- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Friday, 19 May 2023 10:12
- Hits: 1318
พาณิชย์-DITP เผยขนมและของหวานไทย มีโอกาสขายเยอรมนี แนะเน้นเจาะกลุ่มคนรักสุขภาพ
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เผยขนมและของหวานไทย มีโอกาสเจาะกลุ่มคนรักสุขภาพ ในเยอรมนี ชี้เป้าขนมที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ ขนมที่ขายกลุ่มเฉพาะ มังสวิรัติ วีแกน ผู้แพ้แลคโตส มีโอกาสสูง แนะใช้วัตถุดิบที่ดีต่อสุขภาพ อย่างมะพร้าว สัปปะรด มะม่วง มาเป็นจุดขาย และต้องใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่วนการเข้าสู่ตลาด ควรเปิดตัวสินค้าในงานแฟร์ ISM และ ANUGA
นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า กรมฯ ได้มอบนโยบายให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ทำการสำรวจลู่ทางและโอกาสการส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศที่ประจำอยู่ และให้รายงานผลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดได้รับข้อมูลจากนางสาวจีรนันท์ หิรัญญสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต เยอรมนี ถึงสถานการณ์สินค้าขนมและของหวานในตลาดเยอรมนี ปี 2022 แนวโน้มตลาดปี 2023 และโอกาสในการสินค้าขนมและของหวานของไทยเข้าสู่ตลาดเยอรมนี
ทั้งนี้ ทูตพาณิชย์ได้รายงานข้อมูลการบริโภคขนมของชาวเยอรมัน ในปี 2022 ที่ได้จากการผลิตในประเทศและนำเข้า มีจำนวน 2.7 ล้านตัน ลดลง 1.8% มียอดขาย 9,000 ล้านยูโร เพิ่มขึ้น 0.2% คิดเป็นสัดส่วน 7.8% ของยอดขายสินค้าอาหารในเยอรมนี มีการผลิตรวม 4 ล้านตัน เพิ่ม 2.8% มูลค่า 14,000 ล้านยูโร เพิ่ม 6.5%
โดยขนมและของหวานที่มียอดการผลิตสูงสุด ได้แก่ ช็อกโกแลต ขนมอบ ลูกอมและลูกกวาด ขนมขบเคี้ยว และส่งออก 2.5 ล้านตัน เพิ่ม 4% มูลค่า 10,300 ล้านยูโร เพิ่ม 11.5% โดยตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรป 70% ที่เหลือส่งออกไปสหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา อิสราเอล และตุรกี เป็นต้น
สำหรับ พฤติกรรมผู้บริโภค พบว่า ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น โดยมีการบริโภคของหวานลดลง แต่ผู้บริโภคก็ยังเห็นว่าขนมและของหวาน เป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในช่วงเทศกาลวันสำคัญต่าง ๆ และยังให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม นิยมสินค้าเพื่อความยั่งยืน ทำให้ผู้ผลิตมีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ใช้วัตถุดิบ และปรับกระบวนการผลิตให้ได้รับการรับรองมาตรฐานแบบยั่งยืน เช่น น้ำมันปาล์มและโกโก้
ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตช็อกโกแลต และขนมหวาน ได้รับการรับรองมาตรฐานแล้ว 79% และ 94% ตามลำดับ รวมทั้งมีการคิดค้นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจัยที่ส่งผลหลักต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค คือ รสชาติของสินค้า 88% ราคา 62% ยี่ห้อสินค้า 34% คุณค่าทางโภชนาการ 18% ความยั่งยืน 12% ตามลำดับ
นายภูสิต กล่าวว่า จากพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวเยอรมันที่เน้นการดูแลสุขภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม สินค้าที่ผู้ประกอบการจะนำมาขายในเยอรมนี ควรเน้นส่วนผสมที่มีความเป็นธรรมชาติ เช่น กลิ่น สี และรสชาติ รวมถึงให้พลังงานต่ำหรือปราศจากน้ำตาล ซึ่งกำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคที่รักสุขภาพและต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือปริมาณน้ำตาลในเลือด
รวมทั้งผลิตภัณฑ์ขนมที่คำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภคที่มีเงื่อนไขในการรับประทานอื่น ๆ ด้วย เช่น กลุ่มผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติ วีแกน กลุ่มผู้แพ้แลคโตส ผู้ป่วย โรคเบาหวาน สตรีมีครรภ์ กลุ่มเด็กเล็ก เป็นต้น ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญกับส่วนประกอบที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่นอกจากจะเสริมในด้านสีสันให้ชวนรับประทานแล้ว รสชาติก็ควรให้เป็นที่เข้ากันกับผลิตภัณฑ์เดิมเพื่อให้เกิดความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น
