WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1Aผู้ส่งออกยาง

สนค.แนะเกษตรกร ผู้ส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ เร่งปรับตัวรับความท้าทาย

สนค. แนะเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้ส่งออกสินค้ายางพารา เร่งปรับตัวรับมือกับความท้าทายรอบด้าน ทั้งปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการค้าสินค้าเกษตร และกฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของอียู ชี้จะทำให้ยางพาราและผลิตภัณฑ์ของไทยได้รับการยอมรับ และแข่งขันได้ดีขึ้น

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ไทยเป็นผู้ผลิตยางอันดับ 1 ของโลก ในปี 2565 มีผลผลิตยางพารา 4.8 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 33 ของผลผลิตยางโลก และเป็นผู้ส่งออกสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ อันดับ 2 ของโลก รองจากจีน โดยปัจจุบัน พบว่า สินค้ายางพาราของไทยกำลังเผชิญความท้าทายรอบด้าน ทั้งปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่โลกมีการแบ่งขั้ว ประเทศต่าง ๆ หันมาให้ความสำคัญกับการพึ่งพาตนเองมากขึ้น สหรัฐฯ มีความก้าวหน้าในการพัฒนายางธรรมชาติจากพืชทางเลือก ได้แก่ วายยูลี ซึ่งมีจุดเด่น คือ ไม่มีโปรตีนที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ เหมาะสำหรับผลิตถุงมือทางการแพทย์ ถุงยาง และสามารถปลูกได้ในพื้นที่แห้งแล้ง และแดนดิไลน์ มีจุดเด่น คือ การสกัดยางจากแดนดิไลน์ ใช้น้ำร้อนเป็นตัวทำละลาย จึงทำให้ไม่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากยางธรรมชาติจากพืชทางเลือกอื่น สามารถทดแทนยางพาราได้ดี และมีความคุ้มค่าด้านต้นทุน ก็อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกยางพาราของไทยในอนาคต

ทั้งนี้ ยังมีประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ที่ให้ความสำคัญกับการผลิตยางอย่างยั่งยืน ที่กำลังเป็นเทรนด์สำคัญของโลก โดยผู้ผลิตจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดูแลสวัสดิการคนงานและชุมชน ทำให้การผลิตยางอย่างยั่งยืน มีความสำคัญมากขึ้น ตามแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคที่หันมาให้ความสำคัญกับสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กลุ่มบริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ของโลก มีนโยบายรับซื้อน้ำยางที่ได้จากสวนยางพาราที่ได้รับการรับรองว่ามีการจัดการอย่างยั่งยืน

ซึ่งองค์กรที่ให้การรับรองจะต้องเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติ เช่น Forest Stewardship Council (FSC) ซึ่งไม้และผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมาย FSC เป็นการรับประกันว่า มาจากป่าที่มีการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักการ คือ มีการปลูกไม้แบบยั่งยืน หรือองค์กร Programe for the Endorecement Forest Certification (PEFC) โดย PEFC จะทำหน้าที่เป็นองค์กรแม่ข่าย ให้การประเมินและให้การยอมรับระบบการรับรองป่าไม้ระดับประเทศ ซึ่งประเทศไทยได้กำหนดมาตรฐานประเทศเกี่ยวกับการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (มอก.14061) และมาตรฐานห่วงโซ่การควบคุมผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ (มอก. 2861) ซึ่งเทียบเท่ากับมาตรฐาน PEFC

นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มการปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลให้เพิ่มการใช้ยางรีไซเคิล โดยมีการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ช่วยลดขยะ ลดการผลิตยางบริสุทธิ์ที่ต้องใช้ทรัพยากรมากกว่า ซึ่งการผลิตยางบริสุทธิ์จะใช้น้ำในปริมาณมากเพื่อชะล้างสิ่งสกปรก และหากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี น้ำเสียจะส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งหลายบริษัทมีการพัฒนาสินค้าจากยางรีไซเคิล เช่น ไนกี้ใช้ยางรีไซเคิลในพื้นรองเท้า และบริดจ์สโตนพัฒนายางรถยนต์จากยางรีไซเคิล เป็นต้น

ขณะเดียวกัน ตั้งแต่วันที่ 29 มิ.ย.2566 กฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า (Deforestation-Free Products Regulations) หรือ EUDR ของสหภาพยุโรป (อียู) จะมีผลบังคับใช้ ซึ่งครอบคลุมสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ (EUDR ครอบคลุมสินค้าเกษตร 7 รายการ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน วัว ถั่วเหลือง กาแฟ โกโก้ ไม้ และยาง รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากสินค้าเกษตรดังกล่าว โดยจะมีช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน 18 เดือน จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2567 สำหรับ ผู้ประกอบการก่อนดำเนินการตามกฎหมาย EUDR และอียูจะมีการประเมินประเทศคู่ค้า

โดยจะแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ กลุ่มความเสี่ยงสูง (High Risk) กลุ่มความเสี่ยงมาตรฐาน (Standard Risk) และกลุ่มความเสี่ยงต่ำ (Low Risk) ซึ่งจะส่งผลต่อความเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้า โดยเริ่มแรกอียูจะจัดให้ทุกประเทศอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงมาตรฐานก่อน และภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2567 จะประกาศรายชื่อประเทศที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูง และความเสี่ยงต่ำ

นายพูนพงษ์กล่าวว่า สินค้ายางพาราของไทยกำลังเผชิญความท้าทายจากปัจจัยรอบด้าน จะต้องเร่งพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยการสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่าของสินค้า เริ่มตั้งแต่การทำสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากล มีระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางให้มีมูลค่าสูงขึ้น เน้นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ใช้เทคโนโลยี ตลอดจนส่งเสริมให้มีการนำผลงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ ให้มีการนำยางพารามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น วัสดุภัณฑ์ก่อสร้างบ้านและอาคาร เฟอร์นิเจอร์ และผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ เป็นต้น

ส่วนในด้านการตลาด จะต้องทำการตลาดเชิงรุก เน้นความต้องการเฉพาะของแต่ละตลาด มีการทำวิจัยด้านการตลาด รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของผู้บริโภค เพื่อระบุโอกาสและความท้าทาย ซึ่งนอกจากตลาดส่งออกหลักที่ไทยมีอยู่เดิม เช่น จีน สหรัฐฯ มาเลเซีย และญี่ปุ่น ยังมีตลาดเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสำหรับสินค้ายางพารา เช่น กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ซาอุดีอาระเบีย อินเดีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา เป็นต้น

ในปี 2565 โลกมีการส่งออกสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ (พิกัดศุลกากร 40) เป็นมูลค่ารวม 217,730.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศผู้ส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก คือ 1.จีน ส่งออกมูลค่า 31,472.7 ล้านเหรียญสหรัฐ 2.ไทย ส่งออกมูลค่า 18,824.2 ล้านเหรียญสหรัฐ 3.เยอรมนี ส่งออกมูลค่า 17,459.9 ล้านเหรียญสหรัฐ 4.สหรัฐฯ ส่งออกมูลค่า 14,656.6 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 5.ญี่ปุ่น ส่งออกมูลค่า 10,712.2 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 14.5 8.6 8.0 6.7 และ 4.9 ตามลำดับ

 

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100MTL 720x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!