WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

WHOพิมพ์ชนก

WIPO เร่งเจรจาคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น ลุ้นสรุปปี 67 เผยไทยได้ประโยชน์เพียบ

องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) เดินหน้าเจรจาจัดทำความตกลงทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เร่งสรุปผลเสนอการประชุมทางการทูตปี 67 หวังปิดดีลให้ได้ หลังยืดเยื้อมานาน เผยหากสรุปได้ ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งไทย ได้ประโยชน์เพียบ ทั้งการได้รับการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น การแบ่งปันผลประโยชน์ และเอาผิดผู้ลักลอบได้

      นางพิมพ์ชนก พิตต์ฟีลด์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก (WTO) และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4-8 ก.ย.2566 ที่ผ่านมา WIPO ได้จัดประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม (IGC) สมัยพิเศษ เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมทางการทูตในเรื่องนี้ ที่กำหนดจัดขึ้นในปี 2567 ที่อินเดีย ตามมติที่ประชุมสมัชชาใหญ่ของ WIPO และต้องสรุปผลความตกลงระหว่างประเทศด้านทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรพันธุกรรมให้ได้ภายในปี 2567 หลังจากสมาชิก WIPO เริ่มหารือจัดทำความตกลงมาตั้งแต่ปี 2543 โดยได้จัดตั้ง IGC รับผิดชอบเจรจา และเริ่มเจรจาครั้งแรกในปี 2553 แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปผลการเจรจาได้

       สำหรับ การประชุมสมัยพิเศษครั้งนี้ หากสมาชิกสรุปผลการจัดทำความตกลงได้ จะเกิดประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะจะช่วยส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่กว้างขวางมากขึ้น และเอื้อต่อการสร้างความเสมอภาค อีกทั้งยังช่วยรักษาสมดุลระหว่างผลประโยชน์ และสิทธิ์ของผู้ให้และผู้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรพันธุกรรม ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องของประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงไทยที่มีมาอย่างต่อเนื่อง

       นอกจากนี้ การบังคับให้เปิดเผยแหล่งที่มาในการขอสิทธิบัตรจะช่วยให้เกิดความโปร่งใสเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรพันธุกรรมภายใต้ระบบสิทธิบัตร ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการแบ่งปันผลประโยชน์ การป้องกันการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรที่ผิดพลาด การยักยอกใช้ทรัพยากรพันธุกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรพันธุกรรมด้วย

      ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ไทยมีภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรพันธุกรรมมากมาย เช่น พันธุ์พืชต่างๆ สมุนไพรไทย แต่ปัจจุบัน หลายประเทศมีการลักลอบนำสิ่งเหล่านี้ของไทยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ หรือนำไปจดสิทธิบัตรโดยไม่ขออนุญาต และไม่มีการแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับเจ้าของที่เป็นคนไทย แต่การเจรจาจัดทำความตกลงดังกล่าว จะช่วยให้มีการเปิดเผยแหล่งที่มาของภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรพันธุกรรม และมีการแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับเจ้าของ

      ทั้งนี้ ร่างล่าสุดของความตกลง มีสาระสำคัญ เช่น 1.วัตถุประสงค์ของความตกลง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และคุณภาพของระบบสิทธิบัตร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรพันธุกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรพันธุกรรม ป้องกันการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรที่ผิดพลาด 2.บังคับให้เปิดเผยแหล่งที่มาในการขอสิทธิบัตร โดยกำหนดให้ผู้ยื่นคำขอสิทธิบัตรต้องเปิดเผยประเทศต้นทางของทรัพยากรพันธุกรรม และหรือชุมชนท้องถิ่น ที่ให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรพันธุกรรม 3.บทกำหนดโทษและการชดเชย

      หากไม่เปิดเผยแหล่งที่มาในการขอสิทธิบัตร จะกำหนดมาตรการลงโทษตามกฎหมายของแต่ละประเทศ และอาจให้เพิกถอนสิทธิบัตรหรือไม่สามารถบังคับใช้สิทธิบัตรได้ 4.การจัดทำระบบข้อมูล เช่น ฐานข้อมูลทรัพยากรพันธุกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรพันธุกรรม ซึ่งสามารถเข้าถึงได้โดยสำนักงานสิทธิบัตรประเทศต่าง ๆ เพื่อค้นหาและตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตร เป็นต้น

 

Click Donate Support Web  

gpf 720x100 66

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100PTG 720x100iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!