WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOC copyพาณิชย์ได้ฤกษ์โละข้าวเสียล้านตัน

     แนวหน้า : พาณิชย์ได้ฤกษ์โละข้าวเสียล้านตัน คลอด‘ทีโออาร์’สัปดาห์หน้า เปิดประมูลปลายเดือน กค.

     พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงเตรียมเปิดประมูลข้าวเสีย ที่เป็นข้าวเกรดซี ในโกดังรัฐบาลที่มีจำนวน 1.29 ล้านตัน ในปลายเดือนก.ค. 2558 โดยได้เตรียมกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์การเปิดประมูลข้าวเสีย(TOR) น่าจะเริ่มดำเนินการได้ในสัปดาห์หน้า

    ในเบื้องต้นจะใช้วิธีการเปิดประมูลเป็นการทั่วไป เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรม และเอกชนที่สนใจเข้าร่วมการเสนอราคาประมูล และทางรัฐจะตั้งคณะทำงานติดตาม ผู้ที่ประมูลได้ ว่าได้ดำเนินการกับข้าวที่ประมูลได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์หรือไม่อย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้ถูกลักลอบนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์

    “การระบายจะเป็นวิธีที่โปร่งใสส่วนการกำหนดราคาขายจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของข้าวที่จะต้องมีการคัดแยกโดยบริษัทตรวจสอบคุณภาพข้าว(เซอร์เวเยอร์) ที่ได้รับมาตรฐาน ซึ่งหากข้าวมีเชื้อรา จะถูกระบายเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมเพื่อใช้ผลิตเอทานอล หรือ ชีวมวล ส่วนข้าวที่ไม่มีเชื้อราจะระบายสำหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์”

    พร้อมยืนยันว่า กระทรวงพาณิชย์ ได้ประกาศนโยบาย zero corruption และในช่วงที่ตนเป็นรัฐมนตรีอยู่ จะมีการใช้นโยบายนี้อย่างเข้มข้น ไม่ให้มีการแสวงหาผลประโยชน์จากการระบายข้าวโดยเด็ดขาด

    สำหรับ ปริมาณข้าวในสต๊อกรัฐบาล ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2558 มีปริมาณทั้งสิ้น 15.11 ล้านตัน ประกอบด้วย ข้าวที่

    บริโภคได้ 9.15 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวคุณภาพดีเกรด เอและบี ปริมาณ 1.82 ล้านตัน และข้าวเกรดเอ, บี ผสมเกรดซี มีปริมาณ 7.33 ล้านตัน ส่วนข้าวที่จะระบายเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมปริมาณ 5.89 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวเกรดซี 4.6 ล้านตัน และข้าวเสีย 1.29 ล้านตัน และข้าวที่ระหว่างดำเนินคดีอีก 7 หมื่นตัน

    “แม้รัฐบาลจะมีการเปิดข้าวไปบางส่วนแล้ว แต่ก็ยอมรับว่าเป็นตัวเลขขาดทุนสะสมนับแสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถระบุความเสียหายที่ชัดเจนได้เนื่องจากต้องระบายให้หมดสต๊อกก่อน ส่วนข้าวอีกปริมาณ 7 หมื่นตัน ยังอยู่ระหว่างการดำเนินคดี คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้”

     ส่วนมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรยังคงยืนยันว่าจะไม่ใช้มาตรการแทรกแซงราคา โดยจะปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกตลาด ส่วนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบภัยแล้ง รัฐบาลมีแนวทางช่วยเหลืออยู่แล้ว เช่น การจำนำยุ้งฉางสำหรับการปลูกข้าวในฤดูถัดไปและการช่วยลดต้นทุนการผลิตจากการลดราคาปัจจัยการผลิต

   สำหรับ ความคืบหน้า ในการผลิตข้าวถุงเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เบื้องต้นจะผลิตเป็นข้าวถุง ถุงละ 2 กก. โดยจะให้ทางสมาคมผู้ผลิตข้าวถุง รับจ้างรัฐบาลในการผลิตให้ โดยรัฐจะจ่ายค่าจ้างเป็นข้าว และจากนั้นนำไปให้กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ การเกษตรไปจำหน่าย

