WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

พาณิชย์ เผย ปี 57 ไทยส่งออกข้าว ราว 10.8 ล้านตัน สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ปี58 คาดส่งออกข้าวมากที่สุดของโลก ที่ประมาณ 10 - 11 ล้านตัน

    พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การส่งออกข้าวไทยในปี 2557 และแนวโน้มปี 2558 ว่าการส่งออกข้าวรวมทั้งปี 2557 จะมีประมาณ 10.8 ล้านตัน มูลค่า 5,372 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สูงกว่าการส่งออกในปี 2556  ซึ่งมีปริมาณ 6.6 ล้านตัน และมูลค่า 4,420 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในอัตราร้อยละ 64 และร้อยละ 22 ตามลำดับ นับว่าเป็นปีที่ปริมาณส่งออกข้าวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันเร่งระบายข้าวตามฤดูการผลิตและข้าวในสต็อกของรัฐบาลออกสู่ตลาดต่างประเทศอย่างเต็มกำลัง

    ในปี 2558 คาดว่า แนวโน้มการค้าข้าวทั้งของโลกและของไทยจะขยายตัวมากขึ้น ผลผลิตข้าวโลกจะมีประมาณ 475.2 ล้านตัน ลดลงจากปีนี้ซึ่งมีประมาณ 476.9 ล้านตัน ร้อยละ 0.3 เนื่องจากผลผลิตข้าวของไทย อินเดีย ญี่ปุ่น ปากีสถาน อียิปต์ ศรีลังกา และไนจีเรียจะลดลง ในขณะที่การบริโภคข้าวโลกมีประมาณ 482.9 ล้านตัน สูงกว่าผลผลิตข้าวโลก 7.7 ล้านตัน จึงคาดว่าการค้าข้าวโลกจะสูงสุดเป็นประวัติการณ์ประมาณ 41.92 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ซึ่งมีประมาณ 41.88 ล้านตัน เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าหลายประเทศต้องการนำเข้าข้าวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนคาดว่านำเข้า 4.0 ล้านตัน ไนจีเรีย 3.5 ล้านตัน อิหร่านและฟิลิปปินส์ประเทศละ 1.7 ล้านตัน

       ผลผลิตข้าวโลกที่คาดว่าจะลดลงในปี 2558 ดังกล่าวจะทำให้ไทยมีโอกาสระบายข้าวทั้งผลผลิตในปี 2557/58 และข้าวในสต็อกรัฐบาลได้มากขึ้น และคาดว่า ไทยจะยังคงส่งออกข้าวมากที่สุดของโลกที่ประมาณ 10.0 - 11.0 ล้านตัน

       สำหรับ ปี 2558 กระทรวงพาณิชย์ได้วางแนวทางที่จะร่วมกับภาคเอกชนขยายตลาดและรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดข้าวไทยกับประเทศผู้นำเข้าข้าวหลักในทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยให้ความสำคัญกับผู้ซื้อในแต่ละภูมิภาคที่มีความต้องการหลากหลาย ซึ่งข้าวไทยมีความพร้อมที่จะสนองความต้องการในทุกรูปแบบ ดังนี้ 

      1. ภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบังกลาเทศ ฯลฯ ส่วนใหญ่ต้องการนำเข้าข้าวหอมมะลิไทย ข้าวเหนียว ข้าวขาว และข้าวนึ่ง

     2. ภูมิภาคแอฟริกา ได้แก่ แอฟริกาใต้ เซเนกัล โกตดิวัวร์ มอริตาเนีย แคเมอรูน และกานาส่วนใหญ่ต้องการนำเข้าข้าวนึ่ง ข้าวขาว และปลายข้าวหอมมะลิไทย

     3. ภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้แก่ อิหร่าน อิรัก และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต้องการนำเข้าข้าวขาวคุณภาพดี

