WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

จุรินทร์ สร้างประวัติศาสตร์ ทำสถิติเร็วสุด 3 เดือน ประกาศนับหนึ่ง FTA ไทย-ยูเออี

จุรินทร์ สร้างประวัติศาสตร์อีกครั้ง ประกาศร่วมรัฐมนตรีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) นับหนึ่งการเจรจา FTA ไทย-ยูเออี เผยใช้เวลาสั้นที่สุดเพียงแค่ 3 เดือน ก็เดินหน้ากันได้ พร้อมนัดประชุมครั้งแรก 16-18 พ.ค.นี้ ตั้งเป้าเจรจาให้จบภายใน 6 เดือน ระบุจะเป็น FTA ฉบับแรกที่ไทยทำกับประเทศในตะวันออกกลาง มีประโยชน์เพียบ ทั้งใช้เป็นประตูการค้าสู่ GCC เพิ่มมูลค่าการส่งออก คาดปีแรกไม่ต่ำกว่า 7 หมื่นล้านบาท 

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือกับดร.ธานี บินอาเหม็ด อัลเซ ยูดี รัฐมนตรีแห่งรัฐประจำกระทรวงเศรษฐกิจ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รับผิดชอบด้านการค้าต่างประเทศ ผ่านระบบการประชุมทางไกล ที่โรงแรมเรเนซองส์ จังหวัดภูเก็ต ว่า ได้ร่วมกันประกาศครั้งประวัติศาสตร์ทางการค้าและการลงทุน ระหว่างไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี)

โดยนับหนึ่งเปิดเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-ยูเออี ซึ่งทุกอย่างได้ดำเนินการอย่างรวดเร็ว นับจากที่ตนได้นำคณะผู้แทนกระทรวงพาณิชย์และภาคเอกชนเยือนยูเออี เมื่อวันที่ 7 ก.พ.2566 ที่ผ่านมา จากนั้นเพียง 3 เดือน ก็สามารถประกาศเริ่มการเจรจาจัดทำ FTA ระหว่างกันได้ หรือเรียกว่าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (CEPA)

ทั้งนี้ การเริ่มต้นการเจรจากำหนดไว้วันที่ 16-18 พ.ค.2566 โดยยูเออีจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสครั้งแรกที่ดูไบ ซึ่งได้มอบหมายให้นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ นำคณะไปเจรจา ตั้งเป้าหมายว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน

นายจุรินทร์ กล่าวว่า หากทุกอย่างเป็นไปตามเป้าหมาย FTA ไทย-ยูเออี จะถือเป็น FTA ฉบับประวัติศาสตร์ฉบับหนึ่ง ที่สามารถทำได้เร็วที่สุด คาดว่าจนเสร็จใช้เวลาเพียง 9 เดือน และจะเป็น FTA ฉบับแรกของไทยที่ทำกับประเทศในตะวันออกกลาง โดย FTA ฉบับนี้เมื่อประสบความสำเร็จ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับเศรษฐกิจการค้า การลงทุน ระหว่าง 2 ประเทศ

โดยประการที่หนึ่ง ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับไทย คือ สามารถใช้ยูเออีเป็นประตูส่งสินค้าและบริการไปยังอีก 5 ประเทศที่เป็นสมาชิกคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับหรือ GCC ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย บาห์เรน โอมาน กาตาร์ และคูเวต โดยอัตโนมัติ

ประการที่สอง จะช่วยเพิ่มตัวเลขการส่งออกที่ไทยจะส่งออกไปยังยูเออี คาดว่าจะสูงขึ้นมาก โดยมูลค่าการค้าระหว่างไทย-ยูเออี ในปี 2565 มีมูลค่าประมาณ 730,000 ล้านบาท เป็นการส่งออกไทยไปยูเออี มูลค่า 119,000 ล้านบาท คาดว่าจากการทำ FTA แล้วจะเพิ่มมูลค่าการค้าไม่ต่ำกว่า 10% ทันที หรือประมาณ 70,000 ล้านบาท ภายใน 1 ปี และอาจจะทำได้มากกว่านั้น

สำหรับ สินค้าจะได้รับประโยชน์ทันที เช่น อาหาร อาหารทะเลกระป๋อง อาหารทะเลแปรรูป สิ่งทอ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ผลิตภัณฑ์ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เป็นต้น

ส่วนภาคบริการ ไทยจะได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง และจะทำให้ไทยมี FTA กับคู่ค้าเพิ่มขึ้น โดยจะเป็น FTA ฉบับที่ 15 ของไทย กับ 19 ประเทศ และถ้า FTA ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) เสร็จสิ้น จะมีผลให้มี FTA เพิ่มเป็น 16 ฉบับ กับ 46 ประเทศ

 

Click Donate Support Web  

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!