WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

พิมพ์ชนก พิตต์ฟีลด์

ประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 13 ร่างกรอบปฏิญญาได้แล้ว พร้อมความตกลงเกษตร-ประมง

พาณิชย์ เผยความคืบหน้าการประชุมรัฐมนตรีการค้า WTO ครั้งที่ 13 วันที่ 26-29 ก.พ.นี้ ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีการยกร่างปฏิญญารัฐมนตรีอาบูดาบีออกมาเป็นกรอบแล้ว พร้อมกับร่างความตกลงเกษตร และการอุดหนุนประมงภาคสอง

แต่ยังต้องเจรจาเข้มก่อนถึงการประชุม ระบุยังมีประเด็นสำคัญอื่นอีก 6 ประเด็นที่จะเสนอให้ที่ประชุม 'พิมพ์ชนก'ยันไทยให้ความสำคัญเรื่องเกษตร ประมง จับตาการเจรจาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ส่อแววป่วน 

      นางพิมพ์ชนก พิตต์ฟีลด์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก (WTO) และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ณ นครเจนีวา เปิดเผยว่า ขณะนี้การเจรจาเพื่อเตรียมการประชุมรัฐมนตรีการค้าของ WTO ครั้งที่ 13 ที่จะมีขึ้นที่กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างวันที่ 26-29 ก.พ.2567

ได้เข้มข้นขึ้นจนสามารถมีร่างปฏิญญารัฐมนตรีอาบูดาบี (Abu Dhabi Ministerial Declaration) ออกมาเป็นกรอบแล้ว พร้อมกับร่างความตกลงอีก 2 เรื่องสำคัญ คือ ความตกลงเรื่องเกษตร และความตกลงเรื่องการอุดหนุนประมงภาคสอง แต่ทุกเรื่องยังต้องเจรจาในรายละเอียดต่ออีกมากกว่าจะไปถึงอาบูดาบีในช่วงปลายเดือน

        โดยตั้งแต่ช่วงปลายปี 2566 ประเทศสมาชิก WTO ได้เริ่มสรุปผลการเจรจาหลายเรื่องต่อเนื่องจากการประชุมรัฐมนตรีการค้าครั้งที่ 12 ที่จะรวมไว้ในปฏิญญารัฐมนตรี รวมทั้งหาท่าทีร่วมเพื่อยกร่างความตกลงเรื่องการปฏิรูปภาคเกษตรที่มีการเชื่อมโยงกับเรื่องความมั่นคงทางอาหาร

และร่างความตกลงเรื่องการอุดหนุนประมงภาคสอง ซึ่งสองเรื่องนี้มีการเจรจามาอย่างยาวนาน มีท่าทีขัดแย้งกันและประเด็นซับซ้อนอ่อนไหวจำนวนมาก แต่ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา สมาชิกก็ยอมรับร่างที่ประธานคณะเจรจาเสนอมาให้เป็นพื้นฐานการเจรจาได้ในที่สุด

ทั้งนี้ นอกจากเรื่องเกษตรและประมงแล้ว การประชุม MC13 จะมีประเด็นสำคัญอื่น เช่น 1.การสรุปผลการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของติมอร์เลสเตและสหภาพคอโมโรส 2.การเจรจาเพื่อปฏิรูปกระบวนการระงับข้อพิพาทและองค์กร WTO 3.การพิจารณาการขยายอายุของการไม่เก็บอากรศุลกากรกับ electronic transmission 4.การหารือแนวทางที่ WTO จะดำเนินการเพื่อรองรับโควิดและโรคระบาดต่างๆ ในอนาคต 5.การหาแนวทางเพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อย

และ 6.การเพิ่มประเด็นเจรจาใหม่ๆ เพื่อให้กฎเกณฑ์ WTO ทันต่อโลกสมัยใหม่ เช่น การทบทวนกฎเกณฑ์ WTO ให้เอื้อต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ปัญหาโลกร้อน นโยบายการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม การพัฒนา MSMEs และการยกระดับบทบาทของสตรีในภาคเศรษฐกิจการค้า

อีกทั้ง ยังน่าจะมีการประกาศความสำเร็จของการเจรจาหลายฝ่ายเรื่องการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน การดำเนินการด้านกฎระเบียบภายในของภาคบริการ

นางพิมพ์ชนก กล่าวว่า ในส่วนของไทย ให้ความสำคัญกับการเจรจาภาคเกษตรและอาหาร และการเจรจาเรื่องการอุดหนุนประมง เป็นลำดับแรก เพราะเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมาก โดยในเรื่องเกษตร กระทรวงพาณิชย์โดยนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประสบความสำเร็จอย่างมากในการดูแลให้ราคาสินค้าเกษตรสำคัญในประเทศสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับจากการรับตำแหน่ง แต่สถานะการแข่งขันของสินค้าเกษตรภายนอกประเทศยังมีความรุนแรงมาก

