WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รณรงค์ พูลพิพัฒน์

ตลาดอาเซียนยืนหนึ่งส่งออก FTA สูงสุดปี 2567

กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยตัวเลขการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ของปี 2567 มีมูลค่าการใช้สิทธิภายใต้ความตกลง FTA  มีมูลค่ารวม 12,000.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิฯ 79.75% โดยตลาดอาเซียนยังคงครองอันดับหนึ่งของการใช้สิทธิฯ และสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุดคือ’ยานยนต์สำหรับขนส่ง’และ’ผลิตภัณฑ์ยาง’

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยตัวเลขการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี หรือ FTA ในช่วงเดือนมกราคม -กุมภาพันธ์ 2567 มีการส่งออกภายใต้ความตกลง FTA มีมูลค่ารวม 12,000.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิฯ รวม 79.75%

โดยเป็นการส่งออกไปยังอาเซียนภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) สูงที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง มูลค่า 4,821.12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วนการใช้   สิทธิฯ 76% อันดับสองเป็นการใช้สิทธิฯ ภายใต้ความตกลงอาเซียน-จีน (ACFTA) มูลค่า 2,611.41 ดอลลาร์สหรัฐ สัดส่วนการใช้สิทธิฯ 85.35% อันดับสาม

ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) มูลค่า 1,229.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สัดส่วนการใช้สิทธิฯ 64.83% อันดับสี่ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย – ญี่ปุ่น (JTEPA) มูลค่า 1,048.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สัดส่วนการใช้สิทธิฯ 78.97% และอันดับห้า ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – อินเดีย (AIFTA) มูลค่า 858.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สัดส่วนการใช้สิทธิฯ 70.30%

นายรณรงค์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ปี 2567 สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกภายใต้ FTA สูงที่สุด 5 อันดับแรก คือ (1) ยานยนต์สำหรับขนส่งของที่น้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 5 ตัน ภายใต้ความตกลงอาเซียน มูลค่า 350.12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2) ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์ผสมยางธรรมชาติ

ภายใต้ความตกลงอาเซียน-จีน มูลค่า 322.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  (3) รถยนต์และยานยนต์อื่นๆ ที่มีเครื่องดีเซล หรือกึ่งดีเซล ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย มูลค่า 306.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (4) เนื้อไก่และเครื่องในไก่ที่ปรุงแต่ง ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น มูลค่า 232.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ (5) พลอยและรูปพรรณ ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย มูลค่า 44.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในปัจจุบันประเทศไทยมี FTA แล้ว 14 ฉบับ กับคู่ภาคี 18 ประเทศ แบ่งออกเป็นความตกลงทวิภาคี 6 ฉบับ และความตกลงพหุภาคีในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียน 8 ฉบับ โดย FTA ฉบับล่าสุดที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายภูมิธรรม เวชยชัย ได้ร่วมลงนาม เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567 คือ ความตกลงการค้าเสรีไทย – ศรีลังกา ซึ่งถือเป็น FTA ฉบับที่ 15 ของไทย

โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้วเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 และคาดว่า จะผลักดันให้มีผลบังคับใช้ได้ภายใน ปี 2567 นอกจากนี้ ไทยยังอยู่ในระหว่างการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีอื่น ๆ อีก อาทิ ความตกลง การค้าเสรีไทย – สหภาพยุโรป ไทย – สมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA ซึ่งประกอบด้วย ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์) ไทย – เกาหลี และความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – แคนาดา

นายรณรงค์ฯ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า กรมการค้าต่างประเทศขอเชิญชวนให้ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกไทยใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ FTA เพราะจะทำให้มีแต้มต่อทางการค้า ซึ่งจะทำให้สินค้าไทยได้เปรียบในการแข่งขันด้านราคากับสินค้านำเข้าจากประเทศอื่นๆ มากขึ้น โดยกรมฯ ได้ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการไทย

โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ผ่านการอบรมสัมมนาในเรื่องการส่งออก โดยใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า ภายใต้ FTA มาโดยตลอด และในปี 2567 กรมฯ มีการจัดงานสัมมนาอย่างต่อเนื่องในเดือนพฤษภาคม – เดือนมิถุนายน รวม 3 ครั้ง ภายใต้หัวข้อ ‘FAST, FUTURE, FREE TRADE ขยายโอกาส SME ไทย ก้าวไกลด้วยสิทธิประโยชน์ทางการค้า’

โดยการจัดงานสัมมนาครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 8 และ 9 พฤษภาคม 2567 ที่จังหวัดชลบุรี ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก ซึ่งกำหนดการจัดสัมมนาครั้งที่ 2 จะมีขึ้นในวันที่ 29 พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรม ราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล จังหวัดขอนแก่น และครั้งที่ 3 วันที่ 26 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรม คุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ และในช่วงครึ่งปีหลัง กรมฯ มีกำหนดจัดสัมมนาอีก 2 ครั้งในจังหวัดสงขลา และนครพนม

จึงอยากขอเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมงานสัมมนาเพื่อรับความรู้ดี ๆ จากทางกรมการค้าต่างประเทศ โดยติดตามความคืบหน้าและสมัครเข้าร่วมงานสัมมนาได้ทางเว็ปไซต์กรมฯ และ facebook “กรมการค้าต่างประเทศ DFT”

ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศพร้อมให้ข้อมูลและคำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า ผู้ประกอบการสามารถค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th หรือโทรสายด่วน 1385 รวมถึงไลน์แอปพลิเคชัน ชื่อบัญชี ‘@gsp_helper’

 

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!