- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Wednesday, 08 July 2015 12:34
- Hits: 2532
พณ.ปลื้มประมูลข้าวคึกคัก ระบายได้ 1 ล้านตัน-ฟุ้งได้ราคาดี
แนวหน้า : กรมการค้าต่างประเทศเปิดให้ผู้ประกอบการที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติแล้ว 62 ราย เข้าร่วมเสนอราคาประมูลซื้อข้าวสารสต๊อกรัฐบาลครั้งที่ 4 ปีนี้ ปริมาณ 1,395,000 ตัน ซึ่งตั้งแต่เปิดให้ยื่นซองเสนอราคาเวลา 08.30-10.30 น. ปรากฏว่ามีผู้สนใจเข้ายื่นซองเสนอราคาทั้งสิ้น 55 ราย
ทั้งนี้ นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า โดยเบื้องต้นมีผู้ที่ผ่านราคาเกณฑ์มูลค่าขั้นต่ำ(floor price) จำนวน 33 ราย ปริมาณ 1.148 ล้านตัน คิดเป็น 83% ของข้าวที่เปิดประมูลในครั้งนี้ ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณมากที่สุดที่รัฐระบายได้ นับตั้งแต่เปิดประมูลมา 8 ครั้ง มูลค่าประมาณ 11,079 ล้านบาท และส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการโรงสี แต่ผู้ที่ประมูลได้ปริมาณมากที่สุดคือ บริษัท แคปปิตัลซีเรียลส์ จำกัด ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่1 ใน 5 ของประเทศ ทั้งนี้ ข้าวที่ระบายได้มากที่สุดในครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นข้าวขาว 5% ระบายได้ 0.99 ล้านตัน คิดเป็น 71% ของข้าวที่ระบายได้ในเบื้องต้น และจะนำเสนอผลการประมูลต่อคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในวันที่ 8 ก.ค. 2558 ต่อไป“การเปิดประมูลถือว่าระบายได้มากสุดนับตั้งแต่เปิดประมูลมา 8 ครั้ง ซึ่งเหตุผลหลักอาจเป็นเพราะขณะนี้ปริมาณข้าวในตลาดมีน้อยแล้ว จากปัญหาภัยแล้งที่เริ่มสะท้อนผลออกมาให้เห็นถึงปริมาณการผลิตข้าว ทั้งในไทย และในโลกลดลง
ขณะที่ความต้องการข้าวในตลาดโลกยังคงมีต่อเนื่อง ขณะที่ราคาข้าวในตลาดก็เริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยในสัปดาห์นี้ราคาข้าวขาว 5% ปรับเพิ่มมาอีก 500 บาทต่อตัน และในการประมูลครั้งนี้ราคาก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี สูงกว่าราคาเกณฑ์มูลค่าขั้นต่ำ 5% และเชื่อว่าการประมูลข้าวในครั้งนี้ไม่การซื้อไว้เพื่อเกร็งกำไรแน่นอน เพราะความต้องการข้าวในตอนนี้มีมาก จึงต้องหาข้าวไปส่งตามคำสั่งซื้อ”ทั้งนี้ จากการเปิดประมูลข้าว 8 ครั้ง รัฐสามารถระบายข้าวในสต๊อกได้แล้ว 3.88 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 40,948 ล้านบาท ส่งผลให้ล่าสุดปริมาณข้าวในสต๊อกของรัฐบาลเหลืออยู่ที่ประมาณ 14.312 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวที่ผ่านมาตรฐาน เกรดเอและเกรดบี ประมาณ 8-9 ล้านตัน ข้าวเกรดซี หรือข้าวเสื่อมคุณภาพ 4.6 ล้านตัน และข้าวเสีย 1.29 ล้านตัน
โละข้าวสต็อกอีก 1.1 ล้านตันพิษจำนำสูงหลอน!ขายแล้ว8ครั้งขาดทุนยับ 5.2 หมื่นล.
