WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

แฟรนไชส์สร้างอาชีพ

พาณิชย์ ผนึก'แรงงาน' ใช้กองทุนประกันสังคมค้ำเงินกู้ผู้ประกันตน ม.33 ซื้อแฟรนไชส์สร้างอาชีพ

นภินทร ผุดโปรเจกต์ใหม่'พาณิชย์-แรงงาน' ผนึกกำลังช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้กับแรงงาน ม.33 ผ่านธุรกิจแฟรนไชส์ เตรียมนำเงินกองทุนประกันสังคม 2,000 ล้านค้ำประกันเงินกู้ให้กับแรงงานที่จะกู้ไปซื้อแฟรนไชส์มาทำธุรกิจ คิดดอกเบี้ยอัตราพิเศษ พร้อมเดินหน้าจัดมหกรรมรวมพลัง SMEs ไทย เดือน มิ.ย.นี้ คาดสร้างมูลค่าเศรษฐกิจ 140 ล้าน  

      นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมและยกระดับ SMEs ไทย ที่กระทรวงพาณิชย์ ว่า ได้หารือกับสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคาร SME D Bank และธนาคารออมสิน ในการจัดทำโครงการแฟรนไชส์สร้างอาชีพ ให้กับแรงงานในกลุ่ม ม.33 ที่มาขึ้นทะเบียน โดยจะนำเงินจากกองทุนประกันสังคมประมาณ 2,000 ล้านบาท มาใช้ค้ำประกันเงินกู้ และทั้ง 3 สถาบันการเงิน จะเป็นผู้พิจารณาปล่อยกู้ให้กับแรงงานในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เพื่อนำไปซื้อแฟรนไชส์มาใช้ประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้

         ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์จะรวบรวมข้อมูลรายชื่อธุรกิจแฟรนไชส์ที่อยู่ในการส่งเสริมของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่แรงงานสามารถซื้อไปประกอบอาชีพ และสถาบันการเงิน จะจัดทำรายละเอียดการปล่อยกู้ เงื่อนไขต่างๆ และอัตราดอกเบี้ย จากนั้นจะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป 

       ส่วนกลุ่มอื่นๆ นอกเหนือจากแรงงาน ม.33 ได้ช่วยสร้างอาชีพผ่านแฟรนไชส์ โดยได้มีการเจรจากับห้างค้าปลีกชั้นนำ ห้างสรรพสินค้า สถานีบริการน้ำมัน ได้แก่ เชลล์ บางจาก โออาร์ และพีที รวมถึงตลาดนัดชุมชน อาทิ ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดเยสบางพลี เพื่อนำเสนอพื้นที่ทำเลทองให้กับผู้ที่สนใจ ทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว และได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี

นายนภินทร กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้ติดตามความคืบหน้าการเตรียมจัดงานมหกรรมรวมพลัง SMEs ไทย เพื่อช่วยขยายตลาดให้กับผู้ประกอบการ SMEs โดยกำหนดจัดปลายเดือน มิ.ย.2567 ที่ศูนย์แสดงสินค้าชั้นนำในกรุงเทพฯ มีกิจกรรม รวม 7 โซน ได้แก่ 1.โซนให้ความรู้ผ่านการสัมมนาหัวข้อที่ SMEs จำเป็นต้องรู้เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น กฎระเบียบด้านการค้าระหว่างประเทศ สิทธิประโยชน์ FTA และแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น

2.โซนแสดงและจำหน่ายสินค้าและบริการของ SMEs เช่น ธุรกิจแฟรนไชส์ ธุรกิจอาหาร ผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นต้น 3.โซนเจรจาจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างคู่ค้าทางธุรกิจและหน่วยงานพันธมิตร 4.โซนพื้นที่การค้าราคาพิเศษ เช่น พื้นที่ในตลาดชุมชน สถานีบริการน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า 5.โซนการให้สินเชื่ออัตราพิเศษจากสถาบันการเงินเพื่อช่วยให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น 6.โซนแสดงเทคโนโลยีและบริการด้านดิจิทัล (Digital Business Solution) และ 7.โซนจัดแสดงนิทรรศการและพื้นที่สำหรับหน่วยงานพันธมิตรที่เข้าร่วม ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานไม่น้อยกว่า 10,000 คน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 140 ล้านบาท

     สำหรับ ความคืบหน้าการดำเนินงานตามโรดแมปในการส่งเสริมและแก้ปัญหาให้กับ SMEs ประสบความสำเร็จด้วยดี ทั้งการจัดทำหลักสูตรการทำธุรกิจให้ SMEs ได้เรียนรู้ การผลักดันการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) รายการใหม่ ซึ่งมีการขึ้นทะเบียนได้แล้ว 9 รายการ จากเป้าหมาย 20 รายการจาก 15 จังหวัด การพัฒนาร้านโชห่วยด้วยระบบการค้าสมัยใหม่ ให้เป็นสมาร์ทโชห่วย มีการส่งเสริม SMEs สามารถเข้ามาแข่งขันในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (THAI SME-GP) ผลักดันให้ SMEs มีช่องทางขายออนไลน์เพิ่มขึ้น และส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ

 

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

AXA 720 x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!