WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DITPญี่ปุ่นผ่อนคลายกฎ ระบุสรรพคุณอาหารเพื่อสุขภาพ

    แนวหน้า : นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครโอซากา ถึงกรณีที่ญี่ปุ่น โดยสำนักงานกิจการผู้บริโภค (ซีเอเอ) ออกระเบียบใหม่ กำหนดการระบุฉลากสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อเตรียมยื่นแจ้งต่อซีเอเอก่อนวางจำหน่ายสินค้าในญี่ปุ่น ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2558 โดยกรมคาดว่าจะเป็นโอกาสใหม่ทางการค้า เนื่องจากมีมาตรการผ่อนคลายระเบียบข้อกำหนดเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตอาหารสามารถประชาสัมพันธ์คุณสมบัติของอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ง่ายยิ่งขึ้น

      การผ่อนคลายระเบียบดังกล่าว จะช่วยทำให้ขนาดตลาดสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพในปี 2560 เพิ่มขึ้น 17% จากปี 2556 เป็นมูลค่า 2.145 ล้านล้านเยน จากการสำรวจพบว่าในปี 2557 ผู้บริโภคญี่ปุ่นที่บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ-อาหารเสริมมีประมาณ 56.7 ล้านคน หรือเท่ากับครึ่งของประชากร ระดับอายุที่บริโภคมากที่สุดคือ 40 ปีทั้งชายและหญิง ซึ่งมีสัดส่วน 19% ขณะที่อายุ 30 และ 50 ปี รวมกันมีประมาณ 50%นางนันทวัลย์ กล่าว

       อย่างไรก็ตาม กรมอยากแนะนำให้ผู้ผลิตผู้ส่งออกไทย ระบุประโยชน์หรือหน้าที่ของสินค้าให้ชัดเจน เพื่อทำตลาดได้ตรงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย เพราะระเบียบใหม่ว่าด้วยสินค้าอาหารที่มีคุณสมบัติพิเศษ ได้เปิดโอกาสทางการค้าให้กับสินค้าอาหารของไทย สำหรับประเภทที่ใช้วัตถุดิบที่เป็นพืชผักต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ตะไคร้ โหระพา กระชาย หรือสินค้าจากผลิตผลทางการเกษตร เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะพร้าว

      ทั้งนี้ สินค้าที่อยู่ในข่ายดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องผ่านการตรวจหรือขออนุญาตจากภาครัฐในการที่จะระบุหน้าที่ ประโยชน์ หรือสรรพคุณบนฉลาก แต่จะต้องยื่นแจ้งต่อสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค โดยจะต้องมีบทวิจัยที่แสดงหลักฐานทางวิชาการยืนยันผลที่ดีต่อสุขภาพตามที่อ้าง นอกจากนี้ผู้ส่งออกไทยควรเป็นฝ่ายให้รายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่หรือประโยชน์ของสินค้าอาหารนั้น เพื่อที่จะใช้เป็นจุดขายเรียกความสนใจผู้นำเข้าญี่ปุ่น เพื่อให้นำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการยื่นแจ้งและระบุบนฉลากเป็นภาษา ญี่ปุ่นถึงสรรพคุณของสินค้า

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!