ไทยโพสต์ : นนทบุรี * พาณิชย์ปลื้มขายข้าวสต็อกได้อีก 1.148 ล้านตัน มูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาท มากสุดตั้งแต่เปิดประมูล เตรียมชง นบข.อนุมัติ 8 ก.ค. พร้อมเปิดประมูลรอบใหม่ภายในเดือนนี้ สรุปตัวเลขขายแล้ว 8 ครั้ง ได้เงิน 4.09 หมื่นล้าน ขาดทุน 5.22 หมื่นล้านบาท พิษจำนำราคาสูง
นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การเปิดประมูลสต็อกข้าวสารรัฐบาลแบบยกคลัง ครั้งที่ 4/2558 มีผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ 62 ราย แต่ยื่นซองเสนอราคา 55 ราย ใน 105 คลัง โดยผู้เสนอราคาผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ (ฟลอร์แวลู) จำนวน 33 ราย ใน 103 คลัง ปริมาณรวม 1.148 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วน 83% ของปริมาณข้าวที่นำออกมาเปิดประมูลทั้งหมด 1.38 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 11,079 ล้านบาท
ข้าวที่ขายได้มากสุด คือ ขาวข้าว 5% ปริมาณ 9.9 แสนตัน โดยกรมจะนำผลการเปิดประมูลเสนอต่อประธานคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) อนุมัติในวันที่ 8 ก.ค.นี้
การประมูลครั้งนี้ถือว่าทำสถิติขายข้าวได้มากที่สุดนับตั้งแต่เปิดประมูลมาทั้งหมด 8 ครั้ง ตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ โดยรวม 8 ครั้ง ขายได้ปริมาณ 3.88 ล้านตัน มูลค่า 4.09 หมื่นล้านบาท
"การขายข้าวครั้งนี้ได้ราคาเป็นที่น่าพอใจ และขายได้มากที่สุดนับตั้งแต่เปิดประมูล แสดงให้เห็นว่าความต้องการข้าวในตลาดยังมีสูง จากการที่ข้าวเปลือกในท้องตลาดไม่มี และปัญหาภัยแล้งที่กระทบต่อปริมาณผลผลิตข้าวในตลาดโลกที่ลดลง" นางดวงพรกล่าว
สำหรับ สต็อกข้าวสารในปัจจุบันมีประมาณ 15.46 ล้านตัน หลังการประมูลครั้งนี้ เหลือข้าวในสต็อกประมาณ 14.31 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวเสียเป็นฝุ่น ผง 1.29 ล้านตัน ข้าวเกรดซี 4.6 ล้านตัน ทำให้เหลือข้าวในสต็อก ที่เป็นเกรดพี เอ และบี อีกประ มาณ 8.4 ล้านตัน ที่จะต้องมีการคัดแยกก่อนที่จะเอามาเปิดประมูล คาดว่าข้าวที่เหลือจะประมูลขายได้หมดประมาณ 2 ปี
ส่วนการเปิดประมูลข้าวรอบต่อไป กรมกำลังรอเจ้าหน้าที่ตำรวจเก็บหลักฐานและสรุปผลมาให้ก่อน หากสรุปเป็นข้าวเกรดไหนมาก่อน จะนำมาเปิดประมูลก่อน ซึ่งน่าจะทำได้อีกครั้งภายในเดือนนี้ เบื้องต้นมีข้าวเกรดซีที่ตำ รวจสรุปมาแล้วประมาณ 3-4 แสนตัน และระหว่างนี้กรมจะ หารือกับคณะกรรมการที่ประ กอบด้วยกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อกำหนดราคากลางในการเปิดประมูลข้าวในส่วนของข้าวเสียและข้าวเกรดซี ที่ต้องระบายออกไปทำพลังงานไฟฟ้า และภาคอุตสาหกรรมให้ได้ก่อน
รายงานข่าวจากกระ ทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า การอนุ มัติขายข้าว 1.148 ล้านตัน มูลค่ารวม 1.10 หมื่นล้านบาท เฉลี่ยราคาประมาณตันละ 1 หมื่นบาท หากคิดจากต้นทุนรับจำนำข้าวเปลือกที่ตันละ 1.5 หมื่นบาท หรือข้าวสารตันละ 2.4 หมื่นบาท การขายข้าวครั้งนี้จะขาดทุนประมาณ 1.64 หมื่นล้านบาท รวม 8 ครั้งที่ขายข้าวได้ 3.88 ล้านตัน มูลค่า 4.09 หมื่นล้านบาท จะขาดทุนจากต้นทุนรับจำนำประมาณ 5.22 หมื่นล้านบาท โดยยอดขาดทุนคิดจากต้นทุนรับจำนำอย่างเดียว ยังไม่รวมค่าบริหารจัดการข้าว.