โดยนโยบายอุดหนุนและการสำรองอาหารไว้มากเกินความจำเป็นของหลายประเทศ รวมไปถึงการออกมาตรการห้ามส่งออกของคู่ค้าสำคัญ ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกขึ้นๆ ลงๆ ไม่มีความเสถียร ทำให้ยากต่อการเตรียมการผลิตในปีต่อไป

โดยเฉพาะประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรขนาดใหญ่ เช่น อินเดีย ที่ประกาศห้ามส่งออกข้าวบางประเภท แต่กลับยอมให้ประเทศคู่ค้ามาขอเจรจายกเว้นเป็นประเทศๆ ไป และไม่แจ้งมาตรการต่อ WTO ซึ่งทำให้ไทยสูญเสียลูกค้าเดิมไปบางส่วน และไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับระยะเวลาการใช้มาตรการ

ซึ่งมีแนวโน้มที่อินเดียจะใช้วิธีการนี้มากขึ้น ดังนั้น ไทยต้องติดตามการเจรจาอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันไม่ให้เสียผลประโยชน์ในการส่งออกข้าวและสินค้าเกษตรอื่น และเพื่อรักษาตลาดส่งออกของไทยผ่านการเจรจาสร้างกฎเกณฑ์พหุภาคีที่เป็นธรรมมากที่สุด

ส่วนเรื่องการเจรจาการอุดหนุนประมงภาคสอง ที่เน้นเรื่องกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการอุดหนุนที่นำไปสู่การทำประมงที่เกินศักยภาพและเกินขนาด และการให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศกำลังพัฒนานั้น เนื่องจากรัฐบาลไทยกำลังอยู่ระหว่างการปรับทบทวนนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวเนื่องกับภาคประมงและชาวประมงทั้งหมด

ท่าทีไทยในการเจรจาเรื่องดังกล่าวจึงเน้นดูให้สอดคล้องกับทิศทางของนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการทำประมงพื้นบ้าน และยกระดับมาตรฐานและการตรวจสอบ (traceability) ของสินค้าประมงไทยด้วยพร้อมกัน ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดมีประเด็นอ่อนไหวที่ไม่คาดคิดมาก่อนเกิดขึ้น คือ การเจรจาเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เมื่อเร็ว ๆ นี้ สหรัฐฯ ประกาศทบทวนนโยบายดิจิทัล พร้อมถอนข้อเสนอและท่าทีที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในประเด็นที่เกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูล (access to data) ในการเจรจาหลายฝ่าย และประเทศกำลังพัฒนาใหญ่ๆ เรียกร้องให้กฎเกณฑ์ด้านการค้าดิจิตัลเปิดช่องให้กำหนดนโยบายภายในประเทศที่ยืดหยุ่นมากขึ้น

ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้น เพราะทุกประเทศตระหนักถึงความสำคัญของเศรษฐกิจในอนาคตที่พึ่งพาการค้าผ่านสื่อ (digital trade) และเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งสิทธิความเป็นเจ้าของในตัวดิจิตัลคอนเทนต์ เช่น เพลง ภาพยนต์ คอนเสิร์ต หนังสือ แม้แต่สิทธิในเรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้วย คาดว่าเรื่องนี้จะไปถึงมือรัฐมนตรีแน่นอน

นอกจากนี้ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังเกิดขึ้น พบว่า ในการเจรจาปัจจุบัน ยังไม่มีผลกระทบต่อ MC13 มากนัก ต่างจากการประชุมรัฐมนตรีครั้งก่อน แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือ การเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นในหลายประเทศใหญ่ๆ ปีนี้มากกว่า ที่ส่งผลให้แต่ละประเทศมีท่าทีที่แข็ง ไม่ยอมยืดหยุ่นง่าย เช่น อินโดนีเซีย อินเดีย

หรือสหภาพยุโรปที่กำลังเผชิญปัญหาการประท้วงโดยเกษตรกรและชาวนาในหลายประเทศ และสหรัฐฯ ที่กำลังจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปลายปีนี้ ทำให้ไม่สามารถมีท่าทีที่ชัดเจนได้ในหลายเรื่อง เช่น การระงับข้อพิพาท พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น แต่ที่แน่นอน คือ สหรัฐฯ จะมีท่าทีแข็งกร้าวต่อจีน และมีแนวโน้มที่จะใช้มาตรการกีดกันการค้ามากขึ้น ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการค้าระหว่างประเทศ

“มองว่าการประชุมรัฐมนตรีการค้าครั้งที่ 13 ในปลายเดือนนี้ น่าจะมีข้อตกลงในเรื่องสำคัญ ๆ ได้ แต่อาจจะไม่ได้ครบทุกประเด็น รวมทั้งจะมีการวางรากฐานการเจรจาเรื่องใหม่ที่จะมีขึ้นต่อไปภายหลังการประชุม ที่สำคัญ คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม โลกร้อน นโยบายการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม การทบทวนการอุดหนุนสีเขียว และอาจมีเรื่องความมั่นคงกับการค้าด้วย ซึ่งต้องติดตามต่อไปอย่างใกล้ชิด”นางพิมพ์ชนกกล่าว

 

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!