WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Cม.ร.ว.ปรดยาธร เทวกลหม่อมอุ๋ยขอเวลา 1 เดือนหาวิธีระบายข้าวเสื่อมคุณภาพ 12 ล้านตันในสต็อกรัฐบาล

      ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เตรียมหาวิธีการขายข้าวในสต๊อกรัฐบาลในส่วนของข้าวที่เสื่อมคุณภาพจำนวน 12 ล้านตัน จากทั้งหมด 17 ล้านตัน โดยขอเวลาพิจารณาภายใน 1 เดือน เชื่อว่าหากสามารถขายข้าวจำนวนนี้ได้จะทำให้ราคาข้าวดีขึ้น และหนึ่งในแนวทางที่อาจจะนำข้าวเสื่อมคุณภาพไปดำเนินการ คือ การนำไปทำเป็นแอลกอฮอล์ แต่ขอไปพิจารณาถึงความคุ้มทุนก่อน

    "ทำชุ่ยๆ ไม่ได้ เราต้องทำให้ขายให้ได้ราคาดีกว่าขายแบบเน่าๆ โจทย์คือ 12 ล้านตัน...ผมขอเวลาคิดเดือนเดียว"ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว

     รองนายกรัฐมนตรี ได้ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจในขณะนี้ โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจจะเริ่มดีขึ้น โดยประเมินจาก GDP ที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เข้ามาเป็นรัฐบาล ซึ่งการประเมินมองจาก 2 ปัจจัย คือ 1.ตัวเลขเศรษฐกิจที่เห็นชัดว่าเศรษฐกิจดีขึ้น และ 2.จากความรู้สึกที่อาจจะมองว่า เศรษฐกิจยังไม่คึกคัก เป็นผลจากการที่รัฐบาลจริงจังในการกวาดล้างธุรกิจสีเทา ทำให้เงินในส่วนนี้หายไป แต่เชื่อว่าหลังจากนี้จะดีขึ้น และเศรษฐกิจจะเติบโตได้ตามเป้าที่วางไว้ คือ 3%

      อินโฟเควสท์

อัดค่าแรง 300 ทำส่งออกติดลบ เผยรัฐบาลวาง 3 ฐานฟื้นเศรษฐกิจ

    แนวหน้า : ที่รัฐสภา มีการสัมมนาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของรัฐบาลต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมตรี ชี้แจงผลการดำเนินงานของรัฐบาลด้านเศรษฐกิจว่า การเติบโตของเศรษฐกิจไทย ปี 2557 ไตรมาสที่ 1 ติดลบ 0.4 เปอร์เซ็นต์ ไตรมาสที่ 2 บวก 0.9 เปอร์เซ็นต์ ไตรมาสที่ 3 บวก 1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่รัฐบาลจะเข้ามาบริหารงาน และเมื่อรัฐบาลเข้ามาบริหารพบว่าไตรมาสที่ 4 เศรษฐกิจของประเทศเติบโตเพิ่ม 2.1 เปอร์เซ็นต์ กระทั่งไตรมาสแรกของปี 2558 เศรษฐกิจเติบโตเพิ่ม 3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ได้รับการยืนยันจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขณะเดียวกันเศรษฐกิจของประเทศก็ค่อยๆ ฟื้นอย่างต่อเนื่อง และแม้ว่าการส่งออกจะติดลบ 2.5 เปอร์เซ็นต์ ก็มีตัวช่วยคือการลงทุนจากภาครัฐ การท่องเที่ยวและบริการ ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศยังเป็นบวก