พณ.ปลื้มระบายข้าวฉลุย 1.148 ล.ตัน ตั้งเป้าเสร็จภารกิจก่อนสิ้นปี 2559
แนวหน้า : นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในการเปิดประมูลข้าวสารในสต็อกของรัฐบาลครั้งที่ 4/2558 ปริมาณ 1.38 ล้านตัน มีผู้สนใจยื่นซองเสนอราคาประมูลข้าว 55 ราย จากผู้ที่ผ่านคุณสมบัติการณ์ประมูลจำนวน 62 ราย โดยเบื้องต้น มีผู้ที่ผ่านราคาเกณฑ์มูลค่าขั้นต่ำ (floor price) จำนวน 33 ราย ปริมาณ 1.148 ล้านตัน คิดเป็น 83% ของข้าวที่เปิดประมูลในครั้งนี้ ซึ่งถือว่า เป็นปริมาณมากที่สุดที่รัฐระบายได้ นับตั้งแต่เปิดประมูลมา 8 ครั้ง มูลค่าประมาณ 11,079 ล้านบาท และส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการโรงสี แต่ผู้ที่ประมูลได้ปริมาณมากที่สุดคือ บริษัท แคปปิตัลซีเรียลส์ จำกัด ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ 1 ใน 5 ของประเทศ ทั้งนี้ข้าวที่ระบายได้มากที่สุดในครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นข้าวขาว 5% ระบายได้ 0.99 ล้านตัน คิดเป็น 71% ของข้าวที่ระบายได้ในเบื้องต้น และจะนำเสนอผลการประมูลต่อคณะกรรมนโยบายและบริหารจัดการข้าว(นบข.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในวันที่ 8 ก.ค.2558 ต่อไป
"การเปิดประมูลถือว่าระบายได้มากสุดนับตั้งแต่เปิดประมูลมา 8 ครั้ง ซึ่งเหตุผลหลักอาจเป็นเพราะขณะนี้ปริมาณข้าวในตลาดมีน้อยแล้ว จากปัญหาภัยแล้งที่เริ่มสะท้อนผลออกมาให้เห็นถึงปริมาณการผลิตข้าว ทั้งในไทย และในโลกลดลง ขณะที่ความต้องข้าวในตลาดโลกยังคงมีต่อเนื่อง ขณะที่ราคาข้าวในตลาดก็เริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยในสัปดาห์นี้ราคาข้าวขาว 5% ปรับเพิ่มมาอีก 500 บาทต่อตัน และในการประมูลครั้งนี้ราคาก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี สูงกว่าราคาเกณฑ์มูลค่าขั้นต่ำ 5% และเชื่อว่าการประมูลข้าวในครั้งนี้ไม่การซื้อไว้เพื่อเกร็งกำไรแน่นอน เพราะความต้องการข้าวในตอนนี้มีมาก จึงต้องหาข้าวไปส่งตามคำสั่งซื้อ"
ทั้งนี้ จากการเปิดประมูลข้าว 8 ครั้ง รัฐสามารถระบายข้าวในสต็อกได้แล้ว 3.88 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 40,948 ล้านบาท ส่งผลให้ล่าสุดปริมาณข้าวในสต็อกของรัฐบาลเหลืออยู่ที่ประมาณ 14.312 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวที่ผ่านมาตรฐาน เกรดเอ และเกรดบี ประมาณ 8-9 ล้านตัน ข้าวเกรดซี หรือข้าวเสื่อมคุณภาพ 4.6 ล้านตัน และข้าวเสีย 1.29 ล้านตัน ซึ่งข้าวในส่วนที่เหลือเหล่านนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบตามขั้นตอน ก่อนจะพิจารณาระบายตามความเหมาะสมต่อไป ซึ่งในการประมูลข้าวครั้งถัดไป หรือครั้งที่ 5/2558 ยังต้องรอผลการตรวจสอบ และคัดแยกว่า จะมีการระบายข้าวชนิดได้บ้าง ปริมาณเท่าไหร่ โดยน่าจะเปิดประมูลได้ประมาณปลายเดือน ก.ค.58 นี้ อย่างไรก็ตามรัฐก็ตั้งเป้าจะระบายข้าวทั้งหมดให้ได้ภายใน 2 ปี หรือให้หมดก่อนสิ้นปี 2559
