WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1รณรงค์ พูลพิพัฒน์

คต. อัดนโยบายโปรโมทสินค้าไทยสู่สากล พร้อมเน้นย้ำการใช้มาตรการทางการค้าที่เป็นธรรม

กรมการค้าต่างประเทศเดินหน้าส่งเสริมการส่งออกของผู้ประกอบการไทยในหลากหลายมิติ ทั้งด้านการส่งเสริมและผลักดันสินค้าเกษตรสำคัญและสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยในเวทีนานาชาติ ส่งเสริมการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง และสนับสนุนการค้าชายแดน

พร้อมยืนยันการใช้มาตรการทางการค้าด้วยความโปร่งใส และเป็นธรรม เพื่อปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของผู้ประกอบการไทยทุกฝ่าย

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศมีพันธกิจหลักในการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกด้านการค้าต่างประเทศในหลากหลายมิติ เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าในการบุกตลาดที่มีศักยภาพ และสร้างแต้มต่อทางการค้าให้กับผู้ประกอบการไทย ในการสร้างมูลค่าการค้าของไทยให้เพิ่มขึ้น

พร้อมกับติดตามการใช้มาตรการทางการค้าของประเทศต่างๆ เพื่อปกป้องและสร้างความเป็นธรรมทางการค้าให้แก่ผู้ประกอบการไทย โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีความคืบหน้าด้านการบริหารการนำเข้า-ส่งออกและมาตรการทางการค้าต่าง ๆ ดังนี้

 

  • ด้านการส่งเสริมและผลักดันสินค้าเกษตรสำคัญ

กรมฯ ได้เร่งส่งเสริมและผลักดันสินค้าเกษตรสำคัญต่าง ๆ อาทิ ข้าว มันสำปะหลัง รวมถึงการยกระดับสินค้าเกษตรนวัตกรรมต่างๆ ให้สามารถเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้อย่างกว้างขวางและสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้บริโภค โดยกรมฯ ได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและผลักดันสินค้าข้าวและมันสำปะหลัง ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ดังนี้

1) การจัดการประชุมสัมมนามันสำปะหลังโลก กรมฯ ร่วมกับสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย และสมาคมโรงงาน ผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดงานประชุมสัมมนามันสำปะหลังโลก ปี 2566 (World Tapioca Conference หรือ WTC 2023) ระหว่างวันที่ 23 – 25 กุมภาพันธ์ 2566 ณ จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้แนวคิดมันสำปะหลังเปลี่ยนโลก (Tapioca change the World)’ โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน ใน 5 กิจกรรมสำคัญ ได้แก่

สัมมนาเชิงวิชาการ

แลกเปลี่ยนข้อมูลต่อยอดงานวิจัย

ผลงานนวัตกรรมมันสำปะหลัง

การจับคู่เจรจาธุรกิจ

ลงนาม MOU

          ซื้อขายมันสำปะหลังล่วงหน้ากับผู้นำเข้าคือ จีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง และตุรกี 2 ล้านตัน เทียบเท่า 4.76 ล้านตันหัวมันสด มูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท ถือเป็นความสำเร็จอีกครั้งภายหลังจากไทยได้เคยลงนาม MOU ซื้อขายล่วงหน้ากับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์ในปริมาณ 2 ล้านตันเช่นกัน ซึ่งเมื่อรวม 2 ครั้ง สามารถสร้างเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศมากกว่า 4 หมื่นล้านบาท ช่วยสร้างความมั่นใจว่าราคาหัวมันสดของไทยจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างแน่นอน ทั้งนี้ สถิติการส่งออกมันสำปะหลังเดือนมกราคม 2566 มีมูลค่า 11,554.94 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.03% (เดือนมกราคม 2565 มีมูลค่า 12,039.73 ล้านบาท)

2) การเข้าร่วมงาน BIOFACH 2023 ระหว่างวันที่ 14 – 17 กุมภาพันธ์ 2566 ณ เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งถือเป็นงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญและใหญ่ที่สุดงานหนึ่งของโลก ซึ่งในแต่ละปีมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 36,000 ราย และมีผู้ประกอบการเข้าร่วมจัดแสดงสินค้ากว่า 2,700 ราย จากกว่า 130 ประเทศทั่วโลก

โดยกรมฯ ได้เข้าร่วมการจัดนิทรรศการและแสดงตัวอย่างสินค้าข้าวอินทรีย์และผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ของไทยชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าวหอมมะลิไทยอินทรีย์ ข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์ แป้งข้าวอินทรีย์ เครื่องดื่มจากข้าวอินทรีย์ และขนมอบกรอบที่ทำจากข้าวอินทรีย์ เป็นต้น

รวมทั้งจัดให้มีการเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการและผู้นำเข้าจากต่างประเทศภายในงานอีกด้วย โดยคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าคำสั่งซื้อข้าวอินทรีย์ไทยกว่า 14 ล้านบาท และผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ไทยอีกกว่า 10 ล้านบาท

