดูดคู่ค้าผู้ลงทุนจากภูมิภาคอื่นให้เข้ามาสู่เออีซี ตลาดเออีซีมีความน่าสนใจเป็นพื้นฐานในตัวอยู่แล้ว เพราะจะเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวขนาดใหญ่ของโลกอีกแห่งหนึ่ง และที่สำคัญเป็นประตูหลัก เกตเวย์ (Gateway) ที่เชื่อมโยงเออีซีกับภูมิภาคและตลาดหลักโดยรอบผ่านข้อตกลงการค้าเสรี เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ตลอดจนตลาดในภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก

    แต่ที่กล่าวมาคือศักยภาพ ประเทศสมาชิกอาเซียนย่อมต้องร่วมกันในทุกมิติที่จะนำศักยภาพนั้นมาใช้ให้ได้อย่างเป็นรูปธรรมจึงจะเกิดประโยชน์ที่แท้จริงกับทุกๆประเทศสมาชิก ตัวอย่างเช่น การผลักดันไม่เพียงการค้า แต่รวมถึงการร่วมทุนและร่วมพัฒนาใน เออีซี อุตสาหกรรมหลักที่จะมีบทบาทสูงในอาเซียน เช่น ด้านพลังงาน ด้านการบริการต่างๆ และการท่องเที่ยว ให้เกิดเป็นอุตสาหกรรมที่เชื่อมหลายตลาดในเออีซีหรือที่เรียกว่า แพน – เออีซี (PAN – AEC) ที่ได้ขนาด มีโอกาสเติบโตสูง การร่วมกันพัฒนาโครงข่าย การคมนาคมขนส่งเพื่อสร้างระบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัย ประหยัดต้นทุน ให้ผู้ประกอบการ รวมถึงการพัฒนากฎหมาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ การค้า การลงทุน ภายในเออีซี ให้ทันสมัยเกื้อหนุนผู้ประกอบการทั้งภายในอาเซียน และจากภูมิภาคอื่น

    สำหรับ ประเทศไทยนั้น เพื่อร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนดำเนินการในเรื่องดังกล่าว รัฐบาลกำลังขับเคลื่อนยุทธศาสตร์หลักได้แก่

   ยุทธศาสตร์ที่หนึ่ง คือ การจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) 10 จังหวัดครอบคลุมทั่วประเทศให้สอดรับกับความเชื่อมโยงด้านคมนาคมขนส่ง การค้าและการลงทุนที่กำลังจะยกระดับขึ้นในอาเซียนและประเทศคู่ค้าหลัก เขตเศรษฐกิจพิเศษเหล่านี้จะเป็นประตูสู่ตลาดในประเทศเพื่อนบ้านและประเทศสมาชิกอาเซียน โดยธุรกิจที่จะกำหนดให้ได้รับการส่งเสริมในแต่ละเขตนั้น จะพัฒนาขึ้นเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงหรือคลัสเตอร์เป้าหมาย (target cluster) ที่สามารถใช้ประโยชน์จากปัจจัยด้านการผลิต ทักษะ แรงงาน ได้ดีที่สุดในเขตพัฒนาเศรษฐกิจนั้นๆ

    เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของไทยที่ติดกับ สปป.ลาว คือ จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนจำนวนมาก โดยมีกิจการเป้าหมายที่ต้องการดึงดูด นักลงทุน ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมยางพาราและผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ศูนย์การเปลี่ยนถ่ายสินค้า และยานพาหนะ คลังสินค้า นิคมอุตสาหกรรมและบริการสาธารณูปโภค และยังมีเป้าหมาย เป็นศูนย์กลางการค้าสินค้าเกษตร เป็นต้น ทั้งนี้ ในอนาคตจะจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติมที่จังหวัดหนองคายและนครพนมต่อไป

    เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหาร เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพและโอกาสทางการค้า และการลงทุนสูง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้เคียงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวันเซโนของ สปป.ลาว และสามารถเชื่อมโยงความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างกันได้เป็นอย่างดี ซึ่งเห็นได้จาก การค้าชายแดนระหว่างไทยกับ สปป.ลาว ซึ่งผมได้มอบให้กระทรวงพาณิชย์สนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะจะเป็นหัวจักรขับเคลื่อนการพัฒนาในการเชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษระหว่างไทย– สปป.ลาวเข้าไว้ด้วยกัน รัฐบาลไทยจึงขอเชิญชวนให้ผู้ประกอบการทั้งไทยและสปป.ลาว ได้พิจารณาร่วมลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของทั้งสองประเทศ เพื่อผลักดันการเจริญเติบโต มิเพียงด้านการค้าขาย แต่รวมถึงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ด้วย