    ส่วนการส่งออกที่ติดลบนั้น เป็นการติดลบอยู่แล้วตั้งแต่ 4 ปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากนโยบายค่าแรง 300 บาท ของรัฐบาลที่ผ่านมา ทำให้สูญเสียความสามารถทางการแข่งขัน ซึ่งตนไม่ได้ทับถมใคร แต่ใครทำนโยบายไม่ดีไว้ก็น่าจะบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ซึ่งการแก้ปัญหารัฐบาลชุดนี้ได้วางแนวทางแก้ไขปัญหา 3 ฐานเศรษฐกิจ คือ ฐานเศรษฐกิจแรกคือปรับปรุงอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยในระยะสั้นต้องปรับค่าเงินบาทให้อ่อนตัวลง โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงการค้าขายเงินตราต่างประเทศ ทำให้ค่าเงินอ่อนตัวลงจาก 32.70 บาท เป็น 33.17 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ ขณะที่การแก้ปัญหาระยะยาวต้องทำในลักษณะการปฏิรูป โดยจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผลิตสินค้าใหม่ออกมาขาย เป็นสินค้าที่ขายในตลาดโลกได้ ซึ่งควรเป็นสินค้าที่มีเทคโนโลยีสูงที่อุตสาหกรรมไทยรองรับได้แล้ว แต่คู่แข่งยังรองรับไม่ได้ เช่น อาหารทางการแพทย์ อาหารคุณค่าสูง ชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีสูง เน้นความปลอดภัย และประหยัดพลังงาน เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลได้มีการประกาศ และออกโรดแมปแล้ว ผลที่ได้รับถือว่าเร็วเกินคาด เฉพาะเดือน มกราคม-พฤษภาคม ในกลุ่มสินค้าสายการผลิตใหม่ มีผู้มายื่นขอส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) แล้ว 127 ราย อนุมัติแล้ว 25 ราย ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้โครงการ  Modern Industries จำนวน 197 โครงการ ต้องมีการปรับฐานอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกใหม่เพิ่มขึ้นแทนที่ล้าสมัย ซึ่งภายใน 2 ปี-2 ปีครึ่ง จะเห็นผลของโครงการ และถ้าบอกว่าทำเพื่อรัฐบาลหน้าก็ไม่เป็นไร เพราะเป็นการทำเพื่อประเทศ

     ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวต่อว่าต่อมา ฐานที่ 2 การปฏิรูปภาษี ซึ่งได้มีการประกาศใช้แล้ว โดยเฉพาะภาษีรายได้จากเงินปันผล กำไร การขายทรัพย์สิน ถ้าเอากำไรกลับมายังประเทศจะไม่ต้องเสียภาษี เพื่อให้นักอุตสาหกรรม หันกลับมาตั้งฐานการค้าในไทย ซึ่งได้อนุมัติไปแล้ว 31 โครงการ และในอนาคตเชื่อว่าจะเป็นประเทศเทรดดิ้งเนชั่นได้ที่มีฐานอยู่ที่กรุงเทพฯ เหมือนในประเทศเกาหลี และสิงคโปร์ แต่นอกจากการปรับปรุงภาษี ยังต้องรองรับการก่อสร้างคมนาคม เพื่อเชื่อมโยงนักลงทุนตั้งศูนย์การค้า โดยกระทรวงคมนาคม ได้วางแผนเชื่อมโยงทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการสร้างทางหลวงแผ่นดินเพิ่ม การบูรณะทาง และการสร้างทางหลวงชนบทเพิ่ม ซึ่งจะทำให้การคมนาคมภายในประเทศ และการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศดีขึ้น

    นอกจากนี้ ยังมีโครงการสร้างรถไฟรางคู่ตลอดจนรถไฟความเร็วปานกลาง และรถไฟความเร็วสูง โดยจะมีการทำคู่สัญญาระหว่างไทย-จีน และไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งจะมีการเปิดประมูลตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2558-2559 และฐานสุดท้าย ต้องแก้ปัญหาเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งไทยยังล้าหลัง และขาดโครงสร้างพื้นฐานบอร์ดแบรนด์แห่งชาติ จึงมีแผนพัฒนา อาทิ การวางโครงข่ายบอร์ดแบรนด์แห่งชาติ คาดว่าแล้วเสร็จปลายปี 2560 การตั้งศูนย์คลังข้อมูลขนาดใหญ่ ภายใน 2 ปี การเพิ่มเกทเวย์เป็น 10 เกท และระบบดิจิตอลแบงค์กิ้ง เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดถือเป็น 3 ฐานหลักในการดำเนินการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยขณะนี้เสร็จแล้ว 2 ฐาน หากเสร็จ 3 ฐาน จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตเป็น 5 เปอร์เซ็นต์ และถ้าถึงวันนั้นพลังงานจะไม่เพียงพอ วันนี้จึงจำเป็นที่รัฐบาลต้องหาแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่ ซึ่งตนจะรีบกลับไปดำเนินการให้ถูกใจทุกคน และเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อประเทศ