นอกจากนี้ ตั้งแต่ต้นปี ถึงวันที่ 3 ก.ค.58 ไทยส่งออกข้าวได้แล้วปริมาณ 4.6 ล้านตัน มูลค่า 74,830 ล้านบาท ซึ่งปริมาณลดลง 3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ก็มั่นใจว่าทั้งปี ไทยจะส่งออกข้าวได้ถึง 10 ล้านตัน ตามที่คาดการณ์ไว้ เพราะช่วงคร่งปีหลังจะเป็นช่วงที่ส่งออกข้าวได้ปริมาณมากกว่าครึ่งปีแรก
สำหรับ การเปิดประมูลข้าวสารในสต็อกของรัฐบาลครั้งที่ 4/2558 ปริมาณ 1.38 ล้านตัน เป็นข้าว 14 ชนิด ในคลัง 153 คลังทั่วประเทศ ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% ข้าวขาว 10% ข้าวขาว 15% ข้าวขาว 25% เลิศ ข้าวเหนียวขาว 10% ข้าวท่อนปทุมธานี ข้าวท่อนหอมมะลิ ข้าวปทุมธานี ข้าวปทุมธานี 5% ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 2 ปลายข้าวเหนียวเอวัน ปลายข้าวขาวเอวันเลิศ ปลายข้าวปทุมธานี และปลายข้าวหอมมะลิ
ข้าวขึ้น 500 บ./ตัน-62 บริษัทยื่นประมูล
ไทยโพสต์ : นนทบุรี * พิษภัยแล้ง ดันราคาข้าวขยับขึ้นตันละ 500 บาท พาณิชย์เปิดประมูลสต็อกรอบ 4 มี 62 รายยื่นซอง ฟุ้งพ่อค้าแห่ชิงเค้ก เหตุตลาดมีความต้องการซื้อสูง
นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิด เผยว่า แนวโน้มราคาข้าวปรับตัวดีขึ้น โดยข้าวสารปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยตันละ 500 บาท เนื่องจากปริมาณข้าวในตลาดลดลง และยังมีปัญหาเรื่องภัยแล้ง แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าภัยแล้งจะกระทบต่อการผลิตข้าวมากน้อยเพียงใด เพราะข้าวในหลายพื้นที่ยังไม่ปลูก แต่ถ้าถึงช่วงเดือน ส.ค.แล้วน้ำฝนยังน้อย ภัยแล้งจะส่งผลกระทบต่อการปลูกข้าวแน่นอน
รายงานข่าวแจ้งว่า ราคาข้าวสาร 5% ณ วันที่ 6 ก.ค.2558 ตันละ 11,700-11,800 บาท เพิ่มขึ้นจาก 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ตันละ 11,100-11,120 บาท ขณะที่ราคาข้าวเปลือกเจ้า (ความชื้น 15%) ตันละ 8,000-7,800 บาท เพิ่มขึ้นจากตันละ 7,800-7,600 บาท
นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 6 ก.ค. กรมได้เปิดให้เอกชนยื่นซองเพื่อตรวจคุณสมบัติการเข้าร่วมประมูลข้าวสารสต็อกรัฐบาล จำนวน 1.39 ล้านตัน ครั้งที่ 4/2558 โดยมีผู้สนใจยื่นซองทั้งหมด 62 ราย ซึ่งกรมจะมีการประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติและให้ยื่นซองเสนอราคาในวันที่ 7 ก.ค. พร้อมกับเปิดซองเสนอราคาในวันเดียวกัน