นอกจากนี้ แนวโน้มการผลิตและตลาดเกษตรอินทรีย์ทั่วโลกเติบโตอย่างต่อเนื่องถึงปี 2564 และเริ่มชะลอตัวในปี 2565 เนื่องจากรายได้ของผู้บริโภคลดลงและราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ดี คาดว่าในปี 2566 เกษตรอินทรีย์ในยุโรป เช่น เยอรมนี อิตาลี และสหราชอาณาจักร มีทิศทางเติบโตแต่ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดจากผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อและราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น

3) การเข้าร่วมงาน Gulfood 2023 ระหว่างวันที่ 20 – 24 กุมภาพันธ์ 2566 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 100,000 ราย และมีผู้ประกอบการเข้าร่วมจัดแสดงสินค้ากว่า 5,000 ราย จาก 125 ประเทศทั่วโลก

โดยกรมฯ นำผู้ประกอบการค้าข้าวไทยจำนวน 14 ราย เข้าร่วมจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ภายใต้ Thailand Pavilion ร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งภายในงานมีการจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายของข้าวไทยควบคู่กับเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย

พร้อมจัดแสดงตัวอย่าง และการชิมข้าวไทยชนิดต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้สัมผัสรสชาติของข้าวไทยที่มีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ และได้มีการนำเสนอข้าวคุณลักษณะพิเศษของไทยและข้าวเพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

อาทิ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวหอมนิล ข้าวกล้องแดง ข้าว กข43 เพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น นอกจากนี้ กรมฯ ยังได้นำผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรนวัตกรรมไทย กว่า 50 รายการ จาก 33 บริษัท เข้าร่วมจัดแสดงและประชาสัมพันธ์ด้วย เช่น น้ำนมข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่งอก สารสกัดเซซามินจากเมล็ดงาดำ กาแฟพริกขี้หนู เป็นต้น

ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้นำเข้าและผู้กระจายสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการร้านอาหารที่ต้องการจะนำเข้าวัตถุดิบประเภทเครื่องปรุงที่ทำจากสินค้าเกษตรไทยซึ่งมีรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้าวไทยและสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยในภูมิภาคอื่นๆ กรมฯ มีแผนที่จะเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติระดับโลกอีก ได้แก่ งาน Foodex Japan 2023 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น งาน Canton Fair 2023 ณ เมืองกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน งาน The 20th China-ASEAN Expo (CAEXPO)

ณ นครหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน งาน Fine Food Australia 2023 ณ นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย และงาน Beauty World Middle East 2023 ณ นครดูไบ สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทั้งนี้ สถิติการส่งออกข้าวเดือนมกราคม 2566 มีมูลค่า 14,277.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 78.76% (เดือนมกราคม 2565 มีมูลค่า 7,986.78 ล้านบาท)

 

  • ด้านการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self – Certification)

กรมฯ ได้จัดการส่งเสริมความรู้แก่ผู้ประกอบการในเรื่อง การรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self-Certification) ซึ่งการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ผู้ส่งออกสามารถรับรองตนเองว่าสินค้าของตนนั้น ทำได้ตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ซึ่งการรับรองตนเองนี้

สามารถรับรองตนเองลงในเอกสารทางการค้าได้เลย เช่น Invoice, Packing List เป็นต้น เพื่อนำไปใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรที่ประเทศปลายทางเพื่อขอยกเว้นหรือลดภาษีนำเข้าได้เช่นเดียวกับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ปัจจุบัน กรมฯ ได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนระบบ Self-Certification จำนวน 3 ระบบ ได้แก่

(1) การรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองตามความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Wide Self-Certification: AWSC)

(2) การได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ในการส่งออกไปสมาพันธรัฐสวิสและราชอาณาจักรนอร์เวย์ (Registered Exporter System: REX)

(3) การรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) โดยเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

กรมฯ ได้จัดสัมมนา เรื่อง เพิ่มขีดความสามารถการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self-Certification)’ ณ จังหวัดชลบุรี เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก มีผู้เข้าร่วมกว่า 250 ราย

 

  • ด้านการค้าชายแดนและผ่านแดน

กรมฯ ได้การดำเนินการเพื่อสนับสนุนการค้าชายแดน โดยผลักดันการเปิดจุดผ่านแดนเพิ่มเติม เพื่อขนส่งสินค้าภายใต้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีจุดผ่านแดนเปิดเพิ่ม ดังนี้

          (1) จุดผ่านแดนเปิดเพิ่มจำนวน 1 แห่ง (เปิดพร้อมกันทั้งสองฝ่าย)

          (2) จุดผ่านแดนฝั่งไทยเปิดเพิ่มจำนวน 6 แห่ง (ฝั่งไทยเปิดฝ่ายเดียว)