หม่อมอุ๋ย เผยรัฐตั้งเป้าศก.ไทยกลับมาโตได้ 5% ด้วยการวาง 3 รากฐานสำคัญ

      ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลในรอบ 1 ปี ต่อที่ประชุม แม่น้ำทั้ง 3 สาย คือ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) และคณะรัฐมนตรี( ครม.) ว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการปรับฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจใน 3 ด้าน โดยหวังให้ GDP กลับมาโตได้ปีละ 5% เหมือนเช่นในอดีต หลังจากเศรษฐกิจไทยในช่วง 6 ปีหลัง เติบโตได้เพียง 2% กว่าเท่านั้น

     รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ เศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยGDP ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2557 เติบโต 2.1% และโตต่อเนื่องในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ที่ระดับ 3% ซึ่งเป็นผลจากการเดินหน้าการลงทุนภาครัฐ การท่องเที่ยว และการลงทุนภาคเอกชน แม้ว่าการส่งออกยังคงติดลบ แต่เชื่อว่าเมื่อการส่งออกกลับมาฟื้นตัวได้แล้ว เศรษฐกิจไทยจะสามารถโตได้ 3-4 %

    สำหรับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาคการส่งออกไทย นอกเหนือจากสภาวะเศรษฐกิจโลกแล้ว รองนายกรัฐมนตรี วิเคราะห์ว่า สาเหตุมาจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วันตามนโยบายรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ทำให้ไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากมีค่าแรงสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน และทำให้ภาคอุตสาหกรรมไม่สามารถปรับตัวได้ทันตามค่าแรงที่สูงขึ้น

    ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหานั้น ในระยะสั้น รัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องของเงินบาทที่ปรับตัวอ่อนค่าลง หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้เพิ่มเติมมาตรการผ่อนคลายเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศให้มีความคล่องตัวมากขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า

     ส่วนการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน รัฐบาลเน้นใน 3 ด้าน คือ 1.รัฐบาลได้ปรับแนวทางให้การสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีความทันสมัย ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมใหม่ๆ และเพื่อเป็นสินค้าส่งออกมากขึ้นในตลาดใหม่ และยังไม่มีคู่แข่งมากนัก เช่น การส่งเสริมอาหารทางการแพทย์ การผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เป็นต้น 2.การปรับโครงสร้างภาษีที่เอื้อต่อการส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ หรือ IHQ เพื่อส่งเสริมให้บริษัทต่างชาติเข้ามาตั้งศูนย์กลางบริษัทในประเทศไทย และใช้ไทยเป็นฐานในการกระจายการลงทุนไปในกลุ่มประเทศอาเซียนต่อไป รวมถึงการเดินหน้าการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งมีความคืบไปมาก โดยได้กำหนดพื้นที่ที่จะมีการจัดตั้งเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมและเป็นพื้นที่ที่ให้ภาคเอกชนเช่าเพื่อประกอบกิจการและหวังให้พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษใช้เป็นแหล่งพักสินค้าขนาดใหญ่ตามแนวชายแดนด้วย และ 3.โครงการเศรษฐกิจดิจิตอล เน้นการสร้างบริษัทบรอดแบรนด์แห่งชาติ ให้เข้าถึงในทุกบ้าน โดยคาดว่าจะสามารถเข้าถึงทุกบ้านได้อย่างช้าสุดปี 2561 และจะมีการพัฒนาจัดตั้งคลังข้อมูลขนาดใหญ่ และเน้นพัฒนาการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมให้ครอบคลุมทุกโรงเรียน

    รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า หากสามารถวางรากฐานด้านเศรษฐกิจให้เติบโตตามเป้าที่วางไว้ อาจจะเกิดปัญหาแหล่งพลังงานไม่เพียงพอ และจำเป็นต้องหาแหล่งก๊าซธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งรัฐบาลได้พยายามดำเนินการก่อนหน้านี้ แต่เมื่อมีเสียงคัดค้านจากภาคประชาชน รัฐบาลจึงได้กลับไปพิจารณาแก้ไขกฎหมาย ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจาณาและจะปรับแก้ให้มีการเปิดโอกาสให้บริษัทที่สนใจจะลงทุนสามารถเลือกรูปได้ทั้งการขอสัมปทานหรือจะเป็นรูปแบบแบ่งปันผลประโยชน์ หรือ PSC ได้

      อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!