พณ.เปิดระบายข้าวเสีย 1.29 ล้านตัน เปิดประมูลโปร่งใสปลายเดือน

    แนวหน้า : พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ เตรียมเปิดประมูลข้าวเสีย ที่เป็นข้าวเกรดซี ในโกดังรัฐบาลที่มีจำนวน 1.29 ล้านตันในปลายเดือน ก.ค. นี้ โดยได้เตรียมกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์การเปิดประมูลข้าวเสีย( TOR ) ซึ่งน่าจะเริ่มดำเนินการได้ในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้เบื้องต้นจะใช้วิธีการเปิดประมูลเป็นการทั่วไป เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมและเอกชนที่สนใจเข้าร่วมการเสนอราคาประมูล และทางรัฐจะตั้งคณะทำงานติดตาม ผู้ที่ประมูลได้ ว่าได้ดำเนินการกับข้าวที่ประมูลได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์หรือไม่อย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้ถูกลักลอบนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ โดยการระบายข้าวปริมาณ 1.29 ล้านตันอาจจะแบ่ง เป็น การประมูล 2 -3 ครั้ง โดยข้าวเกรดซีที่จะขายเข้าสู่อุตสาหกรรม จะมีการนำไปสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจคุณภาพ ในห้องแลป หากพบว่าไม่เป็นเชื้อรา ก็จะถูกขายไปยังอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ที่จะได้ราคาดีกว่า โดยการเปิดประมูล จะเป็นไปตามสภาพของข้าว

     "การระบายจะเป็นวิธีที่โปร่งใสส่วนการกำหนดราคาขายจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของข้าวที่จะต้องมีการคัดแยกโดยบริษัทตรวจสอบคุณภาพข้าว( เซอร์เวเยอร์ ) ที่ได้รับมาตรฐาน ซึ่งหากข้าวมีเชื้อรา จะถูกระบายเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมเพื่อใช้ผลิตเอทานอล หรือ ชีวมวล ส่วนข้าวที่ไม่มีเชื้อราจะระบายสำหรับอุตสากรรมอาหารสัตว์ โดยยืนยันว่าไม่มีกำหนดเพดานราคาขายล่วงหน้าที่ราคากิโลกรัมละ 1 บาทตามข่าว และได้เตรียมนำสื่อมวลชนดูข้าวเสียที่จะนำมาเปิดประมูล และขอยืนยันว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศนโยบาย zero corruption และในช่วงที่ตนเป็นรัฐมนตรีอยู่ จะมีการใช้นโยบายนี้อย่างเข้มข้น ไม่ให้มีการแสวงหาผลประโยชน์จากการระบายข้าว โดยเด็ดขาด

     สำหรับ ปริมาณข้าวในสต็อกรัฐบาล ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย.58 มีปริมาณทั้งสิ้น 15.11 ล้านตัน ประกอบด้วย ข้าวที่บริโภคได้ 9.15 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวคุณภาพดีเกรด เอและบี ปริมาณ 1.82 ล้านตัน และข้าวเกรดเอ, บี ผสมเกรดซี มีปริมาณ 7.33 ล้านตัน ส่วนข้าวที่จะระบายเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมปริมาณ 5.89 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวเกรดซี 4.6 ล้านตัน และข้าวเสีย 1.29 ล้านตัน และข้าวที่ระหว่างดำเนินคดีอีก 7 หมื่นตัน

    "แม้รัฐบาลจะมีการเปิดข้าวไปบางส่วนแล้ว แต่ก็ยอมรับว่าเป็นตัวเลขขาดทุนสะสมนับแสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถระบุความเสียหารที่ชัดเจนได้เนื่องจากต้องระบายให้หมดสต็อกก่อน ส่วนข้าวอีกปริมาณ 7 หมื่นตัน ยังอยู่ระหว่างการดำเนินคดี คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้"

