- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Sunday, 29 October 2023 17:17
- Hits: 2529
พาณิชย์ ประกาศขึ้นทะเบียน'มังคุดพิพย์พังงา'เป็นสินค้า GI รายการใหม่
กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) รายการใหม่ 'มังคุดทิพย์พังงา' ถือเป็นรายการที่ 3 ของจังหวัด ตามหลังทุเรียนสาลิกาพังงา และข้าวไร่ดอกข่าพังงา เผยผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สร้างรายได้ให้ชุมชนกว่าปีละ 280 ล้านบาท
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมได้ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) รายการใหม่ คือ มังคุดทิพย์พังงา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดพังงา ที่มีการเพาะปลูกกันมาอย่างยาวนาน มีชื่อเสียงและมีผลผลิตจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ เช่น จีนและเวียดนาม เป็นต้น และเป็นสินค้า GI ลำดับที่ 3 ของจังหวัดพังงา ต่อจากทุเรียนสาลิกาพังงา และข้าวไร่ดอกข่าพังงาที่ได้ขึ้นทะเบียน GI ไปก่อนหน้านี้ โดยปัจจุบันสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ชุมชนกว่า 280 ล้านบาทต่อปี
สำหรับ มังคุดทิพย์พังงา มีความหมายว่า ผลไม้ของเทวดาที่มีรสเลิศจากจังหวัดพังงา มีลักษณะเด่น คือ เป็นมังคุดพันธุ์พื้นเมือง ผลทรงกลม เปลือกค่อนข้างหนา แห้ง แตกลาย เนื้อสีขาว หนานุ่ม ไม่ฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยว ปลูกและผลิตในเขตพื้นที่จังหวัดพังงา ซึ่งสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชัน ดินมีการระบายน้ำดี อีกทั้งลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน ทำให้จังหวัดพังงามี 2 ฤดู คือ ฤดูฝนและฤดูร้อน ด้วยสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศดังกล่าว
ประกอบกับกระบวนการปลูกมังคุดของเกษตรกรชาวพังงาที่เน้นการดูแลรักษาแบบธรรมชาติ จึงเกิดเพลี้ยไฟในช่วงออกดอกและติดผลอ่อน มีผลดี คือ ทำให้โครงสร้างของผิวเปลือกเปลี่ยนแปลง มีรอยแยกระหว่างเซลล์ เกิดเป็นช่องว่างบนผิว ทำให้ผิวของผลมังคุดส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นลาย ระบายน้ำในผลออกมาได้ดี ส่งผลให้เนื้อมังคุดสีขาว แห้ง ไม่ฉ่ำน้ำ และเปลือกมังคุดค่อนข้างหนา ทำให้เนื้อมังคุดไม่ช้ำง่าย
“กรมมีนโยบายสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง โดยการยกระดับสินค้าท้องถิ่น ผ่านการขึ้นทะเบียน GI เพื่อคุ้มครองสินค้าที่มีอัตลักษณ์เฉพาะในแต่ละท้องถิ่น เพิ่มมูลค่าสินค้า สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน อีกทั้งยังเป็นการควบคุมคุณภาพสินค้าเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค และจากนี้ กรมจะเดินหน้าส่งเสริมการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพสินค้า และสนับสนุนช่องทางการตลาด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และสร้างรายได้ให้เกษตรกรในชุมชนต่อไป”นายวุฒิไกรกล่าว
มังคุดทิพย์พังงา สินค้า GI รายการใหม่จังหวัดพังงา พืชเศรษฐกิจสำคัญประจำจังหวัด รสชาติหวานอมเปรี้ยว เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งไทยและต่างชาติ
กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI รายการใหม่ 'มังคุดทิพย์พังงา' รสชาติหวานอมเปรี้ยว เนื้อขาว หนานุ่ม เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งไทยและต่างชาติ กระตุ้นการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญามีนโยบาย สร้างรากฐานทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง โดยการยกระดับสินค้าท้องถิ่นผ่านการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI เพื่อคุ้มครองสินค้าที่มีอัตลักษณ์เฉพาะในแต่ละท้องถิ่น เพิ่มมูลค่าสินค้า สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน อีกทั้งยังเป็นการควบคุมคุณภาพสินค้าเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค
ล่าสุด กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) รายการใหม่ คือ “มังคุดทิพย์พังงา” พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดพังงาที่มีการเพาะปลูกกันมาอย่างยาวนาน มีชื่อเสียงและมีผลผลิตจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญ เช่น จีน เวียดนาม เป็นต้น สร้างรายได้เข้าสู่ชุมชนกว่า 280 ล้านบาท
มังคุด ถือเป็นราชินีแห่งผลไม้เมืองร้อน ซึ่งมีรสชาติอร่อย เป็นที่นิยมของผู้บริโภค โดยชื่อ “ทิพย์พังงา” มีความหมายว่า ผลไม้ของเทวดาที่มีรสเลิศจากจังหวัดพังงา มีลักษณะเด่นคือ เป็นมังคุดพันธุ์พื้นเมือง ผลทรงกลม เปลือกค่อนข้างหนา แห้ง แตกลาย เนื้อสีขาว หนานุ่ม ไม่ฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยว ปลูกและผลิตในเขตพื้นที่จังหวัดพังงา ซึ่งสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชัน ดินมีการระบายน้ำดี อีกทั้งลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน
ทำให้จังหวัดพังงามี 2 ฤดู คือ ฤดูฝนและฤดูร้อน ด้วยสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศดังกล่าว ประกอบกับกระบวนการปลูกมังคุดของเกษตรกรชาวพังงาที่เน้นการดูแลรักษาแบบธรรมชาติ จึงเกิดเพลี้ยไฟในช่วงออกดอกและติดผลอ่อน มีผลดีคือ ทำให้โครงสร้างของผิวเปลือกเปลี่ยนแปลง มีรอยแยกระหว่างเซลล์ เกิดเป็นช่องว่างบนผิว ทำให้ผิวของผลมังคุดส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นลาย ระบายน้ำในผลออกมาได้ดี ส่งผลให้เนื้อมังคุดสีขาว แห้ง ไม่ฉ่ำน้ำ และเปลือกมังคุดค่อนข้างหนา ทำให้เนื้อมังคุดไม่ช้ำง่าย
มังคุดทิพย์พังงา เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 3 ของจังหวัดพังงา ต่อจากทุเรียนสาลิกาพังงา และข้าวไร่ดอกข่าพังงาที่ได้ขึ้นทะเบียน GI ไปก่อนหน้านี้ ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะเดินหน้าส่งเสริมการจัดทำระบบ ควบคุมคุณภาพสินค้า และสนับสนุนช่องทางการตลาด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และสร้างรายได้ ให้เกษตรกรในชุมชนอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ขอเชิญชวนทุกท่านติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหว และร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการสินค้า GI ได้ที่ Facebook Page : GI Thailand หรือโทรสายด่วน 1368