WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1พูนพงษ์

สนค.วิเคราะห์ตลาดนอร์ดิก พบสินค้าไทยหลายรายการ มีโอกาสส่งออกได้เพิ่มขึ้น

สนค. วิเคราะห์สินค้าไทยที่มีโอกาสในการเจาะตลาดนอร์ดิก พบ 'ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า' และ 'กลุ่มเครื่องปรับอากาศ' เป็นสินค้าดาวเด่น ‘ยางยานพาหนะ’ และ ‘อาหารสุนัขและแมว’ เป็นสินค้าศักยภาพ ส่วน ‘ก่’และ’อาหารทะเลกระป๋อง’ เป็นสินค้าที่มีความต้องการสูง แต่ไทยยังเข้าถึงตลาดได้น้อย ยังมีโอกาสในการขยายตลาดได้

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ได้วิเคราะห์ตลาดนอร์ดิก 5 ประเทศ ได้แก่ สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์ เพื่อหาโอกาสสำหรับการเปิดตลาดใหม่เพิ่มเติมตามนโยบายของกระทรวงพาณิชย์

โดยเน้นตลาดใหม่ที่มีกำลังซื้อสูง แต่ยังมีมูลค่าการค้ากับไทยไม่มากนัก และเป็นโอกาสสำหรับผู้ส่งออกไทยที่จะหาโอกาสขยายการค้าในตลาดใหม่เพิ่มขึ้น โดยพบว่า ปัจจุบันไทยส่งออกไปยังตลาดนอร์ดิกได้ไม่มาก แต่สินค้าไทยยังมีโอกาสเข้าถึงตลาดนอร์ดิกได้เพิ่มขึ้น มีสินค้าที่มีศักยภาพและโอกาสเจาะตลาดในกลุ่มประเทศนอร์ดิกจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ สินค้าดาวเด่น สินค้าศักยภาพ และสินค้าแนะส่งเสริม

โดยสินค้าดาวเด่น เป็นสินค้าส่งออกหลักของไทยในกลุ่มประเทศนอร์ดิกที่มีแนวโน้มเติบโตดี สะท้อนว่าตลาดยังมีความต้องการสูง โดยในปี 2565 ประเทศไทยส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า สัดส่วนร้อยละ 9.9 ของสินค้าส่งออกไทยไปนอร์ดิกทั้งหมด เพิ่มร้อยละ 381.2 และส่งออกเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ สัดส่วนร้อยละ 15.1 เพิ่มร้อยละ 54.0 และในช่วง 7 เดือนปี 2566 การส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยยังคงเติบโต

โดยผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า สัดส่วนร้อยละ 14.6 ของสินค้าส่งออกไทยไปนอร์ดิกทั้งหมด เพิ่มร้อยละ 0.8 และส่งออกเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ สัดส่วนร้อยละ 11.8 เพิ่มร้อยละ 0.3 โดยในปี 2565 ไทยครองส่วนแบ่งตลาดผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า ในตลาดนอร์ดิกอยู่ที่ร้อยละ 0.9 และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ที่ร้อยละ 15.9 ซึ่ง สนค. มองว่าสินค้าดังกล่าวยังมีโอกาสขยายการส่งออกและขยายส่วนแบ่งตลาดได้อีก

สำหรับ สินค้าศักยภาพ เป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพ แต่มีส่วนแบ่งของไทยในตลาดนอร์ดิกต่ำกว่าส่วนแบ่งของไทยในตลาดโลก ได้แก่ ยางยานพาหนะ ซึ่งในปี 2565 ไทยครองส่วนแบ่งในตลาดนอร์ดิกอยู่ที่ร้อยละ 1.4 เปรียบเทียบกับส่วนแบ่งของไทยในตลาดโลกที่ร้อยละ 7.7

ขณะที่การส่งออกในช่วง 7 เดือนของปี 2566 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 8.3 และอาหารสุนัขและแมว ซึ่งไทยครองส่วนแบ่งในตลาดนอร์ดิกอยู่ที่ร้อยละ 0.9 เปรียบเทียบกับส่วนแบ่งของไทยในตลาดโลกที่ร้อยละ 11.9 ขณะที่การส่งออกในช่วง 7 เดือนของปี 2566 ลดลงร้อยละ 23.6