    นอกจากนี้ ในส่วนของสถานการณ์ภัยแล้ง ขณะนี้ได้ส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดปรับสูงขึ้นบ้างเล็กน้อย ส่วนมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรยังคงยืนยันว่าจะไม่ใช้มาตรการแทรกแซงราคา โดยจะปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกตลาด ส่วนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบภัยแล้ง รัฐบาลมีแนวทางช่วยเหลืออยู่แล้ว เช่น การจำนำยุ้งฉางสำหรับการปลูกข้าวในฤดูถัดไปและการช่วยลดต้นทุนการผลิตจากการลดราคาปัจจัยการผลิต

    สำหรับ ความคืบหน้า ในการผลิตข้าวถุงเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เบื้องต้นจะผลิตเป็นข้าวถุง ถุงละ 2 กก. โดยจะให้ทางสมาคมผู้ผลิตข้าวถุง รับจ้างรัฐบาลในการผลิตให้ โดยรัฐจะจ่ายค่าจ้างเป็นข้าว และ จากนั้นนำไปให้กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ การเกษตร ไปจำหน่าย เพื่อเริ่มต้นการทำธุรกิจแบบ Social business

รมว.พาณิชย์คาดขายข้าวสต็อกรัฐหมดทั้ง 18 ล้านตัน อาจขาดทุนเกินแสนลบ.

     พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงการระบายข้าวเสื่อมสภาพและข้าวเป็นฝุ่นผงว่า ขณะนี้กระทรวงฯ ยังไม่ได้เปิดระบายข้าวเสื่อมสภาพ(เกรดซี) และข้าวเป็นฝุ่นผงเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นจากที่มีกระแสข่าวว่าจะระบายข้าวส่วนนี้ในราคากก.ละ 1 บาทนั้นจึงไม่เป็นความจริง เพราะการระบายข้าวต้องขึ้นอยู่กับสภาพข้าวเป็นหลัก โดยจะมีการตั้งราคากลางขึ้นมาเป็นเกณฑ์ในการเปิดประมูล แต่ยอมรับว่าการระบายข้าวที่ไม่สามารถบริโภคได้ให้กับภาคอุตสาหกรรมเอทานอลหรือชีวมวล อาจได้ราคาต่ำกว่าระบายให้อุตสาหกรรมอาหารสัตว์

    "ราคาขายตอนนี้ยังคาดการณ์ไม่ได้ แต่จะมีคณะทำงานที่ประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาดูแลเพื่อจัดทำราคากลาง แต่คงไม่ต่ำกว่ากก.ละ 1 บาท ข่าวที่ออกมาน่าจะเป็นข่าวปล่อยที่ต้องการจะซื้อข้าวรัฐในราคาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าข้าวสารสต๊อกรัฐบาล 18 ล้านตัน ที่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาดำเนินการขายนั้น ถ้าขายหมด รัฐบาลอาจขาดทุนเกินแสนล้านบาทอย่างที่คาดการณ์กันไว้" รมว.พาณิชย์ ระบุ

     สำหรับ ปริมาณข้าวในสต๊อกรัฐบาล ณ วันที่ 30 มิ.ย.58 มีปริมาณทั้งสิ้น 15.11 ล้านตัน แบ่งเป็น 1.ข้าวที่บริโภคได้ 9.15 ล้านตัน เป็นข้าวคุณภาพดีเกรดเอ และเกรดบี ปริมาณ 1.82 ล้านตัน และเป็นข้าวเกรดเอ เกรดบี ผสมกับเกรดซี ปริมาณ 7.33  ล้านตัน 2.ข้าวที่จะระบายเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมปริมาณ 5.89 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวเกรดซี 4.6 ล้านตัน และข้าวเสีย เป็นฝุ่นผง 1.29 ล้านตัน และ 3.ข้าวที่อยู่ระหว่างดำเนินคดีอีก 70,000 ตัน เพราะเป็นข้าวผิดประเภท