    ยุทธศาสตร์ที่สองที่ไทยกำลังดำเนินการคือ การเร่งขับเคลื่อนการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยเฉพาะระบบถนนและรถไฟรางคู่ใหม่ทั่วประเทศ 8 เส้นทาง เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางและขนส่งสินค้า และที่สำคัญเพื่อเชื่อมโยงเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเข้าด้วยกัน โดยสามารถเชื่อมต่อออกสู่ประเทศเพื่อนบ้านให้เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายคมนาคมขนส่งประสิทธิภาพสูงของอาเซียนสำหรับฐานผลิตสินค้าในชุมชนสู่ตลาดทั้งในไทย และในประเทศเพื่อนบ้านและประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ

  สำหรับ การคมนาคมระหว่างไทยกับ สปป. ลาว นั้น ปัจจุบันมีเส้นทางระหว่างไทยกับ สปป.ลาว ไปยังจีนตอนใต้ได้โดยสะดวกรวดเร็ว โดยถือเป็นประตูเชื่อมโยงระหว่างตะวันออก-ตะวันตกบนแนว East - West Economic Corridor (EWEC)  ตามเส้นทางหมายเลข 9 เริ่มจากเมืองเมาะละแหม่ง (เมียนมา) ผ่านด่านเมียวดี – แม่สอด ผ่านจังหวัดพิษณุโลก ถึงจังหวัดมุกดาหาร ผ่านสะพานมิตรภาพไทย – ลาวแห่งที่ 2 (มุกดาหาร – สะหวันนะเขต) ไปยังเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวันเซโน แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว ที่เน้นด้านการค้า บริการโลจิสติกส์ คลังสินค้า และอุตสาหกรรมแปรรูป เข้าสู่ท่าเรือดานัง ประเทศเวียดนาม ระยะทาง 1,500 กิโลเมตร และเส้นทางหมายเลข 9 ยังสามารถเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ ในแนวเหนือ-ใต้ ไทย สปป.ลาว ไปยังจีนตอนใต้ได้โดยสะดวก รวมทั้งยังอยู่ในแนวรถไฟทางคู่สายหนองคาย – นครราชสีมา – ท่าเรือแหลมฉบัง อีกด้วย

   ภูมิภาคอาเซียนโดยอาศัยเออีซีที่จะเกิดขึ้นมีความพร้อมที่ก้าวขึ้นเป็นเขตการค้าการลงทุนศักยภาพสูงแห่งใหม่ของเอเชียและของโลก  สปป.ลาว และประเทศไทยรวมถึงประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงของเรานี้มีดินแดนติดต่อกันจะมีบทบาทเด่นในการช่วยขับเคลื่อนให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ด้วยความเชื่อมโยงด้านการค้าการลงทุน การคมนาคมที่เราสามารถร่วมกันผลักดันพัฒนา  ผ่านกลไกที่มีประสิทธิภาพ เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษและการค้าชายแดน ก็จะเกิดเป็นขุมพลังในเชิงพาณิชย์ที่เข้มแข็งออกสู่ตลาดในประเทศเพื่อนสมาชิกเออีซีในตอนใต้ และตะวันออกของอาเซียน โดยเป็นการขยายความเชื่อมโยงด้านการค้า การลงทุน ระหว่างไทยกับ สปป.ลาว ไปยังประเทศอื่นๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เช่น ความเชื่อมโยงไทย – สปป.ลาว – เมียนมา หรือ ไทย – สปป.ลาว – เวียดนาม หรือ ไทย – สปป.ลาว -จีนตอนใต้ ซึ่งความเชื่อมโยงดังกล่าวในภาพรวมจะส่งผลให้เออีซีเติบโตได้อย่างยั่งยืน เป็นที่สนใจของคู่ค้าผู้ลงทุนในภูมิภาคอื่นๆ ผมขอเรียนว่า ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการค้า การลงทุนกับ สปป.ลาว มาอย่างต่อเนื่อง และระหว่างวันที่ 26 – 28 สิงหาคมนี้ กรมการค้าต่างประเทศจะจัดกิจกรรมนำคณะผู้แทนการค้าการลงทุนไทย ในกลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภค บริโภค เดินทางไปเจรจาขยายลู่ทางการค้าการลงทุน ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ขณะนี้มีเอกชนผู้สนใจสมัครเข้าร่วมคณะผู้แทนฯ แล้วกว่า 40 ราย นับเป็นนิมิตหมายอันดีในการเพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุนของทั้งสองประเทศต่อไป

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!