WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1อาเซียนAEC

อาเซียนเดินหน้าทำวิสัยทัศน์ AEC หลังปี 68 เร่งเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน

อาเซียนประชุมคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (HLTF-EI) ครั้งที่ 43 ที่อินโดนีเซีย เดินหน้าขับเคลื่อนการจัดทำวิสัยทัศน์ AEC หลังปี 68 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของอาเซียน พร้อมหารือแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ทั้งความร่วมมือภาคทะเล ความมั่นคงทางพลังงาน ยานยนต์ไฟฟ้า และความเป็นกลางทางคาร์บอน เตรียมเสนอ AEM พิจารณา 20-22 มี.ค.นี้

น.ส.โชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ให้เป็นหัวหน้าผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน (High Level Task Force on ASEAN Economic Integration: HLTF-EI) ครั้งที่ 43 ระหว่างวันที่ 1-3 มี.ค.2566 ที่ผ่านมา ณ เมืองเบลีตุง ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อขับเคลื่อนประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ของอาเซียน

โดยเฉพาะการจัดทำวิสัยทัศน์ของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหลังปี 2568 (AEC Post-2025 Vision) รวมทั้งวางแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และหาแนวทางเสริมความแข็งแกร่งด้านการค้าการลงทุนภายในอาเซียน พร้อมได้จัดทำข้อเสนอแนะเรื่องดังกล่าว เตรียมเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 29 ระหว่างวันที่ 20–22 มี.ค.2566 นี้

สำหรับ ประเด็นการจัดทำวิสัยทัศน์ AEC หลังปี 2568 ที่ประชุมเห็นว่า ควรมีประเด็นเกี่ยวกับการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของอาเซียนในอนาคตด้วยปัจจัยใหม่ๆ ทั้งการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่มูลค่าโลก เศรษฐกิจสร้างสรรค์ นวัตกรรมช่วยเพิ่มการผลิต การเตรียมพร้อมสำหรับโอกาสและความท้าทาย การมีส่วนร่วมกับประเทศนอกภูมิภาค

และมีกลไกติดตามการทำงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มจัดทำโครงร่างและองค์ประกอบแผนงานของวิสัยทัศน์ดังกล่าวแล้ว โดยจะต้องหารือกับภาคส่วนต่างๆ อย่างครอบคลุมมากขึ้น เพื่อให้ได้ความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมุมมองต่อพลวัตด้านเศรษฐกิจในอนาคตให้มากที่สุด เนื่องจากจะเป็นแผนงานที่ครอบคลุมระยะเวลาถึง 20 ปี

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือแนวนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนของเสาเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่จะผลักดันให้สำเร็จในวาระการเป็นประธานอาเซียนของอินโดนีเซียในปีนี้ ทั้งการจัดทำกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภาคทะเล (Blue Economy) การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานเพื่อความมั่นคงทางพลังงานและเพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียนทดแทนพลังงานจากฟอสซิล และการส่งเสริมศักยภาพด้านยานยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะการมีระบบนิเวศรองรับ

โดยเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าว จะต้องขับเคลื่อนไปพร้อมกับประเด็นภาคการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งจะสนับสนุนการดำเนินการเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน ยุทธศาสตร์เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของภูมิภาค และเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของอาเซียนในอนาคต

ทั้งนี้ ในปี 2565 การค้าระหว่างไทยกับอาเซียน มีมูลค่า 124,890.01 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 12.7% โดยไทยส่งออกไปอาเซียน มูลค่า 71,891.19 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 10.6% และไทยนำเข้าอาเซียน มูลค่า 52,999.82 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 15.9% สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ และแผงวงจรไฟฟ้า และสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ

 

Click Donate Support Web  

kasat 720x100 

BANPU 720x100TU720x100EXIM One 720x90 C Jsme 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxPF 720x100

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!