    น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การระบายสต๊อกข้าวสารรัฐบาลไปสู่ภาคอุตสาหกรรมนั้น คณะอนุกรรมการระบายข้าวได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมากำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการระบาย โดยมีอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเป็นประธาน ร่วมด้วยตัวแทนจากสำนักนายกรัฐมนตรี กรมการค้าต่างประเทศ กรมการค้าภายใน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เป็นต้น โดยหลังจากการประมูลแล้วจะมีระบบการตรวจสอบติดตามเพื่อไม่ให้ข้าวส่วนนี้เข้าสู่การบริโภคปกติ เช่น รถที่มาขนข้าวออกไปจะติดตั้งระบบนำทาง(GPS) เมื่อถึงโรงงานแล้วจะมีเจ้าหน้าที่เซ็นชื่อรับรอง และมีรถโมบายยูนิตเข้าไปตรวจสอบด้วย เชื่อว่ามาตรการตรวจสอบติดตามที่เข้มงวดนี้จะไม่ทำให้ข้าวรั่วไหลไปไหนแน่นอน

อินโฟเควสท์

พลังงานยันรับข้าวเสื่อมผลิตเอทานอลแค่ล้านตัน

    ไทยโพสต์ : วิภาวดีรังสิต * พลังงานยันรับข้าวเสื่อมผลิตเอทานอลได้แค่ 1 ล้านตันเท่านั้น ด้าน "คุรุจิต" ชี้ไม่เลื่อนเปิดประมูลโรงไฟฟ้ากระบี่ 22 ก.ค.2558 นี้

     นายคุรุจิต นาครทรรพ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงกรณีการนำข้าวเสื่อมสภาพจากโครงการรับจำนำข้าวมาผลิตเป็นเอทานอลว่า กระทรวงพลังงานได้หารือร่วมกับผู้ประกอบการโรงงานเอทานอล ถึงกรณีนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้นำข้าวเสื่อมสภาพจากโครงการรับจำนำข้าวตั้งแต่ฤดูการผลิตปี 2554 มาผลิตเป็นเอทานอล เพื่อนำไปใช้ผสมเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์จำหน่าย โดยยืนยันว่าผู้ประกอบการเอทานอลมีกำลังผลิตเอทานอลจากข้าวเสื่อมสภาพได้เพียง 1 ล้านตัน จากจำนวนทั้งหมด 4 ล้านตัน และได้แจ้งให้กับทางกระทรวงพาณิชย์รับทราบแล้ว

     ทั้งนี้ สาเหตุที่ผู้ผลิตเอทานอลมีกำลังผลิตที่รับได้เพียง 1 ล้านตันดังกล่าว เนื่องจากยอด ความต้องการใช้เอทานอลในปัจจุบันยังคงเท่าเดิม 3 ล้านลิตรต่อวัน หากต้องการให้นำข้าวเสื่อมคุณภาพมาผลิตเป็นเอทานอลทั้งหมด รัฐบาลจะต้องดันยอดใช้เอทานอลให้เพิ่มขึ้นโดยเร็ว ซึ่งเป็นเรื่องยาก เนื่องจากปัจจุบันราคาเอทานอลสูงกว่าราคาเนื้อน้ำมัน

     สำหรับ ความคืบหน้าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่นั้น ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยืนยันว่า จะเปิดซองประมูลสร้างโรงไฟฟ้าในวันที่ 22 ก.ค.2558 นี้ต่อไป จะไม่เลื่อนเปิดประมูลแต่อย่างใด และที่ผ่านมา กฟผ.ได้เปิดรับฟังความเห็นจากประชาชนในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่องตามขั้นตอนกฎหมาย และปรับแบบโรงไฟฟ้าให้เหมาะสมกับพื้นที่และความเห็นของประชาชนพื้นที่กระบี่แล้ว ส่วนการเริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้นั้น จะต้องผ่านการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ตามขั้นตอนก่อน และยืนยันว่าการสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ในครั้งนี้ รัฐทำทุกอย่างตามหลักสากลอย่างแท้จริง.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!