WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1 ประกันรายได้ยาง

ครม.อนุมัติประกันรายได้ยางปี 4 วงเงิน 7.6 พันล้าน คาดจ่ายส่วนต่างภายในมี.ค.นี้

ครม.อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 4 วงเงิน 7,643 ล้านบาทแล้ว ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางกว่า 1.6 ล้านราย พื้นที่สวนยางกว่า 18 ล้านไร่ คาดจ่ายส่วนต่างได้ภายในเดือนมี.ค.นี้ พร้อมอนุมัติโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้กับผู้ประกอบกิจการแปรรูปไม้ยางพาราด้วย

ดร.มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 28 ก.พ.2566 ได้อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 4 ตามที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอที่ประชุม

โดยโครงการนี้จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรชาวสวนยางในช่วงที่ราคายางผันผวน ซึ่งปีนี้กำหนดเป้าหมายเกษตรกรชาวสวนยาง 1.6 ล้านราย พื้นที่สวนยางกรีดได้ 18.18 ล้านไร่ ให้กับเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ภายในวันที่ 30 มิ.ย.2565 ซึ่งดำเนินการการขึ้นทะเบียนเสร็จสิ้นไปแล้ว

สำหรับ การกำหนดราคาประกันผลผลิตยางแต่ละชนิด ได้แก่ ยางแผ่นดิบคุณภาพดี 60 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) น้ำยางสด 57 บาทต่อกก. และยางก้อนถ้วย 23 บาทต่อกก. แบ่งสัดส่วนรายได้ เจ้าของสวนร้อยละ 60 และคนกรีด ร้อยละ 40 ของรายได้ทั้งหมด รายละไม่เกิน 25 ไร่ ระยะเวลาประกันรายได้ 2 เดือน (ต.ค.-พ.ย.2565) คาดว่าจะจะเริ่มจ่ายเงินถึงมือเกษตรกรชาวสวนยางได้ภายในเดือนมี.ค.2566

ทั้งนี้ ยังได้อนุมัติโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ ระยะที่ 2 ระยะเวลาโครงการ 2 ปี เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบกิจการแปรรูปไม้ยางพาราด้วย

การอนุมัติโครงการในครั้งนี้ เป็นไปตามมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เมื่อวันที่ 1 ก.พ.2566 คือ โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 4 วงเงินรวมทั้งสิ้น 7,643 ล้านบาท เห็นชอบกรอบวงเงิน 7,566 ล้านบาท

โดยใช้เงินทุนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำรองจ่ายแทนรัฐบาลไปก่อน จำนวน 7,421 ล้านบาท และให้ ธ.ก.ส. เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 และปีถัดๆ ไป ตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป เพื่อรัฐบาลชำระคืนต้นเงินและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินโครงการทั้งหมด

รวมถึงค่าใช้จ่ายในการโอนเงินจำนวน กว่า 8 ล้านบาท และชดเชยต้นทุนทางการเงินของธนาคารประจำไตรมาส บวก 1 (ปัจจุบันอัตราต้นทุนเงินธนาคารประจำไตรมาสเท่ากับ 0.85) ภายในวงเงินไม่เกิน จำนวน 137 ล้านบาท ปีละ 1,600 ล้านบาท ยกเว้นปีที่ 5 จ่ายส่วนที่เหลือทั้งหมด และเห็นชอบค่าบริหารจัดการโครงการจำนวน 77 ล้านบาท โดยให้การยางแห่งประเทศไทยเสนอขอรับจัดสรรจากงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นประจำปีงบประมาณ 2566

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ ระยะที่ 2 วงเงินสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท มีระยะเวลา 2 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ ครม. มีมติอนุมัติ โดยโครงการนี้ เป็นการสนับสนุนสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการแปรรูปไม้ยางและผลิตภัณฑ์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย

และมีผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยมากกว่าร้อยละ 50 เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการรับซื้อไม้ยาง การดำเนินงานกิจการไม้ยาง การขยายกำลังการผลิตและปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิตแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางพาราและผลิตภัณฑ์ โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี และค่าดำเนินการ รวมวงเงิน 604 ล้านบาท

โดยมีเป้าหมาย คือ 1.ลดพื้นที่ปลูกยาง จำนวน 200,000 ไร่ และ 2.ราคาไม้ยางไม่ต่ำกว่า 1,500 บาทต่อตัน การดำเนินโครงการในระยะที่ผ่านมา สามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบกิจการแปรรูปไม้ยางพาราที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องจากสถานการณ์โควิด–19 ได้กว่า 38 บริษัท และสามารถดูดซับไม้ยางจากการโค่นต้นยางได้ 4.22 ล้านตัน จากเป้าหมายที่กำหนดไว้ 6 ล้านตัน

 

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!