WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย

อาเซียนถกเกาหลีใต้-จีน อัปเกรด FTA ร่วมมือเศรษฐกิจยั่งยืนญี่ปุ่น เพิ่มเปิดเสรีลงทุนฮ่องกง

เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนถกเกาหลีใต้ วางแนวทางยกระดับความตกลง AKFTA ร่วมมือพัฒนาสตาร์ตอัป ผนึกจีนสรุปผลการอัปเกรด FTA ภายในปี 67 มุ่งลดอุปสรรคทางการค้า ทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม จับมือญี่ปุ่นเร่งสรุปแผนด้านนวัตกรรมและความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ และร่วมมือกับฮ่องกงเตรียมประกาศความสำเร็จสาขาที่จะเปิดเสรีด้านการลงทุน ในที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ส.ค.นี้

นายดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน–เกาหลีใต้ ครั้งที่ 39 อาเซียน–จีน ครั้งที่ 44 อาเซียน–ญี่ปุ่น ครั้งที่ 2/28 และอาเซียน–ฮ่องกง ครั้งที่ 11 ณ เมืองสุราบายา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 14–15 ก.ค.2566 ที่ผ่านมา

โดยในส่วนของอาเซียน–เกาหลีใต้ ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลีใต้ (AKFTA) ทั้งการจัดทำตารางลดภาษีจากฉบับปี 2017 (HS 2017) เป็นฉบับปี 2022 (HS 2022) และการบังคับใช้พิธีสารที่แก้ไขความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าอาเซียน-เกาหลีใต้ ที่ขณะนี้สมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ รวมทั้งไทยและเกาหลีใต้ได้ให้สัตยาบันพิธีสารดังกล่าวแล้ว โดยพิธีสารฯ จะช่วยอำนวยความสะดวกและสร้างความโปร่งใสทางการค้า ซึ่งจะส่งเสริมให้การค้าระหว่างอาเซียนและเกาหลีใต้เติบโตยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบได้หมายให้คณะกรรมการดำเนินงานความตกลงการค้าเสรีอาเซียน–เกาหลีใต้ (AKFTA–IC) หารือเกี่ยวกับผลการศึกษาร่วมเพื่อยกระดับความตกลง AKFTA ฉบับสมบูรณ์ รวมถึงหารือแนวทางความเป็นไปได้ในการยกระดับความตกลง AKFTA เพื่อให้มีความทันสมัยและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการมากขึ้น และยังได้ติดตามความคืบหน้าการศึกษาวิจัยด้านการค้าดิจิทัล ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลกในปัจจุบันและอนาคต

โดยเกาหลีใต้พร้อมสานต่อร่วมมือทางเศรษฐกิจกับอาเซียน ทั้งการจัดทำแผนงานนโยบายสตาร์ตอัประหว่างอาเซียนกับเกาหลีใต้ การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านมาตรฐานอุตสาหกรรม การพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเกาหลีใต้ที่มีความโดดเด่นด้านการพัฒนานวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมและสตาร์ตอัปอย่างมาก

นายดวงอาทิตย์ กล่าวว่า สำหรับกรอบอาเซียน–จีน ที่ประชุมได้หารือผลการดำเนินงานภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) ในประเด็นปัญหาที่เป็นอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน โดยเฉพาะด้านสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม และได้มอบหมายคณะอนุกรรมการเร่งติดตามและแก้ไขประเด็นปัญหาโดยเร็ว รวมทั้งได้เน้นย้ำให้คณะทำงานที่เกี่ยวข้องเร่งการเจรจายกระดับ ACFTA และจัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าในประเด็นสาขาใหม่ๆ เช่น เศรษฐกิจสีเขียว เศรษฐกิจดิจิทัล และการเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทาน

เพื่อสรุปผลการเจรจาให้ได้ภายในปี 2567 และทั้งสองฝ่ายจะขยายความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การจัดสัมมนาอาเซียน–จีน เกี่ยวกับกฎหมายและกฎระเบียบด้านเศรษฐกิจและการค้า และการจัดทำข้อริเริ่มในการขยายความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อาเซียน–จีน โดยตั้งเป้าหมายให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน–จีน เห็นชอบในเดือน ส.ค.2566