     4. ภูมิภาคยุโรปและอเมริกา ได้แก่ สหรัฐฯ แคนาดา เนเธอร์แลนด์ อิตาลี ฝรั่งเศส และประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (EC-27) ต้องการนำเข้าข้าวหอมมะลิไทย ข้าวอินทรีย์ และข้าวลักษณะพิเศษที่มีคุณค่าโภชนาการสูง

รมว.พาณิชย์ ตั้งเป้าส่งออกข้าวปีนี้ 10-11 ล้านตัน หลังปี 57 ทำนิวไฮ

    พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ คาดว่า ในปี 58 ไทยจะยังคงส่งออกข้าวมากที่สุดของโลกที่ประมาณ 10-11 ล้านตัน จากปี 57 ที่คาดว่าส่งออกได้ราว 10.8 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 5,372 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สูงกว่าปี 56 ที่มีปริมาณส่งออก 6.6 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 64% คิดเป็นมูลค่า 4,420 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น 22%

   "ปีที่แล้วนับว่าเป็นปีที่ปริมาณส่งออกข้าวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันเร่งระบายข้าวตามฤดูการผลิตและข้าวในสต็อกของรัฐบาลออกสู่ตลาดต่างประเทศอย่างเต็มกำลัง"รมว.พาณิชย์ กล่าว

    ทั้งนี้ แนวโน้มการค้าข้าวทั้งของโลกและของไทยในปีนี้จะขยายตัวมากขึ้น โดยผลผลิตข้าวโลกจะมีประมาณ 475.2 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนที่มีประมาณ 476.9 ล้านตัน หรือลดลง 0.3% เนื่องจากผลผลิตข้าวของไทย อินเดีย ญี่ปุ่น ปากีสถาน อียิปต์ ศรีลังกา และไนจีเรียจะลดลง

    ขณะที่การบริโภคข้าวโลกมีประมาณ 482.9 ล้านตัน สูงกว่าผลผลิตข้าวโลก 7.7 ล้านตัน จึงคาดว่าการค้าข้าวโลกจะสูงสุดเป็นประวัติการณ์ประมาณ 41.92 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 57 ซึ่งมีประมาณ 41.88 ล้านตัน เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าหลายประเทศต้องการนำเข้าข้าวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนคาดว่านำเข้า 4.0 ล้านตัน ไนจีเรีย 3.5 ล้านตัน อิหร่านและฟิลิปปินส์ประเทศละ 1.7 ล้านตัน

   พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ได้วางแนวทางที่จะร่วมกับภาคเอกชนขยายตลาดและรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดข้าวไทยกับประเทศผู้นำเข้าข้าวหลักในทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยให้ความสำคัญกับผู้ซื้อในแต่ละภูมิภาคที่มีความต้องการหลากหลาย ซึ่งข้าวไทยมีความพร้อมที่จะสนองความต้องการในทุกรูปแบบ ดังนี้  ภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบังกลาเทศ ฯลฯ ส่วนใหญ่ต้องการนำเข้าข้าวหอมมะลิไทย ข้าวเหนียว ข้าวขาว และข้าวนึ่ง

   ส่วนภูมิภาคแอฟริกา ได้แก่ แอฟริกาใต้ เซเนกัล โกตดิวัวร์ มอริตาเนีย แคเมอรูน และกานาส่วนใหญ่ต้องการนำเข้าข้าวนึ่ง ข้าวขาว และปลายข้าวหอมมะลิไทยภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้แก่ อิหร่าน อิรัก และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต้องการนำเข้าข้าวขาวคุณภาพดี

   ด้านภูมิภาคยุโรปและอเมริกา ได้แก่ สหรัฐฯ แคนาดา เนเธอร์แลนด์ อิตาลี ฝรั่งเศส และประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (EC-27) ต้องการนำเข้าข้าวหอมมะลิไทย ข้าวอินทรีย์ และข้าวลักษณะพิเศษที่มีคุณค่าโภชนาการสูง

                        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!