WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOC-Somkiatอัตราเงินเฟ้อติดลบ 6 เดือน งง!บอก'ฝืดทางเทคนิค'ขายสินค้าถูกซับภัยแล้ง

    ไทยโพสต์ * เงินเฟ้อเดือน มิ.ย.ลดลง 1.07% ติดลบต่อเนื่อง 6 เดือน ฉุดตัวเลขครึ่งปียังลบอยู่ 0.81% พาณิชย์-นักวิชาการประสานเสียง ไม่ใช่ภาวะเงินฝืด ‘ธนวรรธน์’ บอกแค่ฝืดทางเทคนิค เหตุกำลังซื้อยังมีอยู่ แต่แผ่วบางลง ‘ฉัตรชัย’ ดึง 10 ยักษ์ธุรกิจนำสินค้าขายผ่านร้านสหกรณ์ ธ.ก.ส. 250 แห่ง ช่วยภัยแล้ง 34 จังหวัด

      นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย.2558 เท่ากับ 106.64 ลดลง 1.07% เทียบ มิ.ย.2557 เป็นการติดลบต่อเนื่อง 6 เดือน แต่เทียบ พ.ค.2558 สูงขึ้น 0.10% ส่วนเฉลี่ย 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) ลดลง 0.81%

     นายสมเกียรติ กล่าวว่า เงินเฟ้อที่ติดลบต่อเนื่อง 6 เดือน ในส่วนตัวมองว่ายังไม่ใช่สัญญาณเงินฝืด เพราะหากเป็นภาวะเงินฝืด คือประชาชนไม่อยากบริโภคสินค้า ทั้งๆ ที่มีความต้องการบริโภค เพราะคาดว่าราคาสินค้าจะปรับตัวลดลงอีก แต่ปัจจุบันยังมีการบริโภคอยู่ เพียงแต่ระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น และราคาสินค้าก็ยังปรับขึ้นอยู่ ยกเว้นน้ำมันที่ราคาลดลงแรง ดังนั้นจึงยังไม่ปรับคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปี 2558 ที่ประเมินไว้เติบโตในกรอบ 0.6-1.3%

      "สิ่งที่กังวลขณะนี้ คือสถานการณ์ภัยแล้ง และภาวะเศรษฐกิจโลก ที่จะมีผลต่อการบริโภคในอนาคต หากภัยแล้งรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งจะมีการติดตามอย่างใกล้ชิด แต่ขณะนี้ยืนยันว่ายังไม่ใช่ภาวะเงินฝืดที่แท้จริง ซึ่งตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานเมื่อหักพลังงานและอาหารสดยังเป็นบวกอยู่" นายสมเกียรติกล่าว

      นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยา ลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า เงิน เฟ้อที่ติดลบต่อเนื่อง 6 เดือน ยังไม่เข้าข่ายเงินฝืดในเชิงนโย บายที่ต้องกังวล แต่เป็นสัญ ญาณเงินฝืดในเชิงเทคนิค เนื่อง จากกำลังซื้อยังมีอยู่ แต่เป็นกำ ลังซื้อที่แผ่วบาง เพราะเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือน มิ.ย.ก็เป็นบวกในระดับต่ำกว่า 1% สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจในครึ่งปีแรกยังไม่ฟื้นตัวดีพอ

   ทั้งนี้ รัฐบาลจะต้องระวัง ไม่ให้เงินเฟ้อติดลบนานไป และต้องเร่งกระตุ้นการบริโภคในครึ่งปีหลังให้กลับมาให้ได้ เพราะปัจจุบันเริ่มเห็นภาพการลดราคาสินค้าเพื่อล้างสต็อก แสดงว่ากำลังซื้อแผ่วลงไปมาก การลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยภาคธุรกิจ และอัดฉีดเม็ดเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจ จะทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจในครึ่งปีหลังกลับมาดีขึ้น

     พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ได้เชิญผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่กว่า 10 ราย เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) บมจ.สหพัฒนพิบูล บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ กลุ่มเซ็นทรัล เป็นต้น มาหารือแนวทางในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง โดยจะมีการนำสินค้าที่แต่ละบริษัทผลิตได้จำนวนกว่า 20 รายการ มาลดราคาจากปกติ 10-40% เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย 34 จังหวัด

     สินค้าที่จะนำมาลดราคาจำหน่าย เช่น ไข่ไก่ น้ำมันพืช บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง น้ำปลา นมผง สบู่ ยาสระผม ผงซักฟอก เป็นต้น โดยจะนำไปขายผ่านร้านค้าของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ซึ่งเป็นร้านค้าของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ที่มีอยู่จำนวน 250 แห่ง คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ต้นเดือน ส.ค.2558 นี้ มีระยะดำเนินการ 6 เดือน.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!