- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Sunday, 11 February 2024 13:52
- Hits: 8612
พาณิชย์ เผย 11 เดือน ปี 66 ใช้สิทธิ์ GSP ส่งออก 3,143.26 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ แชมป์
กรมการค้าต่างประเทศเผยการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ส่งออกไปยัง 4 ประเทศและกลุ่มประเทศ ช่วง 11 เดือน ปี 66 มีมูลค่า 3,143.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สหรัฐฯ นำโด่ง เป็นตลาดที่มีการใช้สิทธิ์เป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยสวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ และ CIS ขอเชิญชวนผู้ส่งออก ใช้สิทธิ์ก่อนทำการส่งออก เพื่อสร้างแต้มต่อในการแข่งขัน
นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสำหรับการส่งออกภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ที่ไทยได้รับจาก 4 ประเทศและกลุ่มประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) ซึ่งประกอบด้วย ยูเครน อาเซอร์ไบจาน ทาจิกิสถาน มอลโดวา อุซเบกิสถาน จอร์เจีย และเติร์กเมนิสถาน ในช่วง 11 เดือน ปี 2566 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่า 3,143.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 54.16% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของสินค้าที่ได้รับสิทธิ์
ทั้งนี้ ตลาดสหรัฐฯ เป็นตลาดอันดับ 1 ที่ไทยมีการสิทธิ์ GSP ส่งออกมากที่สุด มีมูลค่า 2,865.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 91.16% ของมูลค่าการส่งออกที่ใช้สิทธิ์ GSP ทั้งหมด รองลงมา คือ สวิตเซอร์แลนด์ มูลค่า 261.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอร์เวย์ มูลค่า 12.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) มูลค่า 4.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ
สำหรับ สินค้าที่มีการใช้สิทธิ์ส่งออกไปสหรัฐฯ สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ กรดมะนาวหรือกรดซิทริก หีบเดินทางขนาดใหญ่หรือกระเป๋าใส่เสื้อผ้า อาหารปรุงแต่ง และถุงมือยาง ส่วนการใช้สิทธิ์ GSP ส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ มีสินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิ์สูง อาทิ เพชรพลอยรูปพรรณทำด้วยโลหะมีค่า (สวิตเซอร์แลนด์) ข้าวโพดหวาน (นอร์เวย์) และสับปะรดกระป๋อง (CIS) เป็นต้น
“กรมขอเชิญชวนให้ผู้ประกอบการ และผู้ส่งออกไทย ใช้สิทธิพิเศษ GSP เหล่านี้ เพราะจะทำให้ได้แต้มต่อทางการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการ GSP ของสหรัฐฯ ที่หากใช้สิทธิ์ GSP สินค้าจะได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าตลาดสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้สินค้าไทยได้เปรียบในการแข่งขันด้านราคากับสินค้านำเข้าจากประเทศอื่น ๆ ได้เพิ่มมากขึ้น”นายรณรงค์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กรมได้ทำการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ผ่านการอบรมสัมมนาในเรื่องเกี่ยวกับการส่งออกโดยใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นการใช้สิทธิ์ FTA หรือ GSP มาโดยตลอด โดยในปี 2567 มีแผนการจัดงานสัมมนาตลอดทั้งปี เบื้องต้นจะจัดงานสัมมนาเริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนก.พ.-ก.ย.2567 ในจังหวัดชลบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และนครพนม จึงอยากขอเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมงานสัมมนาเพื่อรับความรู้ดี ๆ โดยสามารถติดตามความคืบหน้ากำหนดการจัดงานได้ทางเว็ปไซต์กรม www.dft.go.th และ facebook กรมการค้าต่างประเทศ
โค้งสุดท้ายปี 2566 อันดับหนึ่งโครงการ GSP สหรัฐฯ ใช้สิทธิฯ สูง
กรมการค้าต่างประเทศ เผยตัวเลขการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ระบบ GSP ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) ในช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน ปี 2566 มีมูลค่ารวม 3,143.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตลาดสหรัฐฯ ครองอันดับหนึ่งสำหรับการใช้สิทธิ GSP มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูงถึง 2,865.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสินค้าส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ เป็นสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกภายใต้สิทธิฯ สูงที่สุด
นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยสถิติการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสำหรับการส่งออกภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป หรือ GSP โดยในปัจจุบันไทยได้รับสิทธิ GSP จาก 4 ประเทศ/กลุ่มประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS)
ซึ่งประกอบด้วย ยูเครน อาเซอร์ไบจาน ทาจิกิสถาน มอลโดวา อุซเบกิสถาน จอร์เจีย และเติร์กเมนิสถาน ในช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน ปี 2566 มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ รวม 3,143.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 54.16 % ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของสินค้าที่ได้รับสิทธิฯ และตลาดสหรัฐฯ เป็นตลาดอันดับ 1 ที่ไทยมีการสิทธิ GSP ส่งออกมากที่สุด โดยมีมูลค่าการใช้สิทธิฯ อยู่ที่ 2,865.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 91.16 % ของมูลค่าการส่งออกที่ใช้สิทธิ GSP ทั้งหมด
นายรณรงค์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่าจากการติดตามสถิติการใช้สิทธิ GSP พบว่าไทยมีการใช้สิทธิฯ ผ่านโครงการ GSP ของสหรัฐฯ สูงสุดเป็นอันดับ 1 โดยในช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2566 มีสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกภายใต้สิทธิฯ 5 อันดับแรกคือ ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ กรดมะนาวหรือกรดซิทริก หีบเดินทางขนาดใหญ่หรือกระเป๋าใส่เสื้อผ้า อาหารปรุงแต่ง และถุงมือยาง
สำหรับ โครงการ GSP ของสวิตเซอร์แลนด์ มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ เป็นอันดับ 2 มูลค่า 261.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 3 โครงการ GSP ของนอร์เวย์ มูลค่า 12.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และโครงการ GSP ของกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) มูลค่า 4.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ โดยมีสินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง อาทิ เพชรพลอยรูปพรรณทำด้วยโลหะมีค่า (สวิตเซอร์แลนด์) ข้าวโพดหวาน (นอร์เวย์) และสับปะรดกระป๋อง (CIS) เป็นต้น
กรมการค้าต่างประเทศขอเชิญชวนให้ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกไทยได้ใช้สิทธิพิเศษ GSP เหล่านี้ เพราะจะทำให้ได้แต้มต่อทางการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการ GSP ของสหรัฐฯ ที่หากใช้สิทธิ GSP สินค้าจะได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าตลาดสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้สินค้าไทยได้เปรียบในการแข่งขันด้านราคากับสินค้านำเข้าจากประเทศอื่น ๆ ได้เพิ่มมากขึ้น
“ที่ผ่านมากรมฯ ได้ทำการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ผ่านการอบรมสัมมนาในเรื่องเกี่ยวกับการส่งออกโดยใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นการใช้สิทธิ FTA หรือ GSP มาโดยตลอด ซึ่งในปี 2567 กรมฯ จะมีแผนการจัดงานสัมมนาตลอดทั้งปีอีกเช่นกัน
โดยเบื้องต้นมีแผนจะจัดงานสัมมนาเริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกันยายน 2567 ในจังหวัดชลบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และนครพนม จึงอยากขอเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมงานสัมมนาเพื่อรับความรู้ดี ๆ จากทางกรมการค้าต่างประเทศ โดยติดตามความคืบหน้ากำหนดการจัดงานได้ทางเว็ปไซต์กรมฯ และ facebook กรมการค้าต่างประเทศ”นายรณรงค์ฯ ทิ้งท้าย
ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศพร้อมให้ข้อมูลและคำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า ผู้ประกอบการสามารถค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th หรือโทรสายด่วน 1385 รวมถึงไลน์แอปพลิเคชัน ชื่อบัญชี '@gsp_helper'