การเปิดประมูลข้าวสต็อก รัฐบาลครั้งนี้ ที่มีผู้เข้าร่วมสนใจ เสนอซองเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีความต้องการข้าวในตลาดมากขึ้น เพราะข้าวนาปรังรอบ 2 คาดว่าจะมีผลผลิตออกเพียงเล็กน้อย จากผลกระทบภัยแล้ง และหากรัฐบาลสามารถอนุมัติขายข้าวในครั้งนี้ได้ทั้งหมด จะทำให้เหลือข้าวคุณภาพดีที่จะนำมาเปิด ประมูลในรอบต่อไปไม่ถึง 1 ล้านตัน จากที่มีข้าวคุณภาพดีอยู่ทั้ง หมด 2.6 ล้านตัน โดยครั้งก่อนได้อนุมัติขายไป 8 แสนตัน
สำหรับ การระบายข้าวในส่วนของข้าวเสียหาย เป็นฝุ่นผง ที่มีอยู่ 1.29 ล้านตัน และข้าวเกรดซี 4.6 ล้านตัน โดยมีข้าวเกรดซีล้วนๆ ที่อยู่ในคลังเดียวกัน 1.33 ล้านตัน ที่เหลืออีก 3.3 ล้านตัน เป็นข้าวเกรดซีที่มีข้าวเกรดเอและบีปนอยู่ด้วย กรมต้องรอผลสรุปทางด้านคดีจากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ กำลังดำเนินการตามขั้นตอนในส่วนของการเก็บหลักฐานให้แล้วเสร็จก่อน คาดว่าภายในเดือน ก.ค.นี้ น่าจะได้ข้อสรุปทางด้านหลักฐานจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจถึงจะนำออกมาประมูลได้.
เอกชนยื่นประมูลข้าวสต็อกรัฐรอบ 4 รวม 1.1 ล้านตัน มูลค่า 1.1 หมื่นลบ.
กรมการค้าต่างประเทศ ระบุว่า ตามที่คณะทำงานดำเนินการระบายข้าว ได้ออกประกาศเชิญชวนให้ผู้ประกอบการค้าข้าวยื่นซองเสนอราคาซื้อข้าวสารในสต็อกของรัฐ ครั้งที่ 4/2558 ตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือก นาปี ปีการผลิต 2554/55 นาปรังปีการผลิต 2555 ปีการผลิต 2555/56 (รอบ 1 และ รอบ 2) และปีการผลิต 2556/57 แบบรายคลังสินค้าตามสภาพข้าวที่เก็บรักษา ในคลังสินค้ากลางขององค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) จำนวน 153 คลัง ประกอบด้วยข้าว 14 ชนิด ได้แก่ ข้าวขาว 5%, ข้าวขาว 10%, ข้าวขาว 15%, ข้าวขาว 25% เลิศ, ข้าวเหนียวขาว 10%, ข้าวท่อนปทุมธานี, ข้าวท่อนหอมมะลิ, ข้าวปทุมธานี, ข้าวปทุมธานี 5%, ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 2, ปลายข้าวเหนียวเอวัน, ปลายข้าวขาวเอวันเลิศ, ปลายข้าวปทุมธานี และปลายข้าวหอมมะลิ ปริมาณรวมทั้งสิ้น 1.38 ล้านตันนั้น
การเปิดประมูลข้าวครั้งนี้ได้รับความสนใจจากผู้ส่งออกและผู้ประกอบการโรงสี ทั้งรายเล็กและรายใหญ่แสดงความจำนงเข้าร่วมการประมูลจำนวนมาก โดยเมื่อวานนี้(6 ก.