ส่วนการผลักดันการส่งออกของสินค้าไทยต่อไปในอนาคต ควรเป็นสินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ มีการนำผัก และผลไม้นานาชนิดของไทย ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ดีต่อสุขภาพ อาทิ มะพร้าว สัปปะรด มะม่วง เป็นต้น มาประยุกต์เป็นส่วนผสม และจุดขาย อีกทั้งควรใช้ขั้นตอนกรรมวิธีในการผลิตที่ใส่ใจต่อสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างจุดแข็ง และสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี โดยผู้ประกอบการควรศึกษาแนวโน้มตลาดเพื่อคิดค้น ต่อยอด ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ตลาดในด้านอื่นๆ ด้วย เช่น บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ สินค้าวีแกน หรือสินค้าออร์แกนิก
นอกจากนี้ ควรระบุส่วนผสมบนฉลากสินค้าให้ชัดเจนเพื่อสร้างความแตกต่าง และเน้นที่จุดแข็งของผลิตภัณฑ์ และเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ดูทันสมัยเข้ากับสินค้าประเภทนั้น น้ำหนักเบา ไม่แตกหักง่ายระหว่างการขนส่ง วิธีในการเก็บรักษาให้ยาวนาน การควบคุมรสชาติ และคุณภาพให้คงที่ ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีมาตรฐานในกระบวนการผลิต และการขอใบรับรองจากหน่วยงานที่เป็นสากล อาทิ Organic, Vegan, Fair Trade เป็นต้น เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันให้กับสินค้าไทยในตลาดเยอรมนีและยุโรป รวมถึงตลาดโลกได้
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเพื่อขยายตลาด และเพิ่มโอกาสในการพบผู้นำเข้า จากประเทศเยอรมนี รวมทั้งประเทศอื่นๆ ในแถบทวีปยุโรป โดยงานแสดงสินค้าที่น่าสนใจ ได้แก่ งานแสดงสินค้า ISM (International Süßwarenmesse) เป็นงานแสดงสินค้าประเภทขนมหวาน และของว่างที่ใหญ่ที่สุดในโลกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ เมืองโคโลญ และงานแสดงสินค้า ANUGA งานแสดงสินค้าอาหารที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก จัดขึ้นเป็นประจำ ทุก 2 ปี ณ เมืองโคโลญ
สำหรับ ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th หรือสายตรงการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169
พาณิชย์ ชี้เป้าขนม-ของหวานไทย ขายเยอรมนี แนะเน้นเจาะกลุ่มคนรักสุขภาพ
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เผยขนมและของหวานไทย มีโอกาสเจาะกลุ่มคนรักสุขภาพในเยอรมนี ชี้เป้าขนมที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ ขนมที่ขายกลุ่มเฉพาะ มังสวิรัติ วีแกน ผู้แพ้แลคโตส มีโอกาสสูง แนะใช้วัตถุดิบที่ดีต่อสุขภาพ อย่างมะพร้าว สัปปะรด มะม่วง มาเป็นจุดขาย และต้องใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่วนการเข้าสู่ตลาด ควรเปิดตัวสินค้าในงานแฟร์ ISM และ ANUGA
นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า กรมฯ ได้มอบนโยบายให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทำการสำรวจลู่ทางและโอกาสการส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศที่ประจำอยู่ และให้รายงานผลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้รับข้อมูลจากน.ส.จีรนันท์ หิรัญญสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต เยอรมนี ถึงสถานการณ์สินค้าขนมและของหวานในตลาดเยอรมนี ปี 2022 แนวโน้มตลาดปี 2023 และโอกาสในการสินค้าขนมและของหวานของไทยเข้าสู่ตลาดเยอรมนี
ทั้งนี้ ทูตพาณิชย์ได้รายงานข้อมูลการบริโภคขนมของชาวเยอรมัน ในปี 2022 ที่ได้จากการผลิตในประเทศและนำเข้า มีจำนวน 2.7 ล้านตัน ลดลง 1.8% มียอดขาย 9,000 ล้านยูโร เพิ่มขึ้น 0.2% คิดเป็นสัดส่วน 7.8% ของยอดขายสินค้าอาหารในเยอรมนี มีการผลิตรวม 4 ล้านตัน เพิ่ม 2.8% มูลค่า 14,000 ล้านยูโร เพิ่ม 6.5%
โดยขนมและของหวานที่มียอดการผลิตสูงสุด ได้แก่ ช็อกโกแลต ขนมอบ ลูกอมและลูกกวาด ขนมขบเคี้ยว และส่งออก 2.5 ล้านตัน เพิ่ม 4% มูลค่า 10,300 ล้านยูโร เพิ่ม 11.5% โดยตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรป 70% ที่เหลือส่งออกไปสหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา อิสราเอล และตุรกี เป็นต้น