ส่วนการหารือในกรอบอาเซียน–ญี่ปุ่น ที่ประชุมได้เร่งรัดให้ได้ข้อสรุปข้อริเริ่มการออกแบบอนาคตและแผนปฏิบัติการด้านนวัตกรรมและความยั่งยืนของความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น ปี 2566–2576 โดยเร็ว ได้แก่ 1.ข้อริเริ่มเศรษฐกิจหมุนเวียนระหว่างอาเซียน–ญี่ปุ่น 2.การนำไปสู่การเป็นห่วงโซ่อุปทานดิจิทัล 3.การร่วมสร้างสรรค์แก้ปัญหาความท้าทายทางสังคมกับภาคธุรกิจ และ 4.การจัดประชุมเครือข่ายระหว่างผู้นำทางธุรกิจรุ่นใหม่และนักธุรกิจ Z–gen จากอาเซียนและญี่ปุ่น

โดยจะเสนอที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน–ญี่ปุ่น (AEM–METI Consultations) ครั้งที่ 29 ให้การเห็นชอบ ในวันที่ 22 ส.ค.2566 ณ เมืองเซมารัง อินโดนีเซีย ก่อนเสนอที่ประชุมสุดยอดอาเซียน–ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ เดือน ธ.ค.2566 ณ กรุงโตเกียว เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน–ญี่ปุ่น

ทั้งนี้ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชียตะวันออก (ERIA) จะเปิดตัวศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน เดือน ก.ย.2566 ซึ่งจะเป็นแพลตฟอร์มสําหรับภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการและองค์กรต่างๆ ในการแลกเปลี่ยนแนวคิดเพื่อนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

ขณะที่กรอบอาเซียน–ฮ่องกง ที่ประชุมรับทราบว่าอาเซียนและฮ่องกงสามารถเจรจากฎถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้า (Product Specific Rules : PSRs) ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน–ฮ่องกง (AHKFTA) ได้ครบ 557 รายการแล้ว ซึ่งการใช้ PSRs เป็นการกำหนดเกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าที่สะท้อนกระบวนการผลิตที่แท้จริงของสินค้านั้น ๆ จะทำให้ผู้ส่งออกสามารถผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้น และจะช่วยส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าระหว่างกัน

สำหรับ แผนงานภายใต้ความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน–ฮ่องกง (AHKIA) ล่าสุดสามารถหาข้อสรุปสาขาที่จะเปิดเสรีด้านการลงทุนระหว่างกันอย่างมีนัยสำคัญแล้ว โดยตั้งเป้าหมายที่จะประกาศความสำเร็จในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ฮ่องกง เดือน ส.ค.2566 และที่ประชุมยังได้เร่งรัดสองฝ่ายหาข้อสรุปประเด็นอื่นๆ ที่อยู่ในแผนงานของความตกลง AHKIA เช่น การกำหนดคำนิยามบุคคลธรรมดาของสมาชิก และแนวทางการระงับข้อพิพาทด้านการลงทุนระหว่างนักลงทุนกับรัฐ เพื่อผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากความตกลงด้านการลงทุนอย่างเต็มประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการภายใต้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการของความตกลง AHKFTA โดยในปีนี้ มีโครงการที่ไทยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากฮ่องกง จำนวน 96,211.5 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3.29 ล้านบาท ได้แก่ โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิสำหรับการประมง

ซึ่งจะอบรมเจ้าหน้าที่ของประเทศสมาชิกอาเซียนให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการใช้ประโยชน์จากระบบการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain Logistics) เพื่อควบคุมกลไกการเสื่อมสภาพ คุณภาพ และการประเมินอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ประมง ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญของไทยและสมาชิกอาเซียนหลายประเทศ

 

Click Donate Support Web  

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100ais 720x100sme 720x100ธกส 720x100

PTG 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!