          (3) จุดผ่านแดนฝั่งเพื่อนบ้านเปิดเพิ่มจำนวน 2 แห่ง (ฝั่งไทยเปิดอยู่แล้ว)

ส่งผลให้ ณ ปัจจุบัน (วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566) มีจุดผ่านแดนฝั่งไทยเปิดแล้ว 87 แห่ง จากทั้งหมด 97 แห่ง ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเปิด 74 แห่ง ซึ่งกระทรวงพาณิชย์มีนโยบายผลักดันการเปิดด่านอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประเทศเพื่อนบ้านให้เปิดด่านตรงข้ามกับที่ฝั่งไทยเปิดแล้วหรือมีความพร้อมที่จะเปิดด่าน

 

  • ด้านมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping : AD)

กรมฯ ยืนยันว่าการทบทวนมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) ของคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน (ทตอ.) ในสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อน (GL) จากเวียดนาม และสินค้าแผ่นเหล็กรีดร้อนจากบราซิล อิหร่าน และตุรกี เป็นไปตามหลักกฎหมาย เป็นกลาง โปร่งใส และเน้นการมีส่วนร่วมในกระบวนการของผู้มีส่วนได้เสีย

คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายและผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ โดยคณะกรรมการ ทตอ. ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่าง ๆ ซึ่งมีความเป็นอิสระในการพิจารณาและตัดสินใจ จนได้ผลการวินิจฉัยอันเป็นมติของคณะกรรมการ ทตอ. ทั้งคณะ โดยไม่ใช่อำนาจการตัดสินใจของกระทรวงพาณิชย์หรือกรมการค้าต่างประเทศหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ในส่วนของการทบทวนเพื่อต่ออายุมาตรการฯ ตามมาตรา 57 มีหลักเกณฑ์พิจารณาข้อมูลที่เป็นจริง 5 ข้อ ดังนี้

          (1) ราคาที่แสดงการทุ่มตลาด (ราคาส่งออกมาไทยต่ำกว่าราคาที่ขายในประเทศที่ถูกกล่าวหา)

          (2) ความเสียหายที่เกิดกับอุตสาหกรรมภายใน ได้แก่ ปริมาณการนำเข้า ผลกระทบด้านราคา เช่น การตัดราคา กดราคา และยับยั้งการขึ้นราคา

          (3) ผลกระทบที่เกิดแก่อุตสาหกรรมภายใน 15 ปัจจัย เช่น กำไร/ขาดทุน ผลผลิต ปริมาณขายในประเทศ ส่วนแบ่งตลาด อัตราการเจริญเติบโต เป็นต้น

          (4) ศักยภาพในการผลิตและโอกาสการส่งออกของประเทศที่ถูกกล่าวหามายังประเทศไทย

          (5) ผลกระทบที่อาจเกิดต่อภาคส่วนอื่น ๆ เช่น ภาคการผลิต ภาคบริการ และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ต้องใช้เหล็กเป็นต้นทุนการผลิต

นอกจากนี้ กรมฯ ในฐานะเป็นฝ่ายเลขาฯ ทตอ. ได้กำหนดแนวทางใหม่ 2 แนวทาง ที่จะดำเนินการในกรณีที่ผลการทบทวนฯ ตามมาตรา 57 ของ พ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ ปรากฏว่าให้ยุติมาตรการ คือ

          (1) แจ้งด่วนต่อผู้ส่งออก ผู้นำเข้า และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อตักเตือนไม่ให้มีพฤติกรรมการทุ่มตลาดมายังประเทศไทยอีก

          (2) กรมฯ จะเฝ้าติดตามการนำเข้าสินค้าจากประเทศต้นทาง หากมีพฤติกรรมที่ส่อแนวโน้มการทุ่มตลาดมายังประเทศไทย

กรมฯ จะดำเนินการเปิดไต่สวนการทุ่มตลาดทันทีหากภาคเอกชนมีความล่าช้าในการยื่นคำขอเปิดไต่สวน และจะเร่งกระบวนการไต่สวนให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพื่อการใช้มาตรการฯ ให้ทันท่วงที ยิ่งกว่านั้นกรมฯ จะขึ้นบัญชีดำว่าประเทศผู้ส่งออกดังกล่าวมีพฤติกรรมการทุ่มตลาดกลับมาอีกเป็นรอบที่สอง เพื่อนำบัญชีดำนี้มาใช้เป็นฐานข้อมูลสำคัญในการพิจารณาทบทวนมาตรการฯ ของคณะกรรมการ ทตอ. เมื่อการใช้มาตรการฯ ผ่านพ้นกรอบเวลาที่กำหนด

ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการค้าต่างประเทศ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ สายด่วน 1385 หรือ Facebook เพจ “กรมการค้าต่างประเทศ DFT” หรือเว็บไซต์ www.dft.go.th

 

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!