- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Sunday, 11 February 2024 12:24
- Hits: 8481
พาณิชย์ เผยใช้สิทธิ์ FTA ส่งออก 11 เดือน 7.57 หมื่นล้านเหรียญ อาเซียนแชมป์
กรมการค้าต่างประเทศเผยตัวเลขการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ FTA ฉบับต่างๆ ช่วง 11 เดือน ปี 66 มีมูลค่ารวม 75,725.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 82.66% ของการส่งออกสินค้าที่ได้รับสิทธิ์ทั้งหมด ตลาดอาเซียนนำโด่ง ใช้สิทธิ์มากที่สุด ตามด้วยอาเซียน-จีน ไทย-ญี่ปุ่น ไทย-ออสเตรเลีย และอาเซียน-อินเดีย ระบุปี 67 เตรียมเดินสาย 5 จังหวัด ติวเข้มการใช้สิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการ
นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ในช่วง 11 เดือนของปี 2566 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่า 75,842.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 82.66% ของการส่งออกสินค้าที่ไทยได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA โดย FTA ที่ไทยใช้สิทธิ์ส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่ง ยังคงเป็นความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) มีมูลค่า 27,584.19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสัดส่วนการใช้สิทธิ์ คิดเป็น 75.85% ของมูลค่าการส่งออกของสินค้าที่ได้รับสิทธิ์
ซึ่งเป็นการใช้สิทธิ์ส่งออกไปเวียดนามสูงสุด มูลค่า 6,795.17 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมา คือ อินโดนีเซีย มูลค่า 6,726.93 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาเลเซีย มูลค่า 6,341.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ฟิลิปปินส์ มูลค่า 4,986.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และกัมพูชา มูลค่า 926.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ
สำหรับ สินค้าที่มูลค่าการใช้สิทธิ์สูงที่สุด 5 อันดับแรก ภายใต้ความตกลง AFTA ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่งของที่น้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 5 ตัน น้ำตาลที่ได้จากอ้อย น้ำมันปิโตรเลียมและน้ำมันจากแร่บิทูมินัส รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคล ความจุกระบอกสูบเกิน 1,500-2,500 ลบ.ซม. และเครื่องจักรอัตโนมัติ
ส่วนความตกลง FTA ฉบับอื่นของไทย ที่มีการใช้สิทธิประโยชน์สูงรองลงมา หรืออันดับ 2 ได้แก่ ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) มูลค่า 22,059.90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสัดส่วนการใช้สิทธิ์ 93.81% ของมูลค่าการส่งออกของสินค้าที่ได้รับสิทธิ์ โดยสินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิ์สูงที่สุด 5 อันดับแรกภายใต้ความตกลง ACFTA ได้แก่ ทุเรียนสด ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์ผสมยางธรรมชาติ มันสำปะหลัง สตาร์ชทำจากมันสำปะหลัง และโพลิเมอร์ของเอทิลีน
อันดับ 3 เป็นความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) มูลค่า 6,344.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสัดส่วนการใช้สิทธิ์ 77.66% โดยสินค้าสำคัญที่มูลค่าการใช้สิทธิ์สูงที่สุด ยังคงเป็นเนื้อไก่และเครื่องในไก่ปรุงแต่ง อันดับ 4 ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) มูลค่า 5,802.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสัดส่วนการใช้สิทธิ์ 61.76% โดยสินค้าสำคัญที่มูลค่าการใช้สิทธิ์สูงที่สุด คือ รถยนต์และยานยนต์ที่มีเครื่องดีเซลหรือกึ่งดีเซล และอันดับ 5 ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย (AIFTA) มูลค่า 4,987.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสัดส่วนการใช้สิทธิ์ 69.13% โดยสินค้าที่ใช้สิทธิ์สูงสุด คือ ลวดทองแดง
