WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1Aewsdatatoday

ส่งออก ก.ย.66 เพิ่ม 2.1% บวก 2 เดือนติด รวม 9 เดือน ติดลบเหลือ 3.8%

พาณิชย์ เผยส่งออก ก.ย.66 มีมูลค่า 25,476.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 2.1% เป็นบวก 2 เดือนติดต่อกัน สินค้าเกษตรเพิ่ม 12% อุตสาหกรรมเกษตร เพิ่ม 5.4% แต่สินค้าอุตสาหกรรมกลับมาลด 0.3% รวม 9 เดือน ติดลบเหลือ 3.8% คาด 3 เดือนที่เหลือปีนี้ การส่งออกยังดีขึ้นต่อเนื่อง ลุ้นทั้งปีติดลบน้อยลง

        นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกเดือน ก.ย.2566 มีมูลค่า 25,476.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.1% เป็นบวกต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน เมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 888,666 ล้านบาท การนำเข้ามีมูลค่า 23,383.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 8.3% คิดเป็นเงินบาทมูลค่า 825,310 ล้านบาท ได้ดุลการค้ามูลค่า 2,092.7 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาทมูลค่า 63,355 ล้านบาท

รวมการส่งออก 9 เดือนของปี 2566 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 213,069.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 3.8% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 7,268,400 ล้านบาท นำเข้ามูลค่า 218,902.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 6% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 7,558,144 ล้านบาท ขาดดุลการค้า มูลค่า 5,832.7 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 289,400 ล้านบาท

         ทั้งนี้ การส่งออกของไทยเดือน ก.ย.2566 ที่กลับมาเป็นบวกได้ 2.1% เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถือว่าไทยทำได้ดี โดยอินเดีย ลบ 2.6% เกาหลีใต้ ลบ 4.4% จีน ลบ 6.2% สิงคโปร์ ลบ 9.5% มาเลเซีย ลบ 16.2% และอินโดนีเซีย ลบ 16.2% แต่เวียดนาม กลับมาบวกเช่นเดียวกับไทย โดยเพิ่มขึ้น 2.1%

สำหรับ การส่งออกที่เพิ่มขึ้น มาจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าเกษตร 12% เป็นบวก 2 เดือนติด และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่ม 5.4% เป็นบวกครั้งแรกในรอบ 6 เดือน โดยสินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้น เช่น ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง เพิ่ม 166.2% ข้าว เพิ่ม 51.4% ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เพิ่ม 3.7% น้ำตาลทราย เพิ่ม 16.3% ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เพิ่ม 12.8%

สิ่งปรุงรสอาหาร เพิ่ม 27.1% ผักกระป๋องและผักแปรรูป เพิ่ม 17.3% นมและผลิตภัณฑ์นม เพิ่ม 3.1% ผักสด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง เพิ่ม 7.9% ไข่ไก่สด เพิ่ม 52.7% ส่วนสินค้าที่ลดลง เช่น อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ลด 12% ยางพารา ลด 30.3% ไก่แปรรูป ลด 11.2% อาหารสัตว์เลี้ยง ลด 7.9% ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ลด 3.9% ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนของปี 2566 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ลด 2%

ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม กลับมาลดลง 0.3% โดยสินค้าที่ลดลง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ลด 24.3% ผลิตภัณฑ์ยาง ลด 5.5% เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ลด 27.7% รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ลด 34.6% ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม ลด 15.8% ส่วนสินค้าที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่ม 3.3% อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) เพิ่ม 27.3% เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่ม 23.9% หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เพิ่ม 46.4% อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เพิ่ม 28.8% ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนของปี 2566 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ลด 3.7%

ทางด้านการส่งออกไปตลาดสำคัญ ตลาดหลัก ลด 4.2% โดยสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ลด 10% และ 5% ตามลำดับ และหดตัวต่อเนื่องในตลาด CLMV และสหภาพยุโรป (27) 18.1% และ 9.3% ตามลำดับ ส่วนจีนและอาเซียน (5) เพิ่ม 14.4% และ 4.1% ตลาดรอง เพิ่ม 10.5%

โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ 7.8% แอฟริกา 23% ลาตินอเมริกา 4.6% และรัสเซียและกลุ่ม CIS 33.9% ขณะที่ทวีปออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง และสหราชอาณาจักร ลด 11.8% 5.9% และ 15% ตามลำดับ ตลาดอื่นๆ เพิ่ม 423.6% เช่น สวิตเซอร์แลนด์ เพิ่ม 749.8%

นายกีรติ กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกในช่วง 3 เดือนที่เหลือของปีนี้ (ต.ค.-ธ.ค.) ตัวเลขน่าจะดีขึ้นต่อเนื่อง และน่าจะติดลบน้อยกว่าที่หลายสำนักได้คาดการณ์เอาไว้ โดยมีปัจจัยบวกจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่เร่งแก้ไขปัญหาและผลักดันการส่งออก มีการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารเพิ่มขึ้นจากภาวะภัยแล้ง ค่าเงินบาทที่ทรงตัวขณะนี้ เป็นตัวช่วย

และยังมีเรื่องการนำเข้าสินค้าเพื่อใช้ในช่วงเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ ทำให้การส่งออกดีขึ้น โดยทั้งปี แม้จะไม่พลิกกลับมาเป็นบวก แต่เชื่อว่าจะทำให้ติดลบน้อยลงได้ และเมื่อทำเต็มที่แล้ว จะบวก หรือจะลบ ก็ไม่เสียใจ ส่วนปัจจัยที่ต้องจับตา คือ ราคาน้ำมัน และปัญหาอิสราเอล ถ้าขีดวงอยู่ ก็ไม่มีผลต่อการขนส่ง แต่ถ้าขยายวง ก็น่าคิด ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ ได้มีการหารือกับภาคเอกชน เพื่อเตรียมรับมือไว้ล่วงหน้าแล้ว

ทั้งนี้ การส่งออกทั้งปี ถ้าติดลบ 1% ช่วงที่เหลือ 3 เดือนต้องส่งออกให้ได้เฉลี่ยเดือนละ 23,827 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 0% ต้องส่งออกเฉลี่ยเดือนละ 24,785 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ถ้าบวก 1% ต้องส่งออกเฉลี่ย 25,743 ล้านเหรียญสหรัฐ

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การส่งออกในเดือนก.ย.2566 ที่ออกมา ดีกว่าที่คาดไว้ และจากสถานการณ์ตอนนี้ ประเมินว่าทั้งปีน่าจะติดลบประมาณ 1%

        ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การส่งออกเดือน ก.ย.2566 ที่เพิ่มขึ้น 2.1% เป็นการกลับมาเป็นบวกต่อเนื่องติดต่อกัน 2 เดือน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ การส่งออกติดลบต่อเนื่องมาแล้ว 10 ติดต่อกัน นับตั้งแต่เดือน ต.ค.2565 ที่ลดลง 4.2% พ.ย.2565 ลด 5.6% ธ.ค.2565 ลด 14.3% ม.ค.2566 ลด 4.6% ก.พ.2566 ลด 4.8% มี.ค.ลด 4.2% เม.ย.2566 ลด 7.7% พ.ค.ลด 4.6% มิ.ย. ลด 6.5% ก.ค.ลด 6.2% และกลับมาเป็นบวกครั้งแรกในเดือนส.ค.2566 ที่ 2.6%

 

ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย ประจำเดือนกันยายน และ 9 เดือนแรกของปี 2566 🚢✈️🌏📊

          นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ แถลงข่าวภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย เดือนกันยายน 2566 และ 9 เดือนแรกของปี 2566 พร้อมด้วย ผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ ณ ห้องกิติยากรวรลักษณ์ ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

            การส่งออกของไทยในเดือนกันยายน 2566 มีมูลค่า 25,476.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (888,666 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 2.1 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 1.0 การส่งออกของไทยขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง โดยได้รับแรงหนุนจากการการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร โดยเฉพาะการส่งออกผลไม้ไปจีน อาทิ ทุเรียน และมังคุด รวมทั้งการส่งออกข้าวที่ขยายตัวได้ดีในตลาดแอฟริกาใต้และอินโดนีเซีย สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมดาวรุ่งที่ขยายตัวต่อเนื่องยังคงเป็นสินค้าที่เติบตามเมกะเทรนด์ เช่น โซลาเซลล์ และโทรศัพท์มือถือ อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตโลกเดือนนี้ยังคงอยู่ในภาวะหดตัว การฟื้นตัวของตลาดหลักยังเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง จากปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และการคงอัตราดอกเบี้ยสูงยาวนาน ชะลออุปสงค์ทั่วโลก ทั้งนี้ การส่งออกไทย 9 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 3.8 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 1.2