ส่วนสินค้าแนะส่งเสริม เป็นสินค้าที่ตลาดมีความต้องการ แต่กลุ่มประเทศนอร์ดิกยังนำเข้าจากไทย ค่อนข้างน้อย หรือมูลค่าการนำเข้าจากไทยมีไม่ต่อเนื่อง จึงเป็นสินค้าไทยที่แนะนำให้เข้าไปเปิดตลาดใหม่ ได้แก่  ไก่และอาหารทะเลกระป๋อง แต่การเข้าสู่ตลาดใหม่ในสินค้าดังกล่าว เป็นเรื่องที่ท้าทายทั้งจากคู่แข่งทางการค้าเดิมที่มีส่วนแบ่งตลาดค่อนข้างสูง และมาตรฐานสินค้าในกลุ่มประเทศที่ค่อนข้างสูงกว่ากลุ่มประเทศอื่น

นายพูนพงษ์ กล่าวว่า จากผลการศึกษา ยังพบว่า เรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นประเด็นที่ภาครัฐและผู้บริโภคชาวนอร์ดิกกำลังให้ความสำคัญ เพราะกลุ่มประเทศนอร์ดิกถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างสูง มีเป้าหมายร่วมกันในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050)

และจากผลการจัดอันดับ ‘ดัชนีผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม’ (Environmental Performance Index: EPI) ในปี 2565 พบว่า 3 ประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ได้แก่ เดนมาร์ก อันดับ 1 ฟินแลนด์ อันดับ 3 และสวีเดน อันดับ 5

สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของประเทศในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การส่งออกสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่แสดงให้ผู้บริโภคเห็นว่าสินค้าดังกล่าวให้ความสำคัญและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เช่น การติดฉลากฉลากสิ่งแวดล้อมที่ได้รับรองจากหน่วยงานที่ได้รับความน่าเชื่อถือ เป็นต้น จะมีส่วนสนับสนุนให้สินค้าไทยได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวนอร์ดิกได้ดี

ตลาดนอร์ดิกเป็นหนึ่งในตลาดที่น่าจับตามอง เพราะเป็นตลาดที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูงมาก แต่ไทยยังมีการค้ากับประเทศเหล่านี้ค่อนข้างน้อย ดังนั้น ไทยมีโอกาสเข้าสู่ตลาดนี้ได้อีกมาก และไทยยังมีสินค้าที่มีศักยภาพหลายรายการที่มีโอกาสเข้าไปเจาะตลาดนอร์ดิกเพิ่มเติม

ซึ่งการวิเคราะห์โอกาสทางการค้านี้ เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ส่งออกไทยมองเห็นศักยภาพและโอกาสของตลาดใหม่ในกลุ่มประเทศนอร์ดิกได้ชัดเจนขึ้น แต่กลุ่มประเทศนอร์ดิก มีเกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานสินค้าที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม การส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศนี้ จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดด้วย”นายพูนพงษ์กล่าว

ตลาดนอร์ดิก ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูงติดอันดับโลก โดยในปี 2565 นอร์เวย์ เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดในกลุ่มประเทศนอร์ดิกอยู่ที่ 106,149 ดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก และสูงกว่าไทย 15.4 เท่า แต่กลุ่มประเทศนอร์ดิก มีจำนวนประชากรน้อยกว่าไทย 2.6 เท่า โดยสวีเดน เป็นประเทศขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในกลุ่มประเทศ

ซึ่งประชากรคิดเป็นร้อยละ 37.7 ของประชากรทั้งหมดในกลุ่มประเทศ (นอร์ดิกมีประชากรรวม 27.8 ล้านคน) สำหรับด้านการค้าระหว่างประเทศ แหล่งนำเข้าสำคัญของกลุ่มประเทศนอร์ดิก 3 ลำดับแรก คือ เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และจีน โดยไทยเป็นแหล่งนำเข้าลำดับที่ 31 คิดเป็นร้อยละ 0.4 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด

ข้อมูลการส่งออกของไทยไปยังกลุ่มประเทศนอร์ดิก ในช่วง 7 เดือนของปี 2566 (ม.ค-ก.ค.) มีมูลค่ารวม 886.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 คิดเป็นร้อยละ 0.5 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของไทย ประเทศส่งออกหลัก ได้แก่ สวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก โดยสินค้าส่งออกหลัก เช่น ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เป็นต้น

 

Click Donate Support Web 

 

 Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100

TU 720x100 66

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!