WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCฉตรชย สารกลยข่าวดี!สหรัฐต่ออายุจีเอสพีให้ไทย 4 ปีครึ่ง

    ไทยโพสต์ : พาณิชย์ * ข่าวดีผู้ส่งออกไทย สหรัฐต่ออายุโครงการจีเอสพีให้อีก 4 ปี 5 เดือน สิ้นสุด 31 ธ.ค.2560 ส่วนผู้ที่เสียภาษีอัตราปกติไปแล้ว ยื่นขอคืนได้

    พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2558 ประธานาธิบดีสหรัฐได้ลงนามผ่านร่างกฎ หมายการต่ออายุโครงการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ให้กับประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงไทย ออกไปอีก 4 ปี 5 เดือน โดยจะมีผลบังคับใช้ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค.2556 - 31ธ.ค.2560

  โดยผู้ส่งออกไทยที่ส่งออกสินค้าภายใต้จีเอสพีสหรัฐ สามารถขอใช้สิทธิ์ส่งออกได้ตั้งแต่วันที่ 28 ก.ค.2558 หรือในอีก 30 วันนับจากประธานาธิบดีสหรัฐลงนามผ่านร่างกฎหมายนี้ นอกจากนี้ยังสามารถขอคืนภาษีนำเข้าจากศุลกากรสหรัฐ กรณีที่ได้เสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติไปตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.2556 (ช่วงที่โครงการจีเอสพีสิ้นสุดลง) จนถึงปัจจุบัน

   สำหรับ ไทยสามารถขอคืนภาษีนำเข้าจากสหรัฐได้กว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6,200 ล้านบาท โดยสินค้าที่ได้รับการคืนภาษี เช่น อาหารปรุงแต่ง ได้รับการคืนภาษีกว่า 390 ล้านบาท ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ 200 ล้านบาท ถุงมือยาง 160 ล้านบาท ชุดสายไฟใช้กับรถยนต์ 130 ล้านบาท เครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก 110 ล้านบาท กุญแจใช้กับรถยนต์ 100 ล้านบาท เป็นต้น

  "เป็นข่าวดีที่สหรัฐต่ออายุโครงการจีเอสพีให้กับสินค้าไทย เพราะโครงการหมดอายุตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค.2556 ซึ่งจะทำให้ไทยส่งออกสินค้าไปสหรัฐได้มากขึ้น แต่จนถึงขณะนี้ขอคงเป้าหมายการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐไว้ที่ 3% เท่าเดิมก่อน แต่จะเชิญผู้ส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐมาหารือถึงการผลักดันการส่งออกให้มากขึ้นหลังจากสหรัฐต่ออายุจีเอสพี" พล.อ.ฉัตรชัยกล่าว

  อย่างไรก็ตาม ขอให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยเร่งใช้สิทธิ์ให้มากขึ้น เพื่อเป็นแต้มต่อ ให้สินค้าไทยแข่งขันได้มากขึ้น ช่วยเพิ่มมูลค่าส่งออก และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต โดยในปี 2557 ไทยส่งออกสินค้าจีเอสพีไปสหรัฐมูลค่า 3,488.47 ล้านเหรียญฯ คิดเป็นสัดส่วน 18.67% ของมูลค่าการใช้สิทธิ์จีเอสพีทั้งหมดของสหรัฐ 18,681 ล้านเหรียญฯ.

 

 

ไทยรับประโยชน์สหรัฐฯต่ออายุ GSP อีก 4 ปี 5 เดือน มีผลตั้งแต่ 31 ก.ค.56

 

    กรมค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามผ่านร่างกฎหมายการต่ออายุโครงการ GSP (Generalized System of Preferences)  เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2558 โดยสหรัฐฯ ได้ต่ออายุโครงการออกไปอีก 4 ปี 5 เดือน ซึ่งจะมีผลบังคับย้อนหลังโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2556 วันที่โครงการ GSP หมดอายุ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560

 

    ทั้งนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP สิทธิพิเศษฯ GSP จะช่วยยกเว้นภาษีนำเข้า ซึ่งเป็นแต้มต่อที่ช่วยเพิ่มมูลค่าส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ประเทศที่ได้รับสิทธิฯ จะสามารถขอรับสิทธิพิเศษฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2558  เป็นต้นไป หรือ 30 วันนับจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ ลงนามผ่านร่างกฎหมายข้างต้น

 

  เมื่อสหรัฐฯ ประกาศต่ออายุโครงการ GSP เรียบร้อยแล้ว ผู้ส่งออก/ผู้นำเข้าสามารถยื่นขอคืนภาษีอากรขาเข้า(Refund) ที่ชำระภาษีไว้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2556 จนถึงปัจจุบัน โดยสามารถขอคืนภาษีอากรนำเข้าได้ภายใน 180 วัน หลังจากโครงการ GSP มีผลบังคับใช้  ในส่วนของประเทศไทยจะสามารถขอคืนภาษีขาเข้าได้กว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 6,200 ล้านบาท โดยมีรายการสินค้าที่ได้รับคืนภาษีนำเข้า อาทิ อาหารปรุงแต่ง จะได้รับคืนภาษีนำเข้ากว่า 390 ล้านบาท  ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ (200 ล้านบาท)  ถุงมือยาง (160 ล้านบาท)  ชุดสายไฟใช้กับรถยนต์ (130 ล้านบาท) เครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก (110 ล้านบาท) และกุญแจใช้กับรถยนต์ (100 ล้านบาท)  ตามลำดับ ปัจจุบันสหรัฐฯ ให้สิทธิ GSP แก่ประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุดทั้งหมด 127 ประเทศ ซึ่งรวมทั้งประเทศไทย  โดยให้สิทธิ GSP สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ประมาณกว่า 3,400 รายการ ซึ่งในปี 2557 ประเทศไทยมีการใช้สิทธิมาก

 

    เป็นอันดับสองรองจากอินเดีย โดยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 18.67 ของมูลค่าการใช้สิทธิ GSP ทั้งหมดของสหรัฐฯ  ซึ่งมีมูลค่า 18,681  ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศที่มีการใช้สิทธิ GSP สูง 5 อันดับแรก  คือ

 

ประเทศ มูลค่า (ล้าน US$) ส่วนแบ่งการใช้สิทธิ GSP (%)

 

1. อินเดีย 4,443.08 23.78

 

2. ไทย 3,488.47 18.67

 

3. บราซิล 1,892.63 10.31

 

4. อินโดนีเซีย 1,681.98 9.00

 

5. แอฟริกาใต้ 1,356.25 7.26

 

    ทั้งนี้ ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหรัฐฯ ควรเร่งการใช้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษฯ GSP ที่เป็นแต้มต่อที่ได้รับอยู่ให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มมูลค่าส่งออกไปตลาดที่ให้สิทธิ GSP ให้มากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศด้วย

                อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!