นอกจากความตกลง FTA 5 ฉบับที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีความตกลง FTA ฉบับอื่น ๆ ของไทยที่มีการใช้สิทธิ์ด้วย และแม้จะไม่ได้อยู่ในระดับสูง แต่การใช้สิทธิ์ภายใต้ความตกลง FTA ดังกล่าว ก็มีส่วนช่วยในการลดต้นทุนและสร้างแต้มต่อให้แก่ผู้ส่งออกของไทยได้ เช่น ความตกลงอาเซียน-เกาหลี (AKFTA) มูลค่า 3,303.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐมีสัดส่วนการใช้สิทธิ์ 66.50% และความตกลงไทย-ชิลี (TCFTA) มูลค่า 345.84 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสัดส่วนการใช้สิทธิ์ 93.78% เป็นต้น
ทั้งนี้ ในปี 2567 กรมมีแผนจัดการสัมมนาภายใต้โครงการส่งเสริม SMEs ให้แข่งขันได้ในตลาดสากล เรื่อง ยกระดับการค้าสู่สากลด้วยสิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ FTA จำนวน 5 ครั้ง ได้แก่ ชลบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และนครพนม รวมถึงการจัดเวิร์กชอปให้ผู้ประกอบการได้ทดลองใช้ระบบตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้าแบบไร้กระดาษ (ROVERs PLUS) เสมือนจริง เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนกลยุทธ์การใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ FTA ตามสถานการณ์ทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป โดยสามารถติดตามข้อมูลการจัดสัมมนาครั้งต่อไปได้ผ่าน Facebook 'กรมการค้าต่างประเทศ DFT'
ตลาดอาเซียนยืนหนึ่งส่งออกใช้สิทธิ FTA โค้งสุดท้ายก่อนสิ้นปี 66
กรมการค้าต่างประเทศเผยตัวเลขการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลง FTA ของช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน ปี 2566 มีมูลค่ารวม 75,725.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตลาดอาเซียนเป็นตลาดอันดับหนึ่งที่มีการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าในการส่งออกมากที่สุด ตามด้วยอาเซียน – จีน ไทย – ญี่ปุ่น ไทย – ออสเตรเลีย และอาเซียน – อินเดีย
นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยตัวเลขการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ของช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน ปี 2566 มีมูลค่าส่งออกรวม 75,842.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 82.66% ของการส่งออกสินค้าที่ไทยได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA โดย FTA ที่ไทยใช้สิทธิฯ ส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่ง ยังคงเป็นความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) มีมูลค่า 27,584.19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ คิดเป็น 75.85 % ของมูลค่าการส่งออกของสินค้าที่ได้รับสิทธิฯ
ซึ่งเป็นการใช้สิทธิฯ ส่งออกไปเวียดนามสูงที่สุดมูลค่า 6,795.17 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับที่สองเป็นอินโดนีเซีย มูลค่า 6,726.93 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาเลเซีย มูลค่า 6,341.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ฟิลิปปินส์ มูลค่า 4,986.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และกัมพูชา มูลค่า 926.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ สำหรับสินค้าที่มูลค่าการใช้สิทธิฯ สูงที่สุด 5 อันดับแรกภายใต้ความตกลง AFTA ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่งของที่น้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 5 ตัน น้ำตาลที่ได้จากอ้อย น้ำมันปิโตรเลียมและน้ำมันจากแร่บิทูมินัส รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคล ความจุกระบอกสูบเกิน 1,500 – 2,500 ลบ.ซม. และเครื่องจักรอัตโนมัติ
นายรณรงค์ฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ความตกลง FTA ฉบับอื่นของไทยนอกจากความตกเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ที่มีการใช้สิทธิประโยชน์สูงรองลงมา ได้แก่ อันดับ 2 ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน – จีน (ACFTA) มูลค่า 22,059.90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ เป็น 93.81 % ของมูลค่าการส่งออกของสินค้าที่ได้รับสิทธิฯ โดยสินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูงที่สุด 5 อันดับแรกภายใต้ความตกลง ACFTA ได้แก่ ทุเรียนสด ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์ผสมยางธรรมชาติ มันสำปะหลัง สตาร์ชทำจากมันสำปะหลัง และโพลิเมอร์ของเอทิลีน อันดับ 3 เป็นความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย – ญี่ปุ่น (JTEPA) มูลค่า 6,344.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ 77.66 % ของมูลค่าการส่งออกของสินค้าที่ได้รับสิทธิฯ
โดยสินค้าสำคัญที่มูลค่าการใช้สิทธิฯ สูงที่สุดภายใต้ความตกลงฯ ยังคงเป็น เนื้อไก่และเครื่องในไก่ปรุงแต่ง อันดับ 4 ความตกลงการค้าเสรีไทย – ออสเตรเลีย (TAFTA) มูลค่า 5,802.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ 61.76 % ของมูลค่าการส่งออกของสินค้าที่ได้รับสิทธิฯ โดยสินค้าสำคัญที่มูลค่าการใช้สิทธิฯ สูงที่สุดภายใต้ความตกลงฯ เป็นรถยนต์และยานยนต์ที่มีเครื่องดีเซลหรือกึ่งดีเซล และความตกลงฯ ที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ เป็นอันดับ 5 คือ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – อินเดีย (AIFTA) มูลค่า 4,987.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ 69.13 % ของมูลค่าการส่งออกของสินค้าที่ได้รับสิทธิฯ โดยมีลวดทองแดงเป็นสินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์สูงที่สุดภายใต้ความตกลงดังกล่าว
นอกจากความตกลง FTA 5 ฉบับที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีความตกลง FTA ฉบับอื่น ๆ ของไทยที่มีการใช้สิทธิฯ ด้วยเช่นกัน และแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในระดับสูง แต่การใช้สิทธิฯ ภายใต้ความตกลง FTA ดังกล่าว ก็มีส่วนช่วยในการลดต้นทุนและสร้างแต้มต่อให้แก่ผู้ส่งออกของไทยได้ ตัวอย่างเช่น ความตกลงอาเซียน – เกาหลี (AKFTA) มูลค่า 3,303.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐและมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ เป็น 66.50 % และความตกลงไทย – ชิลี (TCFTA) มูลค่า 345.84 ล้านดอลลาร์สหรัฐและมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ เป็น 93.78 % ของมูลค่าการส่งออกของสินค้าที่ได้รับสิทธิฯ เป็นต้น
กรมการค้าต่างประเทศมุ่งเน้นการให้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการหากต้องการใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA โดยเฉพาะเรื่องกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า การรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า และขั้นตอนการขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าผ่านระบบการให้บริการด้วยนวัตกรรมดิจิทัลของกรมการค้าต่างประเทศ โดยกรมฯ ได้จัดสัมมนาเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการไทยเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้ามาโดยตลอด และในปี 2567 นี้
กรมการค้าต่างประเทศมีแผนจัดการสัมมนาภายใต้โครงการส่งเสริม SME ให้แข่งขันได้ในตลาดสากล เรื่อง ยกระดับการค้าสู่สากลด้วยสิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ FTA อีก 5 ครั้งตามจังหวัดสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ ชลบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และนครพนม รวมถึงการจัด Workshop ให้ผู้ประกอบการได้ทดลองใช้ระบบตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้าแบบไร้กระดาษ (ROVERs PLUS) เสมือนจริง เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนกลยุทธ์การใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ FTA ตามสถานการณ์ทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป โดยสามารถติดตามข้อมูลการจัดสัมมนาครั้งต่อไปได้ผ่าน Facebook “กรมการค้าต่างประเทศ DFT”
ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศพร้อมให้ข้อมูลและคำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า ผู้ประกอบการสามารถค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th หรือโทรสายด่วน 1385 รวมถึงไลน์แอปพลิเคชัน ชื่อบัญชี '@gsp_helper'