สำหรับ พฤติกรรมผู้บริโภค พบว่า ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น โดยมีการบริโภคของหวานลดลง แต่ผู้บริโภคก็ยังเห็นว่าขนมและของหวาน เป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในช่วงเทศกาลวันสำคัญต่าง ๆ และยังให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม นิยมสินค้าเพื่อความยั่งยืน ทำให้ผู้ผลิตมีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ใช้วัตถุดิบ และปรับกระบวนการผลิตให้ได้รับการรับรองมาตรฐานแบบยั่งยืน เช่น น้ำมันปาล์มและโกโก้
ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตช็อกโกแลต และขนมหวาน ได้รับการรับรองมาตรฐานแล้ว 79% และ 94% ตามลำดับ รวมทั้งมีการคิดค้นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจัยที่ส่งผลหลักต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค คือ รสชาติของสินค้า 88% ราคา 62% ยี่ห้อสินค้า 34% คุณค่าทางโภชนาการ 18% ความยั่งยืน 12% ตามลำดับ
นายภูสิต กล่าวว่า จากพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวเยอรมันที่เน้นการดูแลสุขภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม สินค้าที่ผู้ประกอบการจะนำมาขายในเยอรมนี ควรเน้นส่วนผสมที่มีความเป็นธรรมชาติ เช่น กลิ่น สี และรสชาติ รวมถึงให้พลังงานต่ำหรือปราศจากน้ำตาล ซึ่งกำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคที่รักสุขภาพและต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือปริมาณน้ำตาลในเลือด
รวมทั้งผลิตภัณฑ์ขนมที่คำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภคที่มีเงื่อนไขในการรับประทานอื่นๆ ด้วย เช่น กลุ่มผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติ วีแกน กลุ่มผู้แพ้แลคโตส ผู้ป่วย โรคเบาหวาน สตรีมีครรภ์ กลุ่มเด็กเล็ก เป็นต้น ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญกับส่วนประกอบที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่นอกจากจะเสริมในด้านสีสันให้ชวนรับประทานแล้ว รสชาติก็ควรให้เป็นที่เข้ากันกับผลิตภัณฑ์เดิมเพื่อให้เกิดความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น
ส่วนการผลักดันการส่งออกของสินค้าไทยต่อไปในอนาคต ควรเป็นสินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ มีการนำผัก และผลไม้นานาชนิดของไทย ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ดีต่อสุขภาพ เช่น มะพร้าว สัปปะรด มะม่วง เป็นต้น มาประยุกต์เป็นส่วนผสม และจุดขาย อีกทั้งควรใช้ขั้นตอนกรรมวิธีในการผลิตที่ใส่ใจต่อสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างจุดแข็ง และสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี โดยผู้ประกอบการควรศึกษาแนวโน้มตลาดเพื่อคิดค้น ต่อยอด ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ตลาดในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ สินค้าวีแกน หรือสินค้าออร์แกนิก
นอกจากนี้ ควรระบุส่วนผสมบนฉลากสินค้าให้ชัดเจนเพื่อสร้างความแตกต่าง และเน้นที่จุดแข็งของผลิตภัณฑ์ และเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ดูทันสมัยเข้ากับสินค้าประเภทนั้น น้ำหนักเบา ไม่แตกหักง่ายระหว่างการขนส่ง วิธีในการเก็บรักษาให้ยาวนาน การควบคุมรสชาติ และคุณภาพให้คงที่ ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีมาตรฐานในกระบวนการผลิต และการขอใบรับรองจากหน่วยงานที่เป็นสากล อาทิ Organic, Vegan, Fair Trade เป็นต้น เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันให้กับสินค้าไทยในตลาดเยอรมนีและยุโรป รวมถึงตลาดโลกได้
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเพื่อขยายตลาด และเพิ่มโอกาสในการพบผู้นำเข้า จากประเทศเยอรมนี รวมทั้งประเทศอื่น ๆ ในแถบทวีปยุโรป โดยงานแสดงสินค้าที่น่าสนใจ ได้แก่ งานแสดงสินค้า ISM (International Süßwarenmesse) เป็นงานแสดงสินค้าประเภทขนมหวาน และของว่างที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ เมืองโคโลญ และงานแสดงสินค้า ANUGA งานแสดงสินค้าอาหารที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก จัดขึ้นเป็นประจำ ทุก 2 ปี ณ เมืองโคโลญ