ค.) มีผู้ยื่นซองเอกสารคุณสมบัติ รวม 62 ราย และในวันนี้ ประกาศผลผู้ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นทั้งสิ้น 62 ราย แต่ปรากฎว่ามีผู้มายื่นซองเสนอราคา จำนวน 55 ราย ใน 105 คลัง โดยมีผู้เสนอราคาที่ผ่านเกณฑ์มูลค่าขั้นต่ำ(Floor Value : FV) จำนวน 33 ราย 103 คลัง ปริมาณ 1.148 ล้านตัน(คิดเป็นร้อยละ 83 ของปริมาณที่เปิดประมูล) มูลค่าประมาณ 11,079 ล้านบาท และไม่ผ่าน FV ใน 2 คลัง โดยในครั้งนี้มีคลังที่ไม่มีผู้เสนอราคารวม 48 คลัง ทั้งนี้ ชนิดข้าวที่ขายได้มากที่สุดเป็นข้าวขาว 5% ปริมาณ 0.99 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 71 ของปริมาณที่เปิดประมูล
"การเปิดประมูลครั้งนี้ ที่มีผู้เสนอซื้อมากถึง 1.148 ล้านตันนั้น ถือว่าซื้อมากที่สุดจากการเปิดประมูลมา 8 ครั้ง เพราะขณะนี้ตลาดมีความต้องการข้าวจำนวนมาก จากคำสั่งซื้อยังมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ผลผลิตข้าวในตลาดน้อยลง จากปัญหาภัยแล้ง ที่ทำให้ข้าวนาปรังรอบ 2 มีผลผลิตออกมาน้อย และยังต้องเลื่อนการปลูกข้าวนาปีปี 58/59 ออกไปอีก 1 เดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) บริหารประเทศ สามารถเปิดประมูลได้แล้ว 8 ครั้ง ปริมาณรวม 3.88 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 40,948 ล้านบาท"นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าว
ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศ จะรวบรวมผลการเสนอซื้อที่มีมูลค่าสูงสุดในแต่ละคลัง นำเสนอต่อประธานคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) เพื่อพิจารณาผลการเสนอซื้อ ก่อนแจ้งผลการประมูลข้าวสารในสต็อกของรัฐอย่างเป็นทางการให้ผู้ชนะการประมูลทราบต่อไป
นางดวงพร กล่าวต่อว่า สำหรับการเปิดประมูลข้าวรอบต่อไปจะนำข้าวส่วนใดมาเปิดประมูลนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะส่งผลสรุปข้าวส่วนใดมาให้ก่อน ซึ่งหากสรุปคดีข้าวเกรดซีได้ก่อน ก็จะข้าวเกรดซีมาขายให้กับภาคอุตสาหกรรม เช่น ผลิตเอทานอลก่อน แต่ทั้งหมดจะมีคณะกรรมการ ที่ประกอบด้วยหน่วยงานของภาครัฐ ทั้งกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดราคากลางในการเปิดประมูลข้าวที่ต้องระบายออกไปให้ภาคอุตสาหกรรม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเปิดประมูลครั้งนี้ หากนบข.อนุมัติขายทั้งหมด 1.148 ล้านตัน มูลค่ารวม 11,079 ล้านบาท หรือเฉลี่ยขายได้ตันละ 10,000 บาท จะทำให้ขาดทุนประมาณ 16,400 ล้านบาท จากต้นทุนราคาข้าวสารในสต๊อกที่ตันละ 24,000 บาท ตามราคาจำนำข้าวเปลือกที่ตันละ 15,000 บาท แต่หากรวมการประมูลทั้ง 8 ครั้ง ที่ขายข้าวได้ 3.88 ล้านตัน มูลค่า 40,948 ล้านบาท จะขาดทุนจากต้นทุนรับจำนำ 52,200 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมค่าบริหารจัดการสต๊อก และค่าดอกเบี้ยต่างอีก
อินโฟเควสท์