WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Cฉตรชย สารกลยะชงนบข.ขายข้าวเกรดซี 1.3 ล้านตัน

     ไทยโพสต์ : นนทบุรี * พาณิชย์จ่อชง นบข. 1 ก.ค.นี้ ระบายข้าวเกรดซี 1.3 ล้านตันให้อุตสาหกรรมเอทา นอล ส่วนที่เหลือรอผลศึกษาขายเหมาคลังหรือคัดแยก พร้อม เปิดประมูลข้าวดีอีก 1.39 ล้านตัน

   พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 ก.ค.นี้ คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็น ประธาน จะประชุมกัน โดยกระทรวงพาณิชย์จะเสนอแผน การระบายข้าวสต็อกรัฐบาล 1.3 ล้านตัน ซึ่งเป็นข้าวเกรดซี หรือข้าวเสื่อมสภาพให้กับภาคอุตสาหกรรมผลิตเอทานอล เพื่อไม่ให้เข้ามาสู่ระบบการค้าข้าวปกติ

     เบื้องต้น จะระบายข้าวเกรดซีแบบยกคลังในส่วน 1.3 ล้านตันออกเป็น 3 รอบ คือระบายในช่วงเดือน ก.ค., ส.ค. และ  ก.ย.

    "ข้าวเกรดซีที่ตรวจสอบได้ มีทั้งหมด 4.6 ล้านตัน โดย 1.3 ล้านตัน เป็นข้าวเกรดซีที่ไม่ปะปนกับข้าวเกรดอื่นๆ ซึ่งสามารถนำมาขายแบบยกคลังออกไปให้ภาคอุตสาหกรรมได้เลย โดยจะขออนุมัติจาก นบข.ก่อน เพื่อเตรียมความพร้อม เมื่อตำรวจสรุปคดีเสร็จภายในสิ้นเดือน มิ.ย.จะนำมาเปิดระบาย 3 ครั้งในช่วง 3 เดือน ตั้งแต่ ก.ค.ก.ย." พล.อ.ฉัตรชัยกล่าว

    สำหรับ ข้าวเกรดซีที่เหลืออีก 3.3 ล้านตัน ซึ่งเป็นข้าวที่อยู่ในโกดังปะปนรวมกับข้าวชนิดอื่น เช่น เกรดเอและเกรดบี จะให้กรมการค้าต่างประเทศไปศึกษาว่าจะระบายด้วยวิธีการใดถึงจะเหมาะสม หากประมูลขายแบบยกคลังจะคุ้มค่ากว่าการนำมาคัดแยกข้าวแต่ละเกรดออกจากกันหรือไม่ คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้

     แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การคัดแยกข้าวแต่ละเกรดในโกดัง มีค่าใช้จ่ายในการคัดแยกไม่ต่ำกว่าโกดังละ 30 ล้านบาท ซึ่งอาจไม่คุ้มค่ากว่าการขายแบบเหมาคลังไปทั้งหมด แต่การขายแบบเหมาคลังต้องระมัดระวัง เพราะแม้รัฐบาลจะไม่ต้องมาเสียงบประมาณในการคัดแยก แต่มีจุดอ่อนตรงเอกชนที่ประมูลข้าวได้ไปอาจนำไปคัดแยกแล้วนำข้าวคุณภาพไม่ดีกลับเข้าสู่ระบบปกติ

      นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า คณะทำงานดำเนินการระบายข้าวได้ออกประกาศเรื่องการจำหน่ายข้าวสารในสต็อกของรัฐ ครั้งที่ 4/2558 ปริมาณ 1.39 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าว 14 ชนิด เช่น ข้าวขาว 5% ข้าวขาว 10% ข้าวเหนียว 10% ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 2 ปลายข้าวขาวเอวันเลิศ ปลายข้าวเหนียว กำหนดยื่นซองเอกสารตรวจสอบคุณสมบัติ 6 ก.ค. ประกาศคุณสมบัติผู้เสนอซื้อวันที่ 7 ก.ค. และให้ยื่นเสนอราคาในวันเดียวกัน.

ภัยแล้ง!ดันผักแพงขึ้น 100%พาณิชย์เร่งลงพื้นที่ตรวจเข้ม-จ่อประมูลข้าวอีก 1 ล้านตัน

       ไทยโพสต์ : พาณิชย์ * ภัยแล้ง! ดันราคาผักพุ่ง พบหลายรายการขยับเกิน 100% คะน้าโลละ 38 บาท หมู-ไก่สด-ไข่ไก่ ปรับเพิ่มเช่นกัน "ฉัตรชัย" สั่งผู้บริหารออกตรวจสอบราคาใกล้ชิด ป้องกันฉวยโอกาสขายแพงเกินเหตุ เตรียมเปิดประมูลข้าวสต็อกล็อตใหม่อีก 1 ล้านตัน

    รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า ปัญหาภัยแล้งได้ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าหลายรายการปรับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่ากลุ่มผักสด เช่น คะน้า ผักบุ้งจีน ผักกาดหอม แตงกวา ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ผักกวางตุ้ง พริกสด มะละกอดิบ ถั่วฝักยาว ต้นหอม ขึ้นฉ่าย และผักชี เป็น ต้น ขณะที่กลุ่มเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ ปรับราคาสูงขึ้น ซึ่งภัยแล้งทำให้ผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง

    โดยราคาผักในเดือน มิ.ย. เช่น คะน้า ราคากิโลกรัม (กก.) ละ 38 บาท จากเดือน พ.ค.ที่สูงสุด กก.ละ 16 บาท มะละกอดิบ กก.ละ 13 บาท จาก กก.ละ 6 บาท ผักกาดหอม กก.ละ 90-100 บาท เพิ่มขึ้นจาก กก.ละ 50 บาท แตงกวา กก.ละ 14-16 บาท เพิ่มจาก กก.ละ 8 บาท ผักกาดขาว กก.ละ 10-12 บาท โดยเคยขึ้นสูงสุด กก.ละ 20 บาท กะหล่ำปลี กก.ละ 14 บาท เพิ่มขึ้นจาก กก.ละ 11 บาท ผักกวางตุ้ง กก.ละ 10-12 บาท เคยขึ้นสูงสุด กก.ละ 26 บาท ถั่วฝักยาว กก.ละ 60 บาท เพิ่มขึ้นจาก กก.ละ 50 บาท

     สำหรับ เนื้อหมู ราคา กก. ละ 145-150 บาท ไก่สด กก.ละ 85-90 บาท และไข่ไก่เบอร์ 3 ราคาฟองละ 2.90-3.00 บาท

     ทั้งนี้ ผักที่มีราคาเพิ่มขึ้น สูงสุดเกิน 100% คือ ผักคะน้า หลังจากราคาเมื่อเดือน พ.ค. อ่อนตัวลงมาอย่างต่อเนื่อง ต่ำสุด กก.ละ 6 บาท ส่วนผักชีราคาปรับเพิ่มขึ้นเป็น กก.ละ 180 บาท หลังจากที่ราคาต่ำสุดเมื่อเดือน พ.ค.อยู่ที่ กก.ละ 25 บาท

     มีรายงานว่า พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ สั่งการให้กรมการค้าภายในและผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ ออกตรวจสอบภาวะราคาสินค้าในตลาด โดยเฉพาะในช่วงที่มีปัญหาราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น เพื่อติดตามภาวะราคา สอดส่องดูแลให้มีการจำหน่ายสินค้าเป็นไปตามปกติ และป้องกันการฉกฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาสินค้า

     น.ส.บรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า คณะอนุกรรมการระบาย ข้าว เตรียมประกาศเงื่อนไขการระบายข้าวในสต็อกของรัฐบาลครั้งที่ 4/2558 ภายในวันที่ 26 มิ.ย.นี้ เบื้องต้นเงื่อนไขการเข้าร่วมประมูลจะเหมือนกับครั้งก่อนๆ เช่นเดียวกับปริมาณที่ 1 ล้านตัน และชนิดข้าวจะหลากหลาย ทั้งข้าวขาวและปลายข้าว

    รายงานข่าวแจ้งว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งในไทยและต่างประเทศ มีแนวโน้มว่าในปี 2558/59 ปริมาณข้าวอาจขาดแคลน การบริหารจัดการสต็อกข้าวจึงต้องพิจารณาถึงจังหวะ เวลา โอกาสทางการตลาดและช่องทางที่เหมาะสม ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะได้มีการติดตามสถาน การณ์น้ำและผลผลิตข้าวในฤดูใหม่อย่างใกล้ชิด ซึ่งจะมีผลอย่างมากต่อตลาดและราคาข้าวในช่วงครึ่งปีหลัง

     ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ระบายข้าวในสต็อกช่วงเดือน ส.ค.2557 - 16 มิ.ย.2558 รวม 7 ครั้ง ปริมาณ 2.73 ล้านตัน มูลค่า 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งการประมูลครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.58 มีผู้เสนอซื้อที่ให้ราคาผ่านเกณฑ์ 40 ราย จำนวน 107 คลัง ปริมาณ 840,000 ตัน (79% ของปริมาณที่ประมูล).

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!