 

📊 มูลค่าการค้ารวม

💰มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ

            เดือนกันยายน 2566 การส่งออก มีมูลค่า 25,476.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 23,383.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 8.3 ดุลการค้า เกินดุล 2,092.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม 9 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออก มีมูลค่า 213,069.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.8 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 218,902.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 6.0 ดุลการค้า 9 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 5,832.7 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

💰 มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท

            เดือนกันยายน 2566 การส่งออก มีมูลค่า 888,666 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 0.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 825,310 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 10.2 ดุลการค้าเกินดุล 63,355 ล้านบาท ภาพรวม 9 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออก มีมูลค่า 7,268,400 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 3.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 7,558,144 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 5.9 ดุลการค้า 9 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 289,744 ล้านบาท

.

🔷 การส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ และแนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป

📊 การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา อาทิ

(1) - การจับมือร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ในการผลักดันและแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า

(2) - การนำคณะผู้แทนการค้าไทยไปยังซาอุดีอาระเบีย และอียิปต์ พร้อมด้วยผู้ประกอบการไทยกว่า 26 บริษัท เข้าร่วมงาน Saudi-Thai Business Matching 2023 ณ ซาอุดีอาระเบีย และงาน Thai-Egyptian B2B Matching Event 2023 ณ อียิปต์ เพื่อเจรจาการค้าและขยายตลาดส่งออกสินค้าในกลุ่มอาหารฮาลาล ผลไม้ สินค้าใช้ในบ้าน และชิ้นส่วนยานยนต์

(3) - ยกระดับความร่วมมือกับผู้ประกอบการแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศลงนาม MOU ร่วมกับบริษัท ลาซาด้า จํากัด ในการร่วมมือส่งเสริมการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนเพื่อเปิดโอกาสให้สินค้าของผู้ประกอบการไทยทุกระดับได้มีโอกาสขยายตลาดสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านร้าน TOPTHAI Store บนแพลตฟอร์มลาซาด้า

(4) - นำคณะผู้ส่งออกร่วมงานแสดงสินค้าจีน-อาเซียน ครั้งที่ 20 ณ นครหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีผู้ส่งออกเข้าร่วม 76 ราย 4 กลุ่มสินค้า คาดว่าจะสร้างยอดขายไม่ต่ำกว่า 150 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีการสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจสมัยใหม่ อาทิ เทคโนโลยีขั้นสูง ความมั่นคงด้านห่วงโซ่อุปทาน การค้าดิจิทัล การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามแดน

.

📊 แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า การส่งออกในไตรมาส 4 ของปี 2566 จะมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามการทยอยฟื้นตัวของประเทศคู่ค้า ที่ต่างออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และอุปสรรค ด้านห่วงโซ่อุปทานคลี่คลายลงจากปีก่อนหน้าที่ต้องเผชิญกับโควิด-19

ขณะที่กระแสความมั่นคงทางอาหาร และแรงส่งจากภาคบริการและท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปลายปีจะช่วยหนุนการส่งออกสินค้าเกษตร และอาหารที่ไทยมีศักยภาพ สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมยังสามารถเติบโตได้ตามเทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัลและพลังงานสะอาด

โดยกระทรวงพาณิชย์ทำงานอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชน ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าและเดินหน้าเจรจาความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งติดตามเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ๆ จากปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-กลุ่มฮามาส ซึ่งอาจขยายวงกว้างจนส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการค้าของโลกในระยะถัดไป

.

ติดตามข้อมูลเศรษฐกิจการค้าก่อนใครที่

📌 LINE: @TPSO.tradeinsights

📌 Website : tpso.go.th

 

Click Donate Support Web  

 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100sme 720x100AXA 720 x100